SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Open Science Taxonomy
ต.ค. 9th, 2016 by supaporn

ลองดูภาพนี้ ชัดเจนทีเดียวสำหรับ Open Science

Open Science Taxonomy

Open Science Taxonomy

รายการอ้างอิง

FOSTER. Open Science Taxonomy. Retrieved from https://www.fosteropenscience.eu/foster-taxonomy/open-science

การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์
ก.ย. 17th, 2016 by supaporn

การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์ เป็นหัวข้อหนึ่งในหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน บรรยายโดย อาจารย์ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยอาจารย์ได้นำความรู้มาบรรยาย ในประเด็นต่อไปนี้

  1. ทรัพยากรสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
  2. การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
  3. กระบวนการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
  4. ตัวอย่างหอจดหมายเหตุดิจิทัลและพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล
  5. การพัฒนา “คลังสารสนเทศดิจิทัล” เริ่มต้นอย่างไร?

เริ่มต้น วิทยากรให้ความหมาย คำว่า “ทรัพยากรสารสนเทศ” ใน 2 มุมมอง คือ ความหมายในแง่ขององค์กร และของบุคคล กล่าวคือ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) ในมุมมองขององค์กร หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ที่ได้มีการรวบรวม กลั่นกรอง เรียบเรียง หรือประมวลผลไว้ โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ รูปภาพ รหัส แล้วนำมาบันทึกด้วยวิธีการต่างๆ ลงวัสดุชนิดต่างๆ เพื่อจัดเก็บ หรือเผยแพร่ให้ผู้รับได้ทราบ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ หรือความบันเทิง ขณะที่ ทรัพยากรสารสนเทศในมุมมองของบุคคล เน้นในเรื่องของความทรงจำของบุคคลนั้น เป็นความทรงจำที่มีความหมาย มีความสำคัญ หรือถูกด้วยปัจจัยต่างๆ โดยผู้เป็นเจ้าของของความทรงจำ เช่น ภาพถ่ายที่ถูกบันทึกลงในกระดาษ ภาพถ่ายในรูปแบบฟิล์ม ม้วนเทปวิดีโอ เทปบันทึกเสียง ภาพวาด สมุดบันทึก Sketchbook ฯลฯ ดังนั้น ทรัพยากรสารสนเทศ จึงแบ่งได้เป็น Read the rest of this entry »

From Green University to Sustainable Campus : Knowledge Sharing on Data Preparation for UI GreenMetric
ก.ย. 3rd, 2016 by supaporn

บุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย รองอธิการบดี อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ และ นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เข้าร่วมสัมมนา ในหัวข้อเรื่อง From Green University to Sustainable Campus : Knowledge Sharing on Data Preparation for UI GreenMetric เมื่อวันที่ 29 เดือน สิงหาคม พ.ศ 2559 จัดโดยสถาบันคลังสมองของชาติ เพื่อให้มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม UI GreenMetric ได้มาแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ เพื่อตอบโจทย์การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและ Sustainable campus โดยอิงเกณฑ์ของ UI GreenMetric World University Ranking

ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate change) สภาวะโลกร้อน และสภาพเรือนกระจก เป็นพันธกิจที่สำคัญพันธกิจหนึ่งที่มหาวิทยาลัยจะต้องให้ความสำคัญ และจากประเด็นนี้เอง จึงมีกลไกหนึ้งที่หนุนเสริมให้มหาวิทยาลัยรักษาสภาพแวดล้อมและสร้างมหาวิทยาลัยสีเขียวให้เป็นที่รู้จักและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในมหาวิทยาลัยทั่วโลก กลไกดังกล่าว คือ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว UI GreenMetric World University Ranking ซึ่งดำเนินการโดย University of Indonesia (UI) Read the rest of this entry »

เทคนิคและวิธีประพันธ์บทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อการเผยแพร่ความรู้
ก.ค. 24th, 2016 by prapaporn

หัวข้อ “เทคนิคและวิธีประพันธ์บทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อการเผยแพร่ความรู้” เป็นหัวข้อในการสัมมนาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559 ณ ห้องจัดแสดงดนตรี ชั้น 2 หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

ผอ.สำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน

ผอ.สำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน

วิทยากร คือ ผศ.ดร.เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) บรรยายในหัวข้อเรื่อง “เทคนิคและวิธีประพันธ์บทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อการเผยแพร่ความรู้” ซึ่งสามารถสรุปประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

ผศ.ดร.เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง วิทยากร

ผศ.ดร.เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง วิทยากร

บทความวิชาการ (Journal article/Scholarly) คือ งานเขียนเชิงวิชาการที่นำเสนอความรู้ในหัวข้อต่างๆ ที่ได้จากการทบทวนเอกสารในเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรือความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย

Read the rest of this entry »

โครงการพัฒนาบุคลากรงานบริการห้องสมุดและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหัองสมุด
ก.ค. 21st, 2016 by sirinun

โครงการพัฒนาบุคลากรงานบริการห้องสมุดและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหัองสมุด จัดขึ้น วันที่ 14 กรกฎคม 2559 เวลา 8.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารบุญชนะ อัตถากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 

1469087913494-1

 

1469087909778

 

1469088555849

 

1469088543122

 

หัวข้อการสัมมนา

  1. ความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อห้องสมุดในยุคดิจิทัล  โดย ปณิธาน สืบนุการณ์
  2. ความสุขในการทำงาน และความรักความผูกพันต่อองค์การ โดย จตุพล ชมพูนิช
  3.  ความสุขในการทำงาน และความรักความผูกพันต่อองค์การ โดย อรพิมพ์ รักษาผล

จากการสัมมนาในครั้งนี้สิ่งที่ได้รับคือความคาดหวังในการให้บริการของห้องสมุดยุคใหม่ต่อผู้ใช้บริการ ต้องมีการบริการใหม่ๆ บรรยากาศใหม่ๆ หรือรูปลักษณ์ใหม่ๆ มีการนำคอมพิวเตอร์และระบบดิจิทัลมาใช้งานมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเด่นชัด ดังนั้นการให้บริการต้องเน้นเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ ห้องสมุดดิจิทัล มีการจัดการทรัพยากรต่างๆ ให้อยู่ในระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ดังนั้นบุคลากรห้องสมุดต้องใส่ใจการให้บริการแก้ผู้ใช้บริการที่มีความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและความต่างวัยกันในยุคดิจิทัลนี้ด้วย

ความสุขในการทำงาน และความรักความผูกพันต่อองค์การ ทุกอาชีพ “มีศักดิ์ศรี” ไม่ต่างกัน เพราะ “ไม่มีอาชีพไหนอยู่ได้” โดยไม่ต้อง “พึ่งพา” อาชีพอื่นๆ “จงภูมิใจในอาชีพ”ที่คุณเลือกสรรและทำมันทุกวัน ด้วยหัวใจ จากคำพูดของอาจารย์ จตุพล ชมพูนิช วิทยากรนักพูดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงการนักพูด  ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเกิดความมุ่งมั่นที่จะทำงานในอาชีพของตนเองให้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีความรักในองค์การของตนเองมากยิ่งขึ้น พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความพากเพียรและนำเอาปัญญาความรู้ที่ได้จากการสัมมนามาประยุกต์ใช้ต่อไป

ความสุขในการทำงาน และความรักความผูกพันต่อองค์การ คนเราทุกคนย่อมมีความรักความผูกพันต่อองค์การ และต่อหน้าที่การงาน นอกจากนี้ยังต้องมี “ความกตัญญูที่มีต่อองค์พระมหากษัตริย์” ที่ปกครองบ้านมือให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขทั่วหน้า เพื่อให้บ้านเมืองของเรามีการพัฒนาไปในทางที่ถูกต้องดีงาม

รายการอ้างอิง

เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการพัฒนาบุคลากรงานบริการห้องสมุดและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหัองสมุด. (2559).  ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารบุญชนะ อัตถากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วันที่ 14 กรกฎคม 2559 เวลา 8.00 – 16.30 น.

ห้องสมุดดิจิทัล : ประสบการณ์และข้อพึงระวัง (Digital Library : Best Practice and Pit Fall)
มิ.ย. 12th, 2016 by pailin

จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปี 2558  เรื่อง  ห้องสมุดดิจิทัล : ประสบการณ์และข้อพึงระวัง  (Digital Library : Best Practice and Pit Fall) จัดโดย ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา (ช.บ.อ.)  สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย  เมื่อวันที่ 27  พฤศจิกายน 2558  ณ  ห้องประชุมชั้น 7  สำนักงานวิทยทรัพยากร  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยประกอบด้วยหัวข้อ ต่อไปนี้

  1.  แนวโน้มของห้องสมุดในยุค Digital Library
  2.  เล่าเรื่อง Digitized Rare Book หอสมุดสาขาวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  3.  D-Library : National Digital Content
  4.  ห้องสมุดดิจิทัล  ความคุ้มค่าในการลงทุนของมหาวิทยาลัย ?

Read the rest of this entry »

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพวารสารสู่ประชาคมอาเซียน
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 9.00-16.00 น. บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพวารสารสู่ประชาคมอาเซียน ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ อาคาร 2 ชั้น 8 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เพื่อจะได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของการจัดทำคุณภาพวารสารวิชาการของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thailand Citation Index – TCI) เพื่อจะได้มีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพวารสารของไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดทำวารสาร เพื่อพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยต่อไป

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thailand Citation Index – TCI) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐาน TCI ขึ้น 3 รอบ ในปี พ.ศ. 2555, 2556 และ 2558 ดังนั้น วารสารวิชาการที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ประเมินของ TCI นั้น ประกอบด้วย Read the rest of this entry »

Knowledge Sharing รู้จัก เข้าใจ วางแผน และประเมินผล
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกบริการสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing สำหรับบุคลากรแผนกกิจกรรม เพื่อรับฟังประสบการณ์ และแนวทางที่ควรจะเป็นสำหรับการให้บริการ โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator จากหัวข้อ รู้จัก เข้าใจ วางแผน และประเมินผล

แบ่งกลุ่มแต่ละ Generation

แบ่งกลุ่มแต่ละ Generation

ในช่วงแรก ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับคนในแต่ละ Generation เนื่องจากในแต่ละ Generation นั้น อยู่ในช่วงอายุใด มีความสนใจ มีความต้องการอะไร เพื่อจะได้เทียบเคียงกับผู้ใช้บริการที่มีหลากหลาย แต่กลุ่มผู้ใช้กลุ่มใหญ่ คือ นักศึกษา ซึ่งเป็น Gen Y และผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มอาจารย์ที่อาจจะอยู่ใน Gen อื่น ๆ จึงควรจะต้องมีความเข้าใจกลุ่มคนในแต่ละ Gen เพื่อให้สามารถจัดการ วางแผนการให้บริการให้ตรงหรือเหมาะสมกับผู้ใช้ในแต่ละ Gen ได้ ได้มีการจัดกลุ่มของบุคลากรแผนกบริการสารสนเทศ และผู้ที่ต้องหมุนมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ ในบางช่วงเวลา เพื่อให้ทราบว่า อยู่ใน generation ใด เพื่อเทียบเคียงกับกลุ่มผู้ใช้บริการ

 

เสนอบริการใหม่

เสนอบริการใหม่

ในช่วงที่สอง ได้เริ่มให้เข้าใจงานบริการมากขึ้น การออกแบบการให้บริการ ประกอบด้วย content และสื่อต่างๆ ในการเข้าถึง มีการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอ บริการใหม่ ๆ และนำมาแลกเปลี่ยนกันถึง สาเหตุของการเสนอบริการนั้น ๆ และควรจะจัดบริการนั้น ออกมาในรูปแบบใด ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง เพื่อจะได้ให้บุคลากรเรียนรู้ในการวางแผนการจัดบริการ และขั้นตอนสุดท้าย ต้องมีการประเมินผลการให้บริการ เพื่อตัดสินใจว่า งานบริการนั้น ควรให้บริการต่อหรือไม่ หรือ ต้องให้เวลาในการให้บริการต่อไปอีกระยะเวลาหนึ่ง

จากกิจกรรม Knowledge Sharing ดังกล่าว คาดว่าจะทำให้บุคลากรในแผนกบริการสารสนเทศ และบุคลากรท่านอื่น ๆ ที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ เกิดมุมมองในการให้บริการมากขึ้น และรู้จักกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น มีการวางแผน มีการประเมินผล เพื่อพัฒนาการให้บริการต่อไป

นวัตกรรมห้องสมุดกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Library Innovation and Learning in the 21st Century)
เม.ย. 6th, 2016 by supaporn

จากการเข้าร่วมฟังบรรยายในงาน TK Forum 2016 ซึ่งในปีนี้จัดในหัวข้อเรื่อง นวัตกรรมห้องสมุดกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  (Library Innovation and Learning in the 21st Century)  เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 ณ ห้องประชุม 3,4 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นั้นประกอบด้วยการบรรยาย 3 เรื่อง ได้แก่

  1. Managing Innovative Personalities for Successful Library Innovation โดย คิมเบอร์ลี่ แมทธิวส์ (Kimberly Matthews) ผู้ช่วยผู้อำนวยการห้องสมุดประชาชนไมอามี่-เด๊ด สหรัฐอเมริกา
  2. Future City, Future Library: Experiences and Lessons Learned from the Library of Birmingham โดย ไบรอัน แกมเบิลส์ (Brian Gambles) อดีตผู้อำนวยการห้องสมุดเมืองเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักร
  3. How to Develop and Promote Innovation in the Public Service: Case of Public Libraries in Singapore โดย เหงียน เลก ชอ (Ngian Lek Choh) ที่ปรึกษาคณะกรรมการห้องสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ (NLB)

สำหรับหัวข้อแรก Managing Innovative Personalities for Successful Library Innovation หรือ การบริหารบุคลิกภาพแห่งนวัตกรรมเพื่อการสร้างนวัตกรรมห้องสมุดที่ประสบความสำเร็จ  นั้น วิทยากรได้เริ่มกล่าวถึงการบริหารนวัตกรรม ขึ้นอยู่กับผู้นำองค์กร เพราะต้องเป็นผู้กุมบังเหียนคนเก่ง คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คนที่ชอบอยู่เอกเทศ เป็นต้น เข้ามาร่วมสร้างผลงาน เพราะหากบริหารจัดการไม่ดี จะส่งผลในทางตรงข้ามคือ เกิดการหยุดคิด และเปลี่ยนเป็นทำลายล้างมากกว่าสร้างสรรค์ ดังนั้น ผู้นำที่แท้จริงควรมีคุณสมบัติ 10 ประการ ดังนี้ Read the rest of this entry »

ศึกษาดูงาน ณ ห้องสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหอจดหมายเหตุ (ธ.ก.ส.)
เม.ย. 4th, 2016 by supaporn

วันที่ 4 เมษายน 2559 เวลา 13.30-16.30 น. บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) ได้เข้าศึกษาดูงานห้องสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหอจดหมายเหตุ (ธ.ก.ส.) เพื่อนำความรู้ และนวัตกรรม ไปประยุกต์ใช้ต่อไป

ศึกษาดูงานธนาคารเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

ศึกษาดูงานธนาคารเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

ภาพ Timeline ของธนาคารฯ

ภาพ Timeline ของธนาคารฯ

การแสดงหนังสือ

การแสดงหนังสือ

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa