SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
10 อันดับหนังสือที่ถูกยืมมากที่สุดแห่งปีการศึกษา 2561 ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ส.ค. 17th, 2019 by ปัญญา วงศ์จันทร์

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้จัดอันดับหนังสือ 10 อันดับหนังสือที่มีการยืมมากที่สุดประจำปีการศึกษา 2561 นี้  มาดูกันครับว่ามีหนังสือเล่มใดกันบ้างและหากสนใจอ่านสามารถมาอ่านได้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ นะครับ

สถิติจำนวนการใช้หนังสือกับงาน High Use Circulation Titles Summary Report ใน WMS

สถิติการยืมเหล่านี้ มาจากฟังก์ชั่นงานที่  OCLC ได้จัดทำสถิติในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS)  เพื่อรายงานสถิติเกี่ยวกับการใช้หนังสือที่น่าสนใจดังนี้ Items Checked Out/ Items Renewed/Items Soft Checked Out และสรุปผลรวมการใช้หนังสือสามารถเข้าถึงได้โดยเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ High Use Circulation Titles Summary Report

ห้องสมุด ควรจะได้มีการนำสถิติเหล่านี้ มาใช้ประโยชน์ในโอกาสต่างๆ เช่น การจัดแสดงหนังสือ ตามประเภทที่ถูกใช้มากที่สุด หรือ หนังสือยอดฮิต หรือหนังสือที่มีการยืมน้อย

การลงข้อมูล (Metadata) ในเอกสารงานวิทยานิพธ์และงานวิจัย มฉก.
ก.ค. 31st, 2019 by Dr.sanampol

เมทาดาทา (Metadata)คือ ข้อมูลที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของข้อมูลต่างๆ เช่นถ้าเป็นหนังสือ เมทาดาทาของหนังสือก็คือ ข้อมูลที่เป็นชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ชื่อเจ้าของผลงาน ผู้รับผิดชอบ สิทธิของหน่วยงาน  ปีที่เขียน เป็นต้น  ผู้เขียนรับผิดชอบในการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย ซึ่งมีการลงเมทาดาทาในไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย มีขั้นตอนการลงในเมทาดาทา ดังนี้

1.เปิดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ขึ้นมา (ภาพที่ 1)

ภาพที่ 1

2.ให้คลิกที่เมนู  File (ภาพที่ 2) จะเห็นเมนูต่างๆ ปรากฏขึ้นมา Read the rest of this entry »

การสร้าง Bookmark สำหรับงานวิทยานิพนธ์และงานวิจัย มฉก.
ก.ค. 31st, 2019 by Dr.sanampol

ผู้เขียน รับผิดชอบการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยจัดเตรียมไฟล์และตรวจสอบความถูกต้องและใส่รายละเอียดของข้อมูลใน properties

ในการจัดการไฟล์นั้น ได้มีการทำ Bookmark  ซึ่งเสมือนเป็นสารบัญ และเป็นตัวช่วยในการคลิกดูเนื้อหา ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้สะดวก รวดเร็ว ซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้

  1. เปิดเอกสาร PDF ของวิทยานิพนธ์หรืองานวจัยที่ต้องการทำ Bookmark ขึ้น จะปรากฏภาพหน้าเอกสารดังกล่าวขึ้น (ภาพ 1) เมื่อนำเม้าท์ไปคลิ๊กจากภาพที่ลูกศรชี้ จะมีข้อความจะปรากฏขึ้นแสดงให้เห็นรายละเอียดของหน้าเอกสารทั้งหมดที่เมนู Page Thumbnails ให้นำเม้าท์ไปชี้ จะปรากฏข้อความขึ้น Page Thumbnails : Go to specific pages using thumbnail

Read the rest of this entry »

การสืบค้นข้อมูลเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Digital Collection) จากระบบ ThaiLIS
ก.ค. 28th, 2019 by kalyaraksa

ตามที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ    มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมโครงการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Digital Collection) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551  เพื่อให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายมีความสะดวก ไม่เสียค่าใช้จ่าย   ทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์    การวิจัย   หนังสือหายาก   และบทความ  ทั้งที่เป็นของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอื่น ๆ    ที่เข้าร่วมโครงการ  จึงขอแนะนำวิธีการค้นข้อมูล เบื้องต้น (Basic search)  ตามขั้นตอนดังนี้

เริ่มต้นจากหน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ (https://lib-km.hcu.ac.th) Read the rest of this entry »

บันทึกความทรงจำกับการทำ Oral history : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า
มิ.ย. 30th, 2019 by matupode

 


Oral history  ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า เป็นงานอย่างหนึ่งของนักจดหมายเหตุ ถามว่าทำไมต้องเป็นอย่างนั้น เพราะโดยปกตินักจดหมายเหตุจะให้ความสำคัญกับเอกสารลายลักษณ์ หรือเอกสารต้นฉบับเป็นอันดับแรก นั่นเพราะบางครั้งองค์ ความรู้ ประสบการณ์ที่คนๆ หนึ่งมี ความเชี่ยวชาญก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นักจดหมายเหตุจึงต้องหาวิธีการต่อยอดองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ให้สูญหาย ประกอบกับเอกสารต้นฉบับบางครั้งเนื้อหาของเอกสารก็ไม่ได้สมบูรณ์เสมอไป การได้มาซึ่งความครบถ้วนของข้อมูลจึงเป็นงานส่วนหนึ่งของนักจดหมายเหตุ

Oral history หรือ “ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า” หมายถึง การบันทึก อนุรักษ์ และตีความหมายของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัวและความเห็นของผู้เล่าเหตุการณ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ เป็นการสร้างข้อมูลที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่ใช่หลักฐานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นการสัมภาษณ์เรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ผ่านประสบการณ์นั้นโดยตรง หรือเป็นเรื่องราวชีวิตของผู้ถูกสัมภาษณ์เอง การหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากการสัมภาษณ์เป็นหลักฐานประเภทหนึ่ง นอกเหนือจากหลักฐานโบราณคดีตัวเขียน หลักฐานประเภทสิ่งของ และภาพบันทึกต่างๆ Read the rest of this entry »

ความสำคัญของการพิมพ์สารบัญของหนังสือในฐานข้อมูล
มิ.ย. 28th, 2019 by jittiwan

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลแบบ word search ซึ่งผิดกว่าแต่ก่อนที่ต้องพิมพ์รายการบรรณานุกรมของหนังสือลงบัตรรายการ ดังนั้น บรรณารักษ์ควรพยายามบันทึกข้อมูลที่สำคัญเพื่อให้ระบบสืบค้นได้ โดยเฉพาะหนังสือที่เป็นรวมบทความ  รวมเรื่อง เอกสารการประชุม เอกสารการสัมมนา (ซึ่งมีบทความทางวิชาการที่น่าสนใจ) ถ้าบรรณารักษ์ไม่บันทึกสารบัญของหนังสือประเภทดังกล่าว ลงในเขตข้อมูล 505 (สารบัญ) จะทำให้ผู้ใช้บริการสืบค้นหรือหาเนื้อหาดังกล่าวที่อยู่ในหนังสือเล่มนั้นไม่พบ

ตัวอย่าง หนังสือที่เป็นรวมบทความ (ยังไม่ได้พิมพ์สารบัญ tag 505)

  1. พิมพ์ชื่อบทความที่ต้องการสืบค้น
  2. คลิกที่ Search จะปรากฎ ดังรูป (ไม่พบบทความที่ต้องการ)
  3. ทั้งนี้ เรื่อง ดอกไม้ในห้องเผด็จการ เป็นบทความหรือเรื่องหนึ่งในหนังสือ น้ำใส่กะโหลก นั่นเอง เมื่อไม่มีการบันทึกเข้าไป ระบบจึงไม่สามารถสืบค้นได้ ดังนั้น บรรณารักษ์จึงควรบันทึกบทความดังกล่าว เข้าไป โดยการสืบค้น หนังสือ เรื่องดังกล่าว เพื่อมาพิมพ์สารบัญเข้าไป

Read the rest of this entry »

กิจกรรมยืมก่อนกลับบ้าน
มิ.ย. 28th, 2019 by somsri

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีบริการใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้ นักศึกษา สามารถยืมหนังสือกลับไปอ่านในช่วงปิดภาคการศึกษาได้ เนื่องจากโดยปรกติแล้ว ศูนย์บรรณสารสนเทศจะไม่อนุญาตให้ยืมหนังสือ จนกว่านักศึกษาจะมีการลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อเป็นการสนับสนุนการยืมหนังสือและเป็นการส่งเสริมการอ่าน ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้พิจารณาเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ ไม่มีความเสี่ยงในการยืมหนังสือแล้วไม่นำมาคืน เป็นนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป นักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอก Read the rest of this entry »

รู้จักวารสารวิชาการคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวฯ
มิ.ย. 27th, 2019 by อุไรรัตน์ ผาสิน

คณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ตีพิมพ์หรือผลิตวารสารทางวิชาการ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ บทความวิจัย และบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานั้นๆ โดยเป็นผลงานของคณาจารย์ของแต่ละคณะ หรือคณาจารย์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ส่งบทความมาลงและผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประเมินบทความ (Peer review)

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีรวบรวมข้อมูลของวารสารคณะต่างๆ ไว้ที่ www.lib.hcu.ac.th  เพื่อสะดวกในการเข้าถึงวารสารชื่อต่างๆ ของแต่ละคณะ จึงขอแนะนำวารสารของคณะต่างๆ ดังนี้

วารสารวิชาการ มฉก. คณะต่างๆ

 

วารสาร มฉก. วิชาการ   HCU.Journal

  • เผยแพร่บทความวิจัย และบทความทางวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ การแพทย์แผนจีนและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเริ่มพิมพ์เผยแพร่ ตั้งแต่ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม 2540 ถึงปัจจุบัน
  • ปัจจุบัน วารสารนี้ได้ผ่านการรับรองคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) จัดอยู่ในวารสารกลุ่มที่ 1
  • กำหนดออก ปีละ 2 ฉบับ
  • ดูได้ที่   http://journal.hcu.ac.th/sand.htm

Read the rest of this entry »

Next Station สถานีความรู้
มิ.ย. 27th, 2019 by kityaphat

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ตระหนักถึงการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ให้กับนักศึกษา เพื่อเป็นการสอนการใช้ห้องสมุดได้อย่างถูกต้อง รู้จักการค้นหาหนังสือ รู้จักแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่ห้องสมุดมีให้บริการ รู้จักการสืบค้นฐานข้อมูล เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการเรียน การศึกษาของนักศึกษา จึงได้จัดกิจกรรม “สถานีความรู้” ขึ้นประกอบด้วย 10 สถานี ตั้งแต่ชั้น 1-ชั้น 6 แต่ละสถานี ประกอบด้วยข้อมูล ความรู้ หรือเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด พร้อมมีคำถาม เพื่อให้นักศึกษาทดสอบตนเองว่ามีความเข้าใจในเนื้อหาแต่ละสถานีหรือไม่ และสามารถนำกระดาษคำตอบมาส่งที่เจ้าหน้าที่เพื่อตรวจคำตอบและรับของที่ระลึกถ้าตอบได้ถูกทุกข้อ

กติกาการร่วมสนุก

  1. หยิบแผ่นกระดาษสถานีความรู้ เที่ยว ทัวร์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ 1 คน : 1 ใบ เดินแต่ละสถานีความรู้ เพื่ออ่านข้อมูลตามหาคำตอบแต่ละข้อ
  2. เลือกคำตอบที่ท่านคิดว่าถูกต้องที่สุดลงในกระดาษคำตอบและประทับตราแต่ละสถานี
  3. เมื่อทำครบทุกข้อแล้ว ให้นำแผ่นสถานีความรู้มาส่งให้เจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์บริการชั้น 1 เพื่อตรวจคำตอบ ตอบถูกทุกข้อรับของที่ระลึก จำนวน 1 ชิ้น

Read the rest of this entry »

การซ่อมบำรุงและรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
มิ.ย. 27th, 2019 by pisit

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีบริการทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ด้วยจำนวนการยืม สภาพการหยิบจับหนังสือ หรือสภาพแวดล้อมของห้องสมุด หนังสือมีการชำรุด เช่น ปกขาด สันหนังสือชำรุด เป็นต้น  การซ่อมแซมหนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นการรักษาและบำรุงทรัพยาการสารสนเทศให้มีสภาพที่สมบูรณ์ สามารถบริการให้ผู้ใช้ได้ศึกษาค้นคว้าได้ต่อไปอีกนาน

บทความนี้จึงขอแนะนำการซ่อมหนังสือ ประกอบด้วย

เครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมหนังสือ

  1. กาว
  2. แปรงทากาว
  3. กระดาษแข็งสำหรับทำปกเบอร์ 12
  4. กระดาษปอนด์รองสันปก
  5. ผ้าดิบหรือผ้ามุ้ง
  6. ผ้าแล็คซีน
  7. กระดาษแล็คซีน
  8. ผ้าคิ้ว
  9. มีดคัตเตอร์
  10. สว่านไฟฟ้าสำหรับเจาะรูหนังสือ
  11. เครื่องอัดหนังสือ
  12. เข็มขนาดใหญ่สำหรับเย็บหนังสือ
  13. ด้าย cotton สำหรับเย็บหนังสือ

ขั้นตอนการซ่อมหนังสือ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa