SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
วันนี้ในอดีต “ ๒๔ มีนาคม : วันหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ”
มี.ค. 23rd, 2016 by matupode

03

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ถึงมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมี ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ถวายการต้อนรับ วันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พัฒนามาจากวิทยาลัยหัวเฉียวโดยทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้เปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕  และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ฯ พระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”

มหาวิทยาลัยฯ แห่งนี้ก่อตั้งสำเร็จเพราะความปรารถนาของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และแรงดลใจของ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ ประธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งในสมัยนั้น ร่วมกับชาวจีนโพ้นทะเลที่ต้องการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานและปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนาที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยร่วมกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินบริเวณถนนบางนา-ตราด กม.๑๘ จำนวน ๑๔๐ ไร่ เพื่อสร้างมหาวิทยาลัย เพราะเล็งเห็นว่าการสร้างสถาบันการศึกษาจะช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ออกไปพัฒนาประเทศและช่วยเหลือสังคมได้ ดังปณิธาณของมหาวิทยาลัย “เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม”

CAM01049-1

เอกสารประวัติศาสตร์ บันทึกจากสำนักราชเลขาธิการ เรื่อง ทรงรับเชิญ เสด็จฯ ไปทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

และเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้วยพระองค์เอง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัย คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาที่จะต้องสำนึกจารึกจดจำไว้ตลอดกาลนาน

ร่วมย้อนรำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไปกับการประมวลภาพวันสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในวันที่ “๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗” และความประทับใจของอดีตอธิการบดี แพทย์หญิงกรรณิการ์ ตันประเสริฐ ซึ่งมีโอกาสได้ร่วมรับเสด็จฯ กับบทความ “ชื่นชมพระบารมี” ไว้ว่า Read the rest of this entry »

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ : อิฐดินเผาสมัยพระเจ้าคังซี
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ : อิฐดินเผาสมัยพระเจ้าคังซี

บทคัดย่อ

บทความทางวิชาการเรื่อง “หลักฐานทางประวัติศาสตร์ : อิฐดินเผาสมัยพระเจ้าคังซี” มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเหตุการณ์ในอดีตจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์หรือโบราณวัตถุ คือ อิฐดินเผาที่ค้นพบ ณ วัดสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดตาก โดยสันนิษฐานว่า อิฐดินเผาสมัยพระเจ้าคังซี อาจเป็นหลักฐานโบราณวัตถุสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งวัตถุชิ้นนี้ได้มาจากสิ่งก่อสร้างภายในวัดที่อาจจะมีความเจริญรุ่งเรืองในอดีตมาก่อน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่อาจจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอิฐดินเผา คือ เหตุการณ์ในสมัยพระเจ้าอยู่ท้ายสระ ตามหลักฐานที่ปรากฏจารึกบนอิฐดินเผาว่า “รัชสมัยจักรพรรดิคังซี ปีที่ ๕๔” และ บทบาทของชาวจีนในเมืองตากสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งจารึกไว้ว่า “คนแซ่เจิงเป็นผู้สร้างถวาย” น่าจะมีการผสมผสานทางวัฒนธรรม ทำให้สามารถตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่ในเมืองตากได้อย่างราบรื่น

สำหรับแนวทางการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในแนวกว้าง เพื่อเป็นพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ให้ นักวิชาการหรือนักวิจัยที่สนใจนำไปศึกษาค้นคว้ารายละเอียดระดับลึกยิ่งขึ้น โดยพบว่า หลักฐานโบราณวัตถุอิฐดินเผาสมัยพระเจ้าคังซี และหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรที่ค้นพบ ยังไม่สามารถให้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ได้อย่างแท้จริง ในเรื่องความเป็นมาของวัดสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือแม้แต่ที่มาของอิฐดินเผาว่าเป็นชิ้นส่วนใดของสิ่งก่อสร้างภายในวัดร้างแห่งนี้ แต่หลักฐานที่พบทำให้เชื่อได้ว่า มีชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองตากตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และมีบทบาททางสังคมอย่างชัดเจนในฐานะผู้อุทิศกุศลในการสร้างหรือปฏิสังขรณ์ศาสนสถานแก่วัด ด้วยจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา

ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ประเด็นเส้นทางการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองตากของชาวจีนในเมืองตาก อาจจะเป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางเดินทัพของทหาร หรือเส้นทางที่พ่อค้าเกวียนเดินทางค้าขายระหว่างเมืองอยุธยากับเมืองตากที่เรียกว่า ตาก-ระแหงหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป

รายการอ้างอิง

 

พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และสุวนัน ขวัญทอง. (2546). หลักฐานทางประวัติศาสตร์ : อิฐดินเผาสมัยพระเจ้าคังซี. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 83-89.

เก้าอี้ กิ๊บเก๋ ในห้องสัมมนากลุ่ม ชั้น 4
มี.ค. 4th, 2016 by supaporn

ตอนนี้ผู้ใช้ห้องสมุด (ศูนย์บรรณสารสนเทศ) อาจจะกำลังเห็นการเปลี่ยนแปลงในห้องสัมมนากลุ่ม ชั้น 4 ศูนย์บรรณสารสนเทศ พี่ๆ กำลัง ซ่อมเก้าอี้ด้วยลวดลายของผ้าขาวม้า ออกมาได้กิ๊บเก๋ ทีเดียว ประหยัดงบประมาณ และเป็นการนำสิ่งของที่เหลือใช้มาใช้ประโยชน์ให้สมกับการเข้าสู่ Green Office หรือห้องสมุดสีเขียว

สภาพเก้าอี้ที่ต้องส่งซ่อม

สภาพเก้าอี้ที่ต้องส่งซ่อม

Read the rest of this entry »

หลวงปู่ไต้ฮงกง
ก.พ. 24th, 2016 by matupode

หลวงปู่6

ในวันศุกร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ ที่จะถึงนี้ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  (มฉก.) จะจัดพิธีรำลึกและบำเพ็ญกุศลแก่หลวงปู่ไต้ฮงกง พระภิกษุสงฆ์ที่มีจริยวัตรแห่งเมตตาธรรมช่วยเหลือทั้งผู้มีชีวิตที่ยากไร้และผู้ตายที่ไร้ญาติ คุณธรรมความดีของท่านควรค่าแก่การถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่พวกเราชาว มฉก.

ขอเชิญร่วมรำลึกถึงหลวงปู่ไต้ฮงกง และศึกษาชีวประวัติของท่านเพิ่มเติมได้ที่ หลวงปู่ของเรา

รายการอ้างอิง

กรรณิการ์ ตันประเสริฐ. (๒๕๔๓). ๙๐ปีมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

 

กระเทียมกับการต้านอนุมูลอิสระ
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

กระเทียมกับการต้านอนุมูลอิสระ

Garlic and Antioxidation

บทคัดย่อ:

อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะชราและโรคต่างๆ ทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือดความเสื่อมของเซลล์ประสาท การอักเสบ และโรคมะเร็ง S-allylcysteine (SAC) และ S-allylmercaptocysteine (SAMC) เป็นสารเคมีหลักที่พบในกระเทียม มีบทบาทในการต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันไม่ให้ผนังของหลอดเลือดชั้นในถูกทำลายซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ออกฤทธิ์โดยจับกับอนุมูลอิสระหรือเพิ่มการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์ ได้แก่ ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (superoxide dismutase) คะตะเลส (catalase) กลูตาไธโอนเปอร์ออกซิเดส (glutathione peroxidase) และกลูตาไธโอน (glutathione) นอกจากนี้อนุมูลอิสระรวมทั้งไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) และ TNF-α ยังมีผลกระตุ้น nuclear factor kappa B (NF-κB) ซึ่งเป็น transcription factor ทำให้มีการสร้าง adhesion molecules คือ VCAMP-1 และ ICAMP-1 เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการสะสมของสารต่างๆ ที่ผนังหลอดเลือด ในที่สุด จะเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งและ
การตายของเซลล์ SAC และ SAMC สามารถยับยั้งขบวนการดังกล่าวได้โดยไปลดการสร้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือลดการหลั่ง TNF-α และยังไปมีผลยับยั้ง activator protein-1(AP-1) และ c-Jun N-terminal kinases (JNKs) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีน จึงทำให้การสร้าง NF-κB ลดลง ดังนั้น กระเทียมจึงมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยป้องกันผลเสียจากอนุมูลอิสระและป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง

Free radicals are a major cause of aging and diseases, including cardiovascular,neurodegeneration and inflammatory diseases and cancer. S-allylcysteine (SAC) and S-allylmercaptocysteine (SAMC), the major compounds of garlic, are well known as playing an antioxidant action by scavenging reactive oxygen species (ROS), enhance activities of superoxide dismutase, catalase, glutathione peroxidase and glutathione in the cells. These mechanisms can prevent endothelial cells from injury by oxidized molecules which lead to atherosclerosis. Nuclear factor kappa B (NF-κB) is transcription factor activated by free radicals, hydrogen peroxide (H2O2) and TNF-α. Activation of NF-κB contributes to the expression of adhesion molecules such as VCAMP-1 and ICAMP-1. These events further accelerate the formation of atherogenic lesions and cell death. SAC and SAMC suppression of H2O2 production or decreased secreted TNF-α, and inhibit AP-1 and c-Jun N-terminal kinases (JNKs) that regulate protein synthesis, lead to reduce NF-κB. These data suggest that garlic and its main compounds, SAC and SAMC may be useful for the prevention of the effects of free radicals and atherosclerosis.

จันเพ็ญ บางสำรวจ. (2553). กระเทียมกับการต้านอนุมูลอิสระ. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 113-122.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทย
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทย

Asian Economic Community : Importance and Thai Preparations

บทคัดย่อ:

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็น 1 ใน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน และมีเป้าหมาย คือ 1) ตลาดและฐานการผลิตร่วม 2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน 3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนอาจส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบซึ่งจะได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมอย่างดีของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการในภาคเอกชนที่คงต้องเร่งปรับตัวเพื่อสร้างขีดความสามารถ เช่น การเร่งพัฒนาตราสินค้า การใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิต และการพัฒนาในด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ของไทย ส่วนภาครัฐก็ควรทำความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเตรียมมาตรการป้องกันเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Read the rest of this entry »

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน

Factors Related to the Non-Using Medical Services of Insured Persons

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน โดยศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้ลักษณะการเจ็บป่วยและการประเมินการเจ็บป่วยในการตัดสินใจใช้บริการทางการแพทย์ ปัจจัยด้านการรับรู้สิทธิประโยชน์การใช้บริการทางการแพทย์ และปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อสถานพยาบาลเครือข่าย นอกจากนี้ยังศึกษาคุณภาพบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนกับโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีณ ศรีราชา เป็นสถานพยาบาลคู่สัญญาหลักและมารับบริการทางการแพทย์กรณีผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีณ ศรีราชา ด้วยโรคที่สามารถรักษาได้ที่สถานพยาบาลเครือข่าย จำนวน 384 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 4 ชุด ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.78, 0.80, 0.76 และ 0.82 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30-44 ปี สถานภาพสมรส (คู่) พักอาศัยอยู่ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน5,001-10,000 บาท รับบริการที่โรงพยาบาลด้วยอาการแสดงและสิ่งผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิก ไม่ได้ไปรับบริการจากที่อื่นก่อนมารับบริการในครั้งนี้ และทราบว่า ถ้าเลือกโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีณ ศรีราชา เป็นสถานพยาบาลหลักแล้ว สามารถไปใช้บริการสถานพยาบาลเครือข่ายได้ผู้รับบริการทราบข้อมูลสถานพยาบาลเครือข่ายจากบริษัท/หน่วยงานที่ทำงานอยู่ ช่วงเวลาที่กลุ่มตัวอย่างสะดวกไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายมากที่สุด คือ ช่วงเวลา 17.00 – 22.00 น. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ที่พักอาศัยระดับการศึกษา รายได้ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่าย ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ลักษณะการเจ็บป่วยและการประเมินการเจ็บป่วย ปัจจัยด้านการรับรู้สิทธิประโยชน์การใช้บริการทางการแพทย์และปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อสถานพยาบาลเครือข่าย มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 คุณภาพการบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลเครือข่ายโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง
The objectives of this study were to study factors related to the non-using medical services at network hospitals of insured persons registered at Queen Savang Vadhana Memorial Hospital with the relationship of relevant factors. The studied factors included the personal factor, the perception of illness and the illness evaluation prior to the medical service acceptation, the perceiving of the right factor of assertion under the network hospitals, the factor of attitude towards the network hospitals and the medical service quality. A total of 384 insured persons with mild and moderate illnesses who have registered at Queen Savang Vadhana Memorial Hospital were studied from March to August 2007. Four questionnaires were used by the interviewers as the research tools with reliabilities of 0.78, 0.80, 0.76 and 0.82 respectively.

Results showed that the majority of participants were female with married status. Their ages range from 30 to 44 years. Their residences were mostly located in Sriracha District, Chonburi province. Most of them finished high school level, and the average income is 5,001-10,000 bath per month. The illnesses, symptoms and abnormalities of the samples were confirmed by clinical checking. No other medical checking was made before receiving this medical service. The samples have know that they could receive the medical services from any other network hospitals under the condition of selecting the Queen Savang Vadhana Memorial Hospital as the main contractor. They learned the information of network hospitals from their current working companies. The most convenient time for receiving the medical services was 5.00-10.00 p.m.The analysis of relationship between sex, age, marital status, residence, education background and income found no association with non-using medical services at network hospitals. However, the illness perception, the illness evaluation, the perceiving of the right factors of assertion under the network hospitals and the factors of attitude towards network hospitals were found significantly relating to non-using medical services at α = 0.05. The overall medical service quality of the network hospitals was found fair.

กันต์กนิษฐ์ ชูวงศ์อภิชาต และ เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 37-54.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเฟอรนิเจอรไมดวยวิธีการพยากรณความตองการ
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเฟอรนิเจอรไมดวยวิธีการพยากรณความตองการ

The Productivity Improvement of Wood Furniture with Demand Forecasting Methods

 

ณรงคเดช เดชทวิสุทธิ์. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเฟอรนิเจอรไมดวยวิธีการพยากรณความตองการ. วารสาร มฉก. วิชาการ 15 (30), 107-117.

อ่านบทความฉบับเต็ม

นักมวย : อาชีพเสี่ยงภัยที่ถูกมองขาม ดานความปลอดภัย
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

นักมวย : อาชีพเสี่ยงภัยที่ถูกมองขาม ดานความปลอดภัย

Boxer : The Overlooking Risky Career in Safety

 

พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย. (2554). นักมวย : อาชีพเสี่ยงภัยที่ถูกมองขาม ดานความปลอดภัย.  วารสาร มฉก. วิชาการ 15 (29), 83-96.

อ่านบทความฉบับเต็ม

มาตรการปองกันและปราบปรามการทุจริตในตางประเทศ
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

มาตรการปองกันและปราบปรามการทุจริตในตางประเทศ

Measures for the Prevention and Suppression of Corruption in Various Countries

 

กรกช วนกรกุล. (2556). มาตรการปองกันและปราบปรามการทุจริตในตางประเทศ. วารสาร มฉก. วิชาการ 16 (32), 119-127.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa