ปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ในปี พ.ศ. 2535 เป็นปีแรกมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติของการเปิดการสอนในระดับอุดมศึกษา จวบจนปัจจุบันมีการผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมเป็นจำนวนมาก แต่ก่อนหน้านั้น มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีพัฒนาการที่สามารถแบ่งออกเป็นช่วงสำคัญได้ 3 ยุค ได้แก่
- โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย โรงพยาบาลหัวเฉียว (พ.ศ. 2485-2534)
เป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลหัวเฉียว ผลิตนักเรียนผดุงครรภ์ทั้งสิ้น 34 รุ่น
- วิทยาลัยหัวเฉียว (พ.ศ. 2524-2534)
โรงเรียนผดุงครรภ์ ได้รับการยกวิทยฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยหัวเฉียว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2524 เปิดหลักสูตรการศึกษาการพยาบาล ในระดับปริญญาตรี นับได้ว่าคณะพยาบาลศาสตร์เป็นคณะวิชาคณะแรกของวิทยาลัย และเป็นคณะพยาบาลของวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในกรุงเทพฯ ต่อมาได้เพิ่มคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ในปีการศึกษา 2533
- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน)
ในปีการศึกษา 2535 เป็นปีแรกของการเปิดการสอนในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยได้เปิดสอน 5 คณะวิชา และในปัจจุบันได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี 13 คณะ และระดับบัณฑิตวิทยาลัยจำนวน 9 หลักสูตร 13 สาขาวิชา
โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย โรงพยาบาลหัวเฉียว (พ.ศ. 2485-2534)
ผลิตนักเรียนผดุงครรภ์ทั้งสิ้น 34 รุ่น ผู้สำเร็จการศึกษาผดุงครรภ์หัวเฉียวรุ่นแรก ได้แก่
- นาวสาวโง้วซกเกียง (นางสุขจิต กายนันท์)
- นางสาวแบบุ่งเตียง
- นางสาวกิมหลั่งเจ้
นักเรียนผดุงครรภ์รุ่นที่ 1 และ 2 รับประกาศนียบัตรพร้อมกัน และถ่ายภาพร่วมกัน เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488
หนังสือสำคัญโรงพยาบาลหัวเฉียว แห่งมูลนิธิฮั่วเคี้ยวป๊อเต๊กเซี่ยงตึ๊ง พ.ศ. 2487
วิทยาลัยหัวเฉียว (พ.ศ. 2524-2534)
สัญลักษณ์ของวิทยาลัยหัวเฉียว
สัญลักษณ์ของวิทยาลัยหัวเฉียว วงกลมใน มีอักษรจีน อ่านว่า “เสียง” หมายถึง เมตตาธรรม อันเป็นสัญลักษณ์ของมูลนิธิป่อเต๊กตึ๊ง วงกลมภายนอกด้านบนมีอักษรไทย อ่านว่า “วิทยาลัยหัวเฉียว” ด้านข้างมีอักษรจีน อ่านว่า “หัวเฉียวเซวียเวียน” และอักษรอังกฤษ อ่านว่า “หัวเฉียวค็อลเล็จ”
เพลงประจำวิทยาลัย
มาร์ชหัวเฉียว
วิทยาลัยหัวเฉียวนั้นงามสง่ายอดตึกระฟ้าแลเห็นเด่นไกล
ที่สร้างสรรค์สถาบันเลิศวิไลภาคภูมิใจพวกเราเฝ้าทำดี
วิทยาลัยหัวเฉียวสร้างคนมีค่าประสาทปัญญาพยาบาลนี้
เก่งการเรียนพากเพียรสามัคคีส่งศักดิ์ศรีสตรีเลื่องลือนาม
มั่นอยู่ในคุณธรรมนำจิตกุศลมุ่งช่วยชนทำตนสร้างความดีงาม
ผู้เจ็บป่วยช่วยทั่วเขตคามพยายามด้วยความเต็มใจ
เทิดทูนอาชีพเรานั้นพร้อมจะฝ่าฟันสร้างความยิ่งใหญ่
จะนำความรู้นี้ไป สร้างเกียรติเกริกไกรให้ความเมตตา
จะรักกันอย่างกลมเกลียวสร้างชื่อหัวเฉียวให้เลื่องลือชา
ขอปฏิญาณสัญญาสมดอกแก้วงามโสภาปรารถนาช่วยเหลือปวงชน
บัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ รุ่นที่ 1 2528
ภาพบรรยากาศของถ่ายรูปวันรับปริญญา
ภาพบรรยากาศ “วันปลื้ม”
โอวาท ฯพณฯ ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์
ในพิธีประสาทปริญญา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดทำหนังสืออนุสรณ์ของการรับปริญญาหรือบัณฑิตที่จบในแต่ละปีการศึกษา
หนังสืออนุสรณ์บัณฑิตรุ่นที่ 1-3
หนังสืออนุสรณ์บัณฑิตรุ่นที่ 4-6
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน)
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ตัวอักษร กลางรูปวงกลม นำมาจากสัญลักษณ์ของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง อ่านว่า “เสียง” หมายความว่า “คุณงามความดี บริสุทธิคุณ การกระทำความดี ” ส่วนวงกลมชั้นนอก มีอักษรไทย อังกฤษ บอกชื่อ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติส่วนภาษาจีน ใช้ภาษาแต้จิ๋ว อ่านว่า “หั่ว เคี้ยว ฉ่ง เสี่ย ไต่ฮัก” มีความหมายเดียวกับภาษาไทย
เพลงประจำมหาวิทยาลัย
แสงทองที่ทอสู่พื้นดิน
หลั่งรินความรักยิ่งใหญ่
ดังต้นโพธิญาณยั่งยืน
อยู่คู่ผืนแผ่นดินของไทย
เด่นไสวในความรู้ยิ่งปัญญา
เหลืองทองประกายดั่งแสงเทียน
ส่องเพียรเรียนรู้คุณค่า
สองมือประสานกันไว้
ลำบากเพียงไหนร่วมใจศึกษา
ปรารถนาชีวารับใช้มวลชน
พี่น้องผูกพันน้ำใจมั่นรักกลมเกลียว
เป็นน้ำหนึ่งเดียวแห่งหัวเฉียวสถาบัน
มหาวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติเกรียงไกร
เทิดพระนามล้ำสุดรำพัน
ผ่านฟ้าไทย ชโย
นักศึกษาและสถานที่สำคัญในมหาวิทยาลัย
หนังสืออนุสรณ์พิธีประสาทปริญญาบัตรรุ่นแรกวิทยาเขตบางพลี
หนังสืออนุสรณ์พิธีประสาทปริญญาบัตรรุ่นแรกวิทยาเขตบางพลี
มหาวิทยาลัย มีการจัดทำหนังสือทำเนียบบัณฑิตแต่ละรุ่น หรือรวมหลายปี รวมทั้งทำเนียบศิษย์เก่า
ทำเนียบศิษย์เก่า
ทำเนียบบัณฑิต ปีการศึกษา 2535-2546 และ ปีการศึกษา 2536-2546
ทำเนียบบัณฑิตปีการศึกษา 2546 และปีการศึกษา 2547
ทำเนียบบัณฑิตปีการศึกษา 2548 และปีการศึกษา 2549
ทำเนียบบัณฑิตปีการศึกษา 2550 และปีการศึกษา 2551
หนังสืออนุสรณ์พิธีประสาทปริญญาบัตร ปีการศึกษา 2555-2556
รูปชุดครุยรับปริญญา
ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตทุกท่าน
ท่ามกลางความชื่นชมยินดีของผู้ปกครอง ญาติสนิท มิตรสหาย
ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 จะมีพิธีประสาทปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2557 นับเป็นครั้งที่ 23
รายการอ้างอิง
กรรณิการ์ ตันประเสริฐ แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และ สวนีย์ วิเศษสินธุ์. (2543). รายงานการวิจัย เรื่อง 90 ปี มูลนิธิป่อเต๊กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า. สมุทรปราการ : สภามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.