SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
มีนาคม 4th, 2016 by rungtiwa

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตพยาบาล  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (The Selected Factors Related to a Professional Nursing License Examination Result of the Huachiew Chalermprakiet University Graduated Nurses)

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเขิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตพยาบาลมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูลรวม 10 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว 2) แบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 3) แบบสอบถามความวิตกกังวลในสัปดาห์สอบ 4) แบบสอบถามภาวะสุขภาพร่างกายในสัปดาห์สอบ 5) แบบประเมินโครงการพยาบาลฝึกหัด 6) แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการห้องสมุดและหอพัก 7) แบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดทบทวนความรู้ 8) แบบบันทึกผลการสอบโดยรวมและรายวิชาตลอดหลักสูตร 9) แบบบันทึกผลการสอบรวบยอด และ 10) แบบบันทึกผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ เก็บรวบรวมข้อมูลจากบัณฑิตพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2542 ที่เข้าสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ครั้งที่ 1/2543 จำนวน 42 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย (descriptive statistics) สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) ผลการวิจัยพบว่า ป้จจัยคัดสรรด้านการควบคุมที่มีการความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ เกรดรายวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก 1 และ 2 เกรดรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลแม่และเด็ก 2 ผลการสอบรวบยอดการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น สำหรับผลการสอบรวบยอดโดยรวมและเกรดรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลแม่และเด็ก 1 มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยคัดสรรด้านตัวป้อน ด้านกระบวนการดำเนินการมีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตฯ โดยรวม ผลการวิจัยครั้งนี้สน้บสนุนกรอบแนวคิดระบบการเรียนการสอนบางส่วน เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการควบคุมกับผลผลิต พร้อมกันนี้คณะผู้วิจัยได้เสนอข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ และการทำวิจัยครั้งต่อไป

This study is a descriptive research. The purpose is to determine selected factors related to a professional nursing license examination result of the Huachiew Chalermprakiet University graduated nurses. The subjects were 42 graduated nurses of Huachiew Chalermprakiet University, who were graduated in academic year 1999 and took the professional nursing license examination of 1/2000. Questionnaires were constructed to collect data covering the selected factors related to the professional nursing license examination result of the Huachiew Chalermprakiet University graduated nurses. Data was analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation. The results indicated that the selected control factors which related to the overall professional nursing license examination result with statistical significance of 0.01 were grade result of the maternal and child nursing 1 & 2 subject, maternal and child practicum 2 and the comprehensive result in child and adolescent. The overall comprehensive examination result and grade result of the maternal and child practicum 1 also related with statistical significance of 0.05. The selected input factors and operating factors did not relate to the overall professional nursing license examination result.
In summary, the findings supported validity of learning-teaching system model about the relationship between control factors and output. The suggestion, implication for using and further studies were recommended.

เพ็ญแข แสงโนรี สุขจิต ณ นคร รัตนา สำราญใจ และ สถาพร อนันต์คุณูปการณ์. (2547). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตพยาบาล  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 14-36.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa