SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตพยาบาล  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (The Selected Factors Related to a Professional Nursing License Examination Result of the Huachiew Chalermprakiet University Graduated Nurses)

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเขิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตพยาบาลมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูลรวม 10 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว 2) แบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 3) แบบสอบถามความวิตกกังวลในสัปดาห์สอบ 4) แบบสอบถามภาวะสุขภาพร่างกายในสัปดาห์สอบ 5) แบบประเมินโครงการพยาบาลฝึกหัด 6) แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการห้องสมุดและหอพัก 7) แบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดทบทวนความรู้ 8) แบบบันทึกผลการสอบโดยรวมและรายวิชาตลอดหลักสูตร 9) แบบบันทึกผลการสอบรวบยอด และ 10) แบบบันทึกผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ เก็บรวบรวมข้อมูลจากบัณฑิตพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2542 ที่เข้าสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ครั้งที่ 1/2543 จำนวน 42 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย (descriptive statistics) สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) ผลการวิจัยพบว่า ป้จจัยคัดสรรด้านการควบคุมที่มีการความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ เกรดรายวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก 1 และ 2 เกรดรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลแม่และเด็ก 2 ผลการสอบรวบยอดการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น สำหรับผลการสอบรวบยอดโดยรวมและเกรดรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลแม่และเด็ก 1 มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยคัดสรรด้านตัวป้อน ด้านกระบวนการดำเนินการมีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับผลการสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตฯ โดยรวม ผลการวิจัยครั้งนี้สน้บสนุนกรอบแนวคิดระบบการเรียนการสอนบางส่วน เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการควบคุมกับผลผลิต พร้อมกันนี้คณะผู้วิจัยได้เสนอข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ และการทำวิจัยครั้งต่อไป Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa