SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการขัดเกลาทางสังคมและลักษณะทางจิดใจกับพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย
มีนาคม 4th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการขัดเกลาทางสังคมและลักษณะทางจิดใจกับพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย

A Study of Socialization Factors and Mental Characteristics Influencing Thai Honest Behavioral Pattern

บทคัดย่อ:

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย และอิทธิพลของกระบวนการขัดเกลาทางส้งคมโดยครอบครัว โรงเรียน สถาบันศาสนาและสื่อมวลชน ต่อลักษณะทางจิตใจ ที่จะส่งผลไปถึงพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม และความสัมพันธ์ของพฤติกรรมความซื่อสัตย์ระหว่างผู้ปกครองและนักเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เรียนในโรงเรียนอิงศาสนาพุทธ โรงเรียนอิงศาสนาคริสต์และโรงเรียนอิงศาสนาอิสลามและโรงเรียนทั่วไปไม่อิงศาสนา ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน จำนวน 400 คน และผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 400 คน รวม 400 คู่ จาก 4 จังหวัดในแต่ละภาค คือ ภาคเหนือ เลือกจังหวัดเชียงใหม่ 100 คู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือกจังหวัดนครราชสีมา 100 คู่ ภาคใต้ เลือกจังหวัดสงขลา 100 คู่ และกรุงเทพมหานคร 100 คู่ รวมกลุ่มตัวอย่าง 800 คน

ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคมจากแหล่งต่างๆ และลักษณะทางจิตมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของกลุ่มเป้าหมาย ในกลุ่มนักเรียน ซึ่งแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนเน้นศาสนา ทั้งศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม ปัจจัยที่สำคัญต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ คือ การได้รับการเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเองเร็วและการมีทัศนคติที่ดีต่อความซื่อสัตย์ ส่วนในกลุ่มนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนทั่วไป ในนักเรียนทั้ง 3 ศาสนา พบปัจจัยร่วมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ 1 ปัจจัย คือ การได้รับการเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเองเร็ว นอกเหนือจากนั้น พบปัจจัยที่ต่างกัน โดยนักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธพบอิทธิพลของลักษณะทางศาสนาของผู้ปกครองและของตนเอง นักเรียนที่นับถือศาสนาคริสต์พบอิทธิพลของการเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การอบรมสั่งสอนจากโรงเรียนและการควบคุมตนเอง นักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามพบอิทธิพลทางลักษณะทางศาสนาของผู้ปกครองและของตนเอง
ในกลุ่มผู้ปกครอง ปัจจัยที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อผู้ปกครองทั้ง 3 ศาสนา คือ การมีทัศนคติต่อความซื่อสัตย์ และลักษณะทางศาสนาทั้งของตนเองและของบิดามารดา

ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนและผู้ปกครอง พบว่า พฤติกรรมความซื่อสัตย์ของทั้ง 2 กลุ่มไม่ส้มพันธ์กัน หมายความว่า ผู้ปกครองที่มีพฤติกรรมความซื่อสัตย์สูง นักเรียนซึ่งเป็นลูก (หลาน) อาจมีพฤติกรรมความซื่อสัตย์สูงหรือต่ำก็ได้ หรือในทางกลับกัน นักเรียนที่มีพฤติกรรมความซื้อสัตย์สูง ผู้ปกครองอาจมีพฤติกรรมความซื่อสัตย์สูงหรือต่ำก็ได้เช่นกัน

This research aims to study (1) socialization process from families, schools, religious institutes, mass media and their influences on the Thai honest behavioral pattern of different religions ; Bhudism, Christianity, and Islam, and (2) relationship of honest behavior between parents and students. Data was collected from secondary school students in 4 provinces Chiengmai, Songkla, Nakornratsima, and Bangkok Metropolitan. Samples were 100 pairs of students and their parents from each province, 50 pairs from 3 different religious oriented schools and other 50 pairs from ordinary schools (public and private schools). The total samples were 800 persons.

The study revealed that ; For students, students in religious oriented schools, early self-reliance child rearing type and positive attitude toward honesty were essential factors influenced honest behavioral pattern. Students in ordinary schools, the research found one common factor – early self-reliance child rearing type – influenced honest behavior of students from 3 religions.

For parents, positive attitude toward honesty was essential factor influenced honest behavioral pattern.

The result of study also revealed that there was no relationship of honest behavior between parents and students, which means that honest parents might not have honest children at the same level, or vice versa, honest students might not have honest parents respectively

ณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2547). การศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการขัดเกลาทางสังคมและลักษณะทางจิดใจกับพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 30 -43.

อ่านบทความฉบับเต็ม


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa