SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
ต.ค. 15th, 2017 by supaporn

หลังจากที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้นำระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่จัดหามาเพื่อให้บริการแก่ชุมชนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติแล้ว บุคลากรแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อร่วมกันจัดทำคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata เพื่อใช้เป็นคู่มือให้กับผู้ปฏิบัติงานในแผนกฯ ได้ลงรายการในระบบไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 มีผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และบรรณารักษ์แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้จากการที่ได้รับการอบรม และทดลองการใช้ระบบ จนสามารถสรุปเป็นคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ได้ดังนี้

คู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

 

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2
ต.ค. 7th, 2017 by supaporn

บทความตอนที่แล้ว ได้เขียนนำความถึงแนวทางในการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ของ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ ผู้พิจารณาเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาในประเทศไทย ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลายเป็นผู้บุกเบิกและมีผู้เห็นด้วยในการเลือกซื้อระบบเดียวกันนี้ อีกหลายแห่ง แนวทางนี้ไม่ล้าสมัยเลย ผู้เขียนได้ยึดแนวทางนี้มาเป็นตัวตั้งต้น เช่นเดียวกัน

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

บวกกับต้องพิจารณาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาอีก 24 ปี นับจากปี พ.ศ. 2536 เพราะมีเทคโนโลยีที่ก้าวผ่านเข้ามาเกี่ยวข้องกับห้องสมุดเป็นอย่างมาก เช่น Web 2.0, Mobile Technology และ Cloud Computing เป็นจุดเปลี่ยนจากเดิมที่ห้องสมุด ทำหน้าที่เป็น pull model คือ acquire / store / lend / find กลายเป็น push model คือ acquire / store / broadcast / converse และยิ่งมาถึงยุค mobile technology ด้วยแล้ว การเข้าถึงสารสนเทศเข้าได้ง่าย เหมือนกับมีถนนทางเข้า มีถนนให้รถวิ่ง แต่รถวิ่งเข้ามาแล้ว พบอะไร ในห้องสมุดหรือไม่ เมื่อ Cloud technology เริ่มเข้ามามีบทบาทในการให้บริการมากขึ้น ก็ยิ่งเป็นประเด็นที่ทำให้เริ่มจับตามองบริการผ่าน cloud มากขึ้น Read the rest of this entry »

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Service – WMS ตอนที่ 1
ต.ค. 6th, 2017 by supaporn

เมื่อครั้งเริ่มเข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูงในการพิจารณาระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบใหม่ เพื่อมาทดแทนระบบเดิม ซึ่งไม่ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติม และมีการหยุดชะงักของระบบเป็นหลายช่วง และผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ คนก่อนได้ศึกษาไปบ้างแล้ว แต่ข้อมูลหลายอย่างๆ ยังไม่เพียงพอที่จะตัดสินใจ จึงได้มีการมอบหมายให้ศึกษาใหม่อีกครั้ง

การพิจารณาระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบใหม่ จึงเริ่มต้นด้วยการศึกษาวรรณกรรมที่กล่าวถึงพัฒนาการหรือเทคโนโลยีที่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ควรจะเป็นแบบใด และนำมารวมกับประสบการณ์ที่เคยทำงานเป็นบรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศมานานถึง 18 ปี และคุ้นเคยกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบแรกที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทย ประสบการณ์ในการเริ่มต้นตั้งแต่การรับทราบปัจจัยในการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติของผู้บริหาร เมื่อครั้งที่ทำงานอยู่ที่สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำได้ว่า ผู้อำนวยการในขณะนั้น คือ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ (และเป็นผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในขณะนี้) ได้เริ่มต้นศึกษา และมีการไปศึกษาดูงานระบบห้องสมุดอัตโนมัติในหลายประเทศ พร้อมกับให้บรรณารักษ์ห้องสมุดคณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเดินทางไปห้องสมุดต่างประเทศ เพื่อศึกษาการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ สรุปสุดท้าย เมื่อพิจารณาระบบที่มีความเหมาะสมในขณะนั้นแล้ว การเป็นผู้บุกเบิกระบบใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ หรือสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในห้องสมุด ล้วนต้องประสบกับการไม่รู้ เพราะไม่มีใครในประเทศไทยรู้เรื่องเหล่านี้ มาก่อน บรรณารักษ์รุ่นเด็กอย่างผู้เขียน ยังไม่หนักมากเท่าบรรณารักษ์รุ่นพี่ ที่ต้องพยายามผลักดันให้เกิดระบบและใช้งานจนได้ Read the rest of this entry »

ระบบจัดเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.ค. 31st, 2017 by matupode

“เอกสาร” จัดว่าเป็นหลักฐานการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานหรือองค์กร เอกสารที่อยู่ระหว่างปฏิบัติงานจะมีคุณค่าบริหารงานในช่วงเวลานั้นๆ  แต่เมื่อสิ้นสุดการใช้งานที่เรียกว่า “เอกสารสิ้นกระแสการใช้” จะมีทั้งเอกสารที่ต้องทำลาย  และเอกสารสำคัญที่มีคุณค่าในด้านบริหารงาน คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ คุณค่าด้านการศึกษาวิจัยต้องเก็บรักษาไว้ เราเรียกเอกสารนั้นว่า “เอกสารจดหมายเหตุ”

เมื่อปี พ.ศ.2540 ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เข้ารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ท่านได้เสนอขอจัดตั้งหอจดหมายเหตุต่อสภามหาวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมเอกสารที่สิ้นกระแสการใช้งานของหน่วยงานและเป็นเอกสารที่ได้รับการประเมินแล้วว่ามีคุณค่ามาจัดเก็บในหอจดหมายเหตุ และเล็งเห็นว่า การที่จะทำให้หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ เข้มแข็ง จะต้องมีเอกสารที่มีคุณค่าส่งมาเก็บได้อย่างต่อเนื่อง ท่านจึงได้วางระบบจัดเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ ขึ้น โดยการแต่งตั้งคณะทำงานชุดต่างๆ จัดระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตั้งแต่การจัดระบบหมวดหมู่การจัดเก็บเอกสาร การกำหนดอายุเอกสาร การทำลายเอกสาร และการส่งมอบเอกสารให้กับหอจดหมายเหตุ ผ่านคณะทำงาน 3 ชุด คือ

  1. คณะกรรมการจัดระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ
  2. คณะกรรมการประเมินคุณค่าและกำหนดอายุการเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ
  3. คณะกรรมการทำลายเอกสาร

Read the rest of this entry »

เครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา
ก.ค. 14th, 2017 by piyanuch

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  ให้ความสำคัญของการเข้าร่วมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อร่วมกันศึกษาแนวทางการทำงานห้องสมุด เพื่อวางแผน พัฒนา ปรับปรุงการให้บริการห้องสมุด มุ่งเน้นประโยชน์ของผู้รับบริการเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการของห้องสมุด

เครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา

สมาชิกเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา รอบที่ 1 ถึง รอบปีที่ 5 ดังนี้

  1. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  2. สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  3. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  4. ห้องสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  5. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  6. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  7. ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

MOU1

ข้อตกลงเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา Read the rest of this entry »

การสนทนาภาษาจีนเบื้องต้นในห้องสมุด
ก.ค. 14th, 2017 by buaatchara

ด้วยตำแหน่งคือ บรรณารักษ์ ทำหน้าที่ลงรายการทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีน จึงขอแนะนำประโยคภาษาจีนไปใช้สนทนาในเบื้องต้น โดยได้กำกับคำอ่านภาษาไทยไว้ให้อ่านเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ที่ทำงานด้านห้องสมุดนำไปประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ (บางคำจะเป็นคำที่ใช้ในศูนย์บรรณสารสนเทศ)

ภาษาจี คำอ่าน คำแปล
你好! หนี  ห่าว สวัสดีครับ/ค่ะ
老师好! เหล่า  ซือ  ห่าว สวัสดีครับ/ค่ะอาจารย์
学生好! เสวีย  เซิง  ห่าว สวัสดีครับ/ค่ะนักเรียน
谢谢! เซี่ย   เซี่ย ขอบคุณครับ/ค่ะ
再见! ไจ้   เจี้ยน ลาก่อน
早安! จ่าว   อัน สวัสดีตอนเช้า ครับ/ค่ะ
午安! อู่   อัน สวัสดีตอนบ่าย ครับ/ค่ะ
吃饭了吗? ชือฟ่าน เลอ มา กินข้าวหรือยัง ครับ/ค่ะ
你要去哪里? หนี่  เย้า  ชวี่  หนา  หลี่ คุณจะไปไหน
请你排队 ฉิ่ง  หนี่  ผาย  ตุ้ย กรุณาเข้าแถว ครับ/ค่ะ
乐意为您效劳 เล่อ อี้ เหว่ย หนิน เสี้ย เหลา ยินดีรับใช้คุณ ครับ/ค่ะ
有什么要帮忙吗? โหย่ว เสิน เมอ เย้า ปัง หมัง มา มีอะไรให้ช่วยไหม ครับ/ค่ะ
你有什么事吗? หนี่ โหย่ว เสิน เมอ ซื่อ มา คุณมีธุระอะไรไหม ครับ/ค่ะ
你要借书吗? หนี่ เย้า เจี้ย ซู มา คุณต้องการยืมหนังสือไหม
你要还书吗? หนี่ เย้า หวน ซู มา คุณต้องการคืนหนังสือไหม
你要续借吗? หนี่ เย้า ซวี่ เจี้ย มา คุณต้องการยืม (หนังสือต่อไหม
中文书在5 จง เหวิน ซู ไจ้ อู่ โหลว หนังสือจีนอยู่ชั้น 5
中文报纸在5 จง เหวิน เป้า จื่อ ไจ้ อู่ โหลว หนังสือพิมพ์จีนอยู่ ชั้น 5
5 中文图书馆 อู่ โหลว จง เหิวน ถู ซู กว่าน ชั้น5ห้องสมุดภาษาจีน
诗琳通公主御览室 ซือ หลิน ทง กง จู่ วี่ หลัน ซื่อ ห้องทรงพระอักษรสมเด็จพระเทพๆ
郑午楼博士文物纪念馆 เจิ้ง อู่ โหล่ว ป๋อ ซื่อ เหวิน อู่ จี้ เนี่ยน กว่าน หอเอกสาร ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์

คำศัพท์ที่ใช้บ่อยในห้องสมุด

ภาษาจี คำอ่าน คำแปล
图书馆 ถูซูกว่าน ห้องสมุด
ซู หนังสือ
馆员 กว่านเหยียน บรรณารักษ์
借书 เจี้ย ซู ยืมหนังสือ
还书 หวน ซู คืนหนังสือ
续借 ซวี่ เจี้ย ยืมหนังสือต่อ
报纸  เป้า จื่อ หนังสือพิมพ์
杂志 จ๋า จื้อ นิตยสาร
书展 ซูจ่าน นิทรรศการหนังสือ
书架 ซูเจี้ย ชั้นวางหนังสือ
大学生 ต้า เสวีย เซิง นักศึกษา
学生 เสวีย เซิง นักเรียน
参观者 ชัน กวน เจ่อ แขกเยี่ยมชม

 

เทคนิคการใช้ Adobe Photoshop เบื้องต้น
ก.ค. 13th, 2017 by Latthawat Rimpirangsri

ผมใช้ประโยชน์จากโปรแกรม Adobe Photoshop ในตอนเรียนเป็นอย่างมาก และยังมีโอกาสใช้ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ผมเห็นว่า เป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์มาก จึงขอแบ่งปันความรู้ การใช้โปรแกรมนี้ แต่คงเป็นเบื้องต้นก่อนนะครับ และอาจจะมีการแนะนำเทคนิคการใช้อื่นๆ อีกในตอนต่อไป ผมขอเริ่มจาก

1.การตั้งค่าพื้นฐาน

Untitled-2

หลังจากเปิด Adobe Photoshop ขึ้นมา คลิ๊กที่เมนู File > New (icon File จะอยู่มุมซ้ายบนสุด) โปรแกรมจะให้เรากำหนดค่าต่างๆ

Name            ตั้งชื่อภาพ ชื่อชิ้นงาน

Preset           เลือกการตั้งค่าที่มีอยู่แล้ว

Width            ความกว้างของภาพ

Height           ความสูงของภาพ

Resolution      ความละเอียด เลือกได้ ตั้งแต่ 72-300 DPI ยิ่งสูงขนาดไฟล์จะยิ่งมีขนาดใหญ่

Color mode    เลือกระหว่าง RGB เหมาะกับสื่อดิจิตอล เช่น แบนเนอร์ และ CMYK เหมาะกับสิ่งพิมพ์ เช่น โปสเตอร์)

เมื่อทำการตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว คลิ๊กปุ่ม OK เพื่อดำเนินการต่อไป Read the rest of this entry »

การรวบรวมข่าวกฤตภาค (Online News Clipping)
ก.ค. 11th, 2017 by sirinun

iQNewsClip คือบริการคลิปปิ้งข่าวออนไลน์ (กฤตภาคข่าว) ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย นำเสนอข่าวที่ตัดจากหนังสือพิมพ์กว่า 30 ฉบับ ในรูปแบบของคลิปข่าวที่เป็นภาพสีและขาวดำที่มีความคมชัดสูง จัดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่โดยมีฟังก์ชั่นในการสืบค้นข่าวแบบ Full-Text เพื่อความสะดวกในการใช้งาน สามารถเลือกดาวน์โหลดเป็นคลิปข่าวที่เป็นภาพสี หรือขาวดำ ตัวหนังสือสะอาดคมชัดอ่านง่าย และการสืบค้นเป็นแบบ Full-Text คือ สืบค้นได้ถึงเนื้อหาข่าว มิใช่เพียงแค่หัวข้อข่าว สิ่งที่กำหนดประเภทของ iQNewsClip คือ ระยะเวลาของข้อมูลย้อนหลัง ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบ คือ (1) ย้อนหลัง 30 วัน และ (2) ย้อนหลัง 30 วัน ณ วันที่เริ่มรับบริการโดยสะสมต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังรับบริการอยู่ หากผู้ใช้งานต้องการใช้ข้อมูลย้อนหลังเพื่อการสืบค้นมากกว่า 30 วัน ควรเลือกรับบริการแบบ (2)

ผู้เขียนซึ่งได้รับมอบหมายในการคัดเลือกข่าวตัดจากหนังสือพิมพ์ เสนอผู้บริหาร จึงขอแบ่งปันความรู้ในเรื่องการรวบรวมข่าวกฤตภาคจากการทำงานเป็นขั้นตอนที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับความรู้และนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้าง

 

e1

หน้าจอภาพ IQNewsClip

Read the rest of this entry »

ทำความรู้จัก “จุลสาร” กันเถอะ
ก.ค. 11th, 2017 by อุไรรัตน์ ผาสิน

                  

20170622_095407_resized

จุลสาร หรือ Pamphlet   

เป็นสิ่งพิมพ์อีกประเภทหนึ่ง ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รวบรวมและจัดหมวดหมู่ พร้อมทั้งลงรายการทางบรรณานุกรมเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาที่บรรจุในจุลสารเล่มนั้นๆ หรือเรื่องนั้นๆ ได้

คำว่า จุลสาร สื่อให้ทราบถึงสาระที่เป็นสื่อชิ้นเล็กๆ หรือเล่มเล็กๆ คำว่า จุลสาร บางหน่วยงาน จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่กิจกรรม ใช้ขึ้นต้น เช่น จุลสาร (ชื่อหน่วยงาน) ออกเป็นวาระ ลักษณะเหมือนวารสาร แต่ในบริบทของห้องสมุด จะเก็บสิ่งพิมพ์ประเภท จุลสาร ซึ่งมิได้หมายความถึง การออกเป็นวาระ เหมือนวารสาร แต่เนื่องจากจุลสารมีลักษณะที่เป็นเล่มเล็ก มีจำนวนหน้าไม่มากนัก หรืออาจจะเท่ากับหนังสือเล่มทั่วไป แต่เนื่องจากขนาดของหนังสือเล็กหรือมีความบางเกินไป เมื่อนำมาจัดวางไว้ที่ชั้นหนังสือรวมกับหนังสือที่มีขนาดทั่วๆ ไป จะทำให้ หนังสือเล่มเล็กเหล่านี้ หลุดหรือตกออกจากชั้นหนังสือ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถจัดเรียงได้ตามปรกติ

ดังนั้น ห้องสมุด มักจะจัดเก็บจุลสาร แยกออกมาจากชั้นหนังสือทั่วไป โดยแยกเก็บเป็นคอลเลคชั่นพิเศษ หรือจัดเก็บพิเศษ มีการกำหนดหมวด ซึ่งกำหนดโดยห้องสมุดเอง โดยส่วนมากจะเป็นคำว่า จุลสาร และตามด้วยหมายเลขของจุลสาร หรืออาจจะใช้คำย่อว่า จล เป็นต้น

ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะได้รับจุลสาร ในลักษณะที่เป็นการได้รับบริจาค หรือเป็นจะเป็นการแจกจ่าย หรือได้รับเป็นอภินันทนาการ มีการพิจารณาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือเนื้อหา หรือกลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ คัดแยกและจัดหมวด โดยกำหนดว่า จุลสาร และ ตามด้วยหมายเลข ซึ่งเป็นลำดับที่ของจุลสารที่เข้ามา ลงรายการทางบรรณานุกรมเหมือนกับสิ่งพิมพ์ทั่วๆ ไป และให้บริการที่ชั้น 6 Read the rest of this entry »

National Library of Medicine Classification การจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน
ก.ค. 11th, 2017 by kalyaraksa

National Library of Medicine Classification  หรือ NLM  คือ ระบบการจัดหมวดหมูแบบระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน จัดทำโดยหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่มีความสัมพันธ์กับการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน หรือ LC (Library of Congress Classification) ระบบหนึ่ง

ระบบ NLM เริ่มมีการจัดทำ เมื่อประมาณปี ค.ศ 1940 โดยหอสมุดการแพทย์ทหารบกของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Army Medical Library) โดยจัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1951 ใช้ชื่อหนังสือว่า Army Medical Library Classification จัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1958 ใช้ชื่อหนังสือว่า National Library of Medicine Classification จัดพิมพ์ครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ.1964 จัดพิมพ์ครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ.1978 จัดพิมพ์ครั้งที่ 5 ในปี ค.ศ. 1994 และ ฉบับพิมพ์ซ้ำ ครั้งที่ 5 ปี ค.ศ. 1999

ระบบ NLM ได้ใช้อักษร W เป็นสัญลักษณ์ของหมวดใหญ่ (Class) เป็นหมวดสำหรับแพทยศาสตร์ (Medicine) และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง  มีสัญลักษณ์แทนหมวดย่อย (Subclasses) ตั้งแต่ WA-WZ ส่วนหมวดย่อย QS-QZ เป็นหมวดสำหรับสาขาวิชาเตรียมแพทยศาสตร์ (Preclinical Sciences)

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการจัดหมวดหมู่ของทรัพยากรสารสนเทศ 2 ระบบ คือ การจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification)  สำหรับหนังสือทั่วไป  และจะใช้การจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine)  สำหรับหนังสือทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ    ผู้เขียนได้รวบรวมขอบเขตการจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine) เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการค้นหาหนังสือดังกล่าว ซึ่งจะจัดไว้ที่แผนกบริการสารสนเทศ ชั้น 4 หนังสือที่เป็นภาษาจีน และคณะการแพทย์แผนจีน จัดไว้ที่แผนกบริการสารสนเทศ ชั้น 5 Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa