SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การอบรมเลี้ยงดู : อิทธิพลที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

การอบรมเลี้ยงดู : อิทธิพลที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ

บทคัดย่อ:

ถ้าจะกล่าวว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์การนั้น ก็คงจะไม่ใช่คำกล่าวที่ผิด ทั้งนี้ เนื่องมาจากว่ามนุษย์มีความสามารถในการเรียนรู้ การปรับตัว การพัฒนาตนเอง ตลอดจนมีความสามารถที่จะพัฒนาองค์การให้ก้าวหน้าและปรับตัวให้ทันต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป นั่นหมายความว่าทรัพยากรมนุษย์จะเป็นตัวนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้น นักบริหารในองค์การต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักบริหารในระดับต้น ระดับกลาง หรือระดับสูงก็ตาม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การ ทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์การ เพื่อที่จะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น การสรรหา การพัฒนา และการบรรจุคนให้เหมาะสมกับงาน ตลอดจนการใช้สิ่งจูงใจเพื่อกระตุ้นให้มนุษย์ทำงาน เนื่องจากมนุษย์นั้นแตกต่างกัน ดังนั้น สิ่งจูงใจจึงแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งอาจต้องใช้วิธีที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย

สถาพร ปิ่นเจริญ. (2547). การอบรมเลี้ยงดู : อิทธิพลที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ. วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 44-54.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการขัดเกลาทางสังคมและลักษณะทางจิดใจกับพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการขัดเกลาทางสังคมและลักษณะทางจิดใจกับพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย

A Study of Socialization Factors and Mental Characteristics Influencing Thai Honest Behavioral Pattern

บทคัดย่อ:

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย และอิทธิพลของกระบวนการขัดเกลาทางส้งคมโดยครอบครัว โรงเรียน สถาบันศาสนาและสื่อมวลชน ต่อลักษณะทางจิตใจ ที่จะส่งผลไปถึงพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม และความสัมพันธ์ของพฤติกรรมความซื่อสัตย์ระหว่างผู้ปกครองและนักเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เรียนในโรงเรียนอิงศาสนาพุทธ โรงเรียนอิงศาสนาคริสต์และโรงเรียนอิงศาสนาอิสลามและโรงเรียนทั่วไปไม่อิงศาสนา ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน จำนวน 400 คน และผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 400 คน รวม 400 คู่ จาก 4 จังหวัดในแต่ละภาค คือ ภาคเหนือ เลือกจังหวัดเชียงใหม่ 100 คู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือกจังหวัดนครราชสีมา 100 คู่ ภาคใต้ เลือกจังหวัดสงขลา 100 คู่ และกรุงเทพมหานคร 100 คู่ รวมกลุ่มตัวอย่าง 800 คน

ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคมจากแหล่งต่างๆ และลักษณะทางจิตมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของกลุ่มเป้าหมาย ในกลุ่มนักเรียน ซึ่งแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนเน้นศาสนา ทั้งศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม ปัจจัยที่สำคัญต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ คือ การได้รับการเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเองเร็วและการมีทัศนคติที่ดีต่อความซื่อสัตย์ ส่วนในกลุ่มนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนทั่วไป ในนักเรียนทั้ง 3 ศาสนา พบปัจจัยร่วมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ 1 ปัจจัย คือ การได้รับการเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเองเร็ว นอกเหนือจากนั้น พบปัจจัยที่ต่างกัน โดยนักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธพบอิทธิพลของลักษณะทางศาสนาของผู้ปกครองและของตนเอง นักเรียนที่นับถือศาสนาคริสต์พบอิทธิพลของการเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การอบรมสั่งสอนจากโรงเรียนและการควบคุมตนเอง นักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามพบอิทธิพลทางลักษณะทางศาสนาของผู้ปกครองและของตนเอง
ในกลุ่มผู้ปกครอง ปัจจัยที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อผู้ปกครองทั้ง 3 ศาสนา คือ การมีทัศนคติต่อความซื่อสัตย์ และลักษณะทางศาสนาทั้งของตนเองและของบิดามารดา

ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนและผู้ปกครอง พบว่า พฤติกรรมความซื่อสัตย์ของทั้ง 2 กลุ่มไม่ส้มพันธ์กัน หมายความว่า ผู้ปกครองที่มีพฤติกรรมความซื่อสัตย์สูง นักเรียนซึ่งเป็นลูก (หลาน) อาจมีพฤติกรรมความซื่อสัตย์สูงหรือต่ำก็ได้ หรือในทางกลับกัน นักเรียนที่มีพฤติกรรมความซื้อสัตย์สูง ผู้ปกครองอาจมีพฤติกรรมความซื่อสัตย์สูงหรือต่ำก็ได้เช่นกัน

This research aims to study (1) socialization process from families, schools, religious institutes, mass media and their influences on the Thai honest behavioral pattern of different religions ; Bhudism, Christianity, and Islam, and (2) relationship of honest behavior between parents and students. Data was collected from secondary school students in 4 provinces Chiengmai, Songkla, Nakornratsima, and Bangkok Metropolitan. Samples were 100 pairs of students and their parents from each province, 50 pairs from 3 different religious oriented schools and other 50 pairs from ordinary schools (public and private schools). The total samples were 800 persons.

The study revealed that ; For students, students in religious oriented schools, early self-reliance child rearing type and positive attitude toward honesty were essential factors influenced honest behavioral pattern. Students in ordinary schools, the research found one common factor – early self-reliance child rearing type – influenced honest behavior of students from 3 religions.

For parents, positive attitude toward honesty was essential factor influenced honest behavioral pattern.

The result of study also revealed that there was no relationship of honest behavior between parents and students, which means that honest parents might not have honest children at the same level, or vice versa, honest students might not have honest parents respectively

ณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2547). การศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการขัดเกลาทางสังคมและลักษณะทางจิดใจกับพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 30 -43.

อ่านบทความฉบับเต็ม

บทบาทที่คาดหวังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชน
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

บทบาทที่คาดหวังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชน

สุรอรรถ ทองนิรมล. (2547). บทบาทที่คาดหวังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชน. วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 24 -29.

อ่านบทความฉบับเต็ม

“กินตามแม่” คือ แนวทางสู่ความมั่นคงทางอาหารในสังคมไทย
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

“กินตามแม่” คือ แนวทางสู่ความมั่นคงทางอาหารในสังคมไทย

บทคัดย่อ:

อาหาร คือ สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนควรจะได้รับ แต่ด้วยระบบและกลไกทางสังคมหลายอย่าง ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ประสบภาวะยากจน มีอาหารไม่เพียงพอต่อการบริโภค การกระจายอาหารไม่เป็นธรรม การเข้าไม่ถึงอาหาร หรือมีอาหารบริโภคแต่ไม่ปลอดภัย สถานการณ์เช่นนี้ คือ การขาดความมั่นคงทางอาหาร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในฐานะที่ทรงเป็นแม่ของปวงชนชาวไทย และได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ และมีพระราชจริยวัตร ที่งดงามในการเป็นแบบอย่างให้แม่ในสังคมไทยนำไปปฏิบัติเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนและระดับชุมชน หากเราได้ดำเนินรายตามพระยุคลบาท ดังกล่าวแล้วความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคจะเกิดแก่สังคมไทย

 

นวลใย วัฒนกูล. (2547). “กินตามแม่” คือ แนวทางสู่ความมั่นคงทางอาหารในสังคมไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 5-23.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ทองคำ : โลหะทรงค่านิรันดร์กาล
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

ทองคำ : โลหะทรงค่านิรันดร์กาล

บทคัดย่อ:

ทองคำเป็นโลหะที่พบได้ในธรรมชาติซึ่งจะพบทองคำอยู่ในรูปของแร่ทองคำ โดยทั่วไปอาจจะพบปะปนอยู่กับโลหะอื่นๆ เช่น เงิน ทองแดง ปรอท ตะกั่ว เป็นต้น ทองคำที่พบในธรรมชาติจำเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ทองเม็ดทราบ ทองคำทราย และทองคำภูเขา กรรมวิธีทางเคมีที่ใช้ในการแยกทองคำให้บริสุทธิ์นั้นทำได้ โดยนำแร่ทองคำมาบดให้ละเอียดแล้วนำมาเติมสารละลายโซเดียมไซยาไนด์ (NaCN) และพ่นด้วยแก๊สออกซิเจน จากนั้น จึงเติมผงโลหะสังกะสีลงไป ด้วยกรรมวิธีนี้จะได้โลหะทองคำที่่บริสุทธิ์ ทองคำบริสุทธิ์ที่ได้มีสีเหลืองอร่าม ไม่เป็นสนิม ไม่ละลายในกรดทั่วไป แต่สามารถละลายได้ในกรดกัดทอง (aqua regia) ด้วยคุณสมบัติที่สวยงามของทองคำ จึงมีการนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น ใช้ทำเครื่องประดับและในงานศิลปกรรม ใช้ในการลงทุนและการสำรองเงินตราต่างประเทศ ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ใช้ในงานทันตกรรม และใช้ทำเหรียญกษาปณ์ เป็นต้น การใช้ทองคำทำเครื่องประดับและใช้ในงานศิลปกรรมนั้นมีส่วนแบ่งของตลาดมากที่สุดของปริมาณทองคำที่ใช้กันอยู่ และเนื่องจากทองคำที่มีความบริสุทธิ์ 100% นั้นมีความอ่อนนุ่ม จึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้การทำทองรูปพรรณ ดังนั้น จึงต้องทำเป็นโลหะอัลลอยด์โดยการนำทองคำมาผสมกับโลหะอื่นๆ เพื่อให้ได้ทองคำที่มีความแข็งตามต้องการ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ความบริสุทธิ์ของทองคำลดลง ดังนั้น การซื้อขายทองคำรูปพรรณจึงต้องบอกความบริสุทธิ์ของทองคำ ตามหลักสากลของวงการเครื่องประดับและอัญมณีใช้หน่วยกะรัต (karat :K) เพื่อบอกความบริสุทธิ์ของทองคำ โดยทองคำที่ขายในท้องตลาดจำแนกความบริสุทธิ์เป็นทอง 24K 23K 22K 18K 14K 9K และ 8K ทอง 24K เป็นทองที่มีความบริสุทธิ์มากที่สุด สำหรับวิธีที่ใช้ในการทดสอบความบริสุทธิ์ของทองคำสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การทดสอบโดยใช้วิธี touchstone testing ซึ่งวิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญของผู้ทดสอบเพื่อบอกปริมาณของทองคำที่มีอยู่ในทองรูปพรรณอย่างคร่าวๆ และวิธี Cupellation Method (Fire Assay) วิธีนี้เป็นการทดสอบโดยใช้เทคนิคทางเคมีซึ่งสามารถบอกปริมาณของทองคำได้อย่างแม่นยำ แต่มีความยุ่งยากของการทดสอบมากกว่าวิธีแรก

เกษม พลายแก้ว. (2547). ทองคำ : โลหะทรงค่านิรันดร์กาล. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 94-105.

อ่านบทความฉบับเต็ม

กลไกและปัจจัยทางชีววิทยาที่มีผลต่อการติดสารเสพติด
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

กลไกและปัจจัยทางชีววิทยาที่มีผลต่อการติดสารเสพติด

บทคัดย่อ:

กลไกและปัจจัยทางชีววิทยามีผลต่อการติดสารเสพติด โดยสามารถแบ่งปัจจัยทางชีววิทยาออกได้เป็น 3 กลุ่ม 1. คือปัจจัยทางด้านเภสัชวิทยาของสารเสพติดและคุณสมบัติทางเคมี-สรีรวิทยาของสารเสพติด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูดซึม ความง่ายในการติดและวิธีการใช้สารเสพติด 2. ปัจจัยทางพันธุกรรมที่แตกต่างระหว่างบุคคล มีผลต่อความง่ายในการติดและความยากต่อการเลิกสารเสพติด และ 3. ปัจจัยอันเนื่องมาจากระบบประสาทและระบบการให้รางวัล ซึ่งอธิบายการออกฤทธิ์ของสารเสพติดต่างๆ ที่มีผลต่อสารสื่อประสาทของสมองและระบบของการให้รางวับในสมองอันได้แก่ ระบบ Mesolimbic dopamine pathway ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ในการใช้ยาเสพติดของบุคคล การเข้าใจในกลไกและปัจจัยทางชีววิทยาที่มีผลต่อการติดสารเสพติดจะช่วยให้ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับยาเสพติดเข้าใจภาวะของผู้ติดยา และหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ศรัณย์ กอสนาน. (2547). กลไกและปัจจัยทางชีววิทยาที่มีผลต่อการติดสารเสพติด. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 83-93.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

 

มนุษย์กับปรากฏการณ์เรโซแนนซ์
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

มนุษย์กับปรากฏการณ์

บทคัดย่อ:

เรโซแนนซ์ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีหลักการเรียบง่าย แต่พบได้ในหลายๆ ระบบ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ทั้งในฐานะที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ อันได้แก่ แผ่นดินไหว หรือเป็นส่วนประกอบของเทคโนโลยีที่สำคัญ เช่น การออกแบบเครื่องจักร การดนตรี และการแพทย์ เป็นต้น

รังสรรค์ โกญจนาทนิกร. (2547). มนุษย์กับปรากฏการณ์เรโซแนนซ์ . วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 70-82.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วกับแนวทางการจัดการในประเทศไทย
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วกับแนวทางการจัดการในประเทศไทย

บทคัดย่อ:

น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วถือเป็นของเสียอันตราย ที่ต้องดำเนินการบำบัดและจัดการให้ถูกต้องเพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีระบบการจัดเก็บรวบรวมน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการนำกลับไปใช้ประโยชน์หรือกำจัดทิ้งอย่างผิดกฎหมาย บทความนี้ได้อธิบายผลกระทบของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น ส่วนประกอบของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วมีสารโพลิไซคลิกอะโรมาติกซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และเมื่อน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศน์ในน้ำ รวมทั้งยังถูกสะสมและถ่ายทอดในระบบห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต พร้อมทั้งเสนอแนวทางการนำน้ำหล่อลื่นที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การกลั่นใหม่ และการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งการกลั่นใหม่เป็นวิธีที่ให้ประโยชน์สูงสุดทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการกลั่นแต่ละกระบวนการจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดการน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วในประเทศไทย

พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2547). ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วกับแนวทางการจัดการในประเทศไทย.  วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 59-69.

อ่านบทความฉบับเต็ม

รองเท้าส้นสูงกับท่าทางในชีวิตประจำวัน
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

รองเท้าส้นสูงกับท่าทางในชีวิตประจำวัน

บทคัดย่อ:

ท่าทางของแต่ละบุคคลจะดูดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของร่างการที่ปกติ และส่วนต่างๆ  ของร่างกายมีความสัมพันธ์กัน รองเท้าที่สวมใส่ทุกวันอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดท่าทางที่ไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารองเท้าที่สวมนั้น ไม่พอเหมาะกับเท้า หรือรองเท้าส้นสูงมากเกินไป เนื่องจากการสวมรองเท้าส้นสูงมากๆ ทำให้สมดุลของร่างกายเปลี่ยนแปลง ร่างกายต้องปรับแนวต่างๆ ของร่างกายเพื่อให้ร่างกายทรงท่าอยู่ได้ ท่าทางที่มักปรากฏในผู้ที่สวมรองเท้าส้นสูงมากเกินไป คือ ขณะยืนข้อเท้าอยู่ในท่าเหยียดปลายเท้าลง ข้อเข่าและข้อตะโพกงอ กระดูกสันหลังส่วนเอวแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งท่าทางเหล่านี้ทำให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ และอื่นๆ ดังนั้น เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงหรือป้องกันความผิดปกติที่จะเกิดกับโครงสร้างและท่าทางของร่างกาย ความสูงของรองเท้าที่สวมเป็นประจำต้องพอเหมาะ สวมแล้วกระชับและพอดีกับเท้า

ลลิดา โรจนธรรมณี. (2547). รองเท้าส้นสูงกับท่าทางในชีวิตประจำวัน.  วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 51-58.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตพยาบาล  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (The Selected Factors Related to a Professional Nursing License Examination Result of the Huachiew Chalermprakiet University Graduated Nurses)

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเขิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตพยาบาลมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูลรวม 10 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว 2) แบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 3) แบบสอบถามความวิตกกังวลในสัปดาห์สอบ 4) แบบสอบถามภาวะสุขภาพร่างกายในสัปดาห์สอบ 5) แบบประเมินโครงการพยาบาลฝึกหัด 6) แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการห้องสมุดและหอพัก 7) แบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดทบทวนความรู้ 8) แบบบันทึกผลการสอบโดยรวมและรายวิชาตลอดหลักสูตร 9) แบบบันทึกผลการสอบรวบยอด และ 10) แบบบันทึกผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ เก็บรวบรวมข้อมูลจากบัณฑิตพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2542 ที่เข้าสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ครั้งที่ 1/2543 จำนวน 42 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย (descriptive statistics) สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) ผลการวิจัยพบว่า ป้จจัยคัดสรรด้านการควบคุมที่มีการความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ เกรดรายวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก 1 และ 2 เกรดรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลแม่และเด็ก 2 ผลการสอบรวบยอดการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น สำหรับผลการสอบรวบยอดโดยรวมและเกรดรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลแม่และเด็ก 1 มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยคัดสรรด้านตัวป้อน ด้านกระบวนการดำเนินการมีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตฯ โดยรวม ผลการวิจัยครั้งนี้สน้บสนุนกรอบแนวคิดระบบการเรียนการสอนบางส่วน เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการควบคุมกับผลผลิต พร้อมกันนี้คณะผู้วิจัยได้เสนอข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ และการทำวิจัยครั้งต่อไป Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa