SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
สถานีวิทยุซีอาร์ไอ (China Radio International)
ก.พ. 2nd, 2016 by supaporn

เป็นสถานีวิทยุของรัฐบาลจีน เพื่อแนะนำจีนกับประชาชนโลก เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจและกระชับมิตรภาพระหว่างประชาชนจีนกับประชาชนโลก ปัจจุบัน สถานีวิทยุซีอาร์ไอออกอากาศและเผยแพร่ด้วย 59 ภาษาสู่ทั่วโลก ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น มองโกล เกาหลี ฮินดี เนปาล อูรดู ทมิฬ สิงหล บังคลาเทศ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย ไทย ตุรกี พาซโต อาหรับ เปอร์เซีย เฮาซา สวาฮีลี รัสเซีย เช็ก เซอร์เบีย โรมาเนีย แอลเบเนีย บัลแกเรีย ฮังการี โปแลนด์ ยูเครน โครเอเทียเยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส เอสเปรันโต อิตาลี โปรตุเกส ฟินแลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก ไบโลรัสเซีย กรีซ ฮีบรู เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ ภาษาจีนกลาง และภาษาจีนท้องถิ่น 4 ภาษา ได้แก่ ภาษากวางตุ้ิง แคะ ฮกเกี้ยน และภาษาแต้จิ๋ว ตลอดจนภาษาชนกลุ่มน้อยของจีนอีกหลายภาษา เช่น ภาษาชนชาติอุยกูร์ คาซัก คีร์กิซ และภาษาทิเบต เป็นต้น นับว่าเป็นเว็บไซต์ที่ให้สาระความรู้เกี่ยวกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน การเรียนภาษาจีน เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม รวมทั้ง กีฬา  บันเทิง และดนตรี เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ http://thai.cri.cn/index.htm

สถานีวิทยุซีอาร์ไอ (China Radio International)

สถานีวิทยุซีอาร์ไอ (China Radio International)

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว เยี่ยมชมห้องสมุดภาษาจีน ศูนย์บรรณสารฯ
ก.พ. 2nd, 2016 by supaporn

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11.30 น. อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว จำนวน 5 คน เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดภาษาจีน ห้องสมุดการแพทย์แผนจีน ห้องทรงอักษร หอเอกสาร ดร. อุเทน  เตชะไพบูลย์ ในการนี้ บรรณารักษ์ภาษาจีนให้การต้อนรับร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว ระหว่างการเยี่ยมชมห้องทรงอักษร

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว ระหว่างการเยี่ยมชมห้องทรงอักษร

ให้ความสนใจกับโต๊ะทรงอักษร

ให้ความสนใจกับโต๊ะทรงอักษร

ระหว่างฟังการบรรยาย

ระหว่างฟังการบรรยาย

20160202-Visit4

ลงนามในสมุดเยี่ยม

New Developments and Innovations in Academic Libraries
ม.ค. 31st, 2016 by supaporn

สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) จัดการบรรยายเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการบริการในห้องสมุด โดย Mr. John Hickok บรรณารักษ์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตฟูลเลอร์ตัน (CAL State Fullerton)และประธานฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ สมาคมห้องสมดแห่งชาติอเมริกัน (ALA International Relations Round Table) ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม 2558 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้อง 1-801 ชั้น 8 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลยรังสิต

ในการบรรยายดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ

หัวข้อที่ 1 New Developments and Innovations in Academic Libraries วิทยากรนำเสนอนวัตกรรมและการพัฒนาการบริการในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ทั้งในงานด้านเทคนิคห้องสมุด (Technical services) และงานด้านบริการผู้ใช้ (User services)

หัวข้อที่ 2 Innovative Practices of Libraries in Southease Asia วิทยากรนำเสนอผลการสำรวจนวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่ดีต่างๆ ในห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา

อ่านรายละเอียดได้ที่ http://library.rsu.ac.th/pdf/hickock_presentation.pdf

พิธีประสาทปริญญา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ม.ค. 30th, 2016 by supaporn

ปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ในปี พ.ศ. 2535 เป็นปีแรกมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติของการเปิดการสอนในระดับอุดมศึกษา จวบจนปัจจุบันมีการผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมเป็นจำนวนมาก แต่ก่อนหน้านั้น มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีพัฒนาการที่สามารถแบ่งออกเป็นช่วงสำคัญได้ 3 ยุค ได้แก่

  • โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย โรงพยาบาลหัวเฉียว (พ.ศ. 2485-2534)
    เป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลหัวเฉียว ผลิตนักเรียนผดุงครรภ์ทั้งสิ้น 34 รุ่น
  • วิทยาลัยหัวเฉียว (พ.ศ. 2524-2534)
    โรงเรียนผดุงครรภ์ ได้รับการยกวิทยฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยหัวเฉียว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2524 เปิดหลักสูตรการศึกษาการพยาบาล ในระดับปริญญาตรี นับได้ว่าคณะพยาบาลศาสตร์เป็นคณะวิชาคณะแรกของวิทยาลัย และเป็นคณะพยาบาลของวิทยาลัยเอกชน แห่งแรกในกรุงเทพฯ ต่อมาได้เพิ่มคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ในปีการศึกษา 2533
  • มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน)
    ในปีการศึกษา 2535 เป็นปีแรกของการเปิดการสอนในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยได้เปิดสอน 5 คณะวิชา และในปัจจุบันได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี 13 คณะ และระดับบัณฑิตวิทยาลัยจำนวน 9 หลักสูตร 13 สาขาวิชา

Read the rest of this entry »

บัณฑิตรางวัลกาญจนาภิเษก ประจำปีการศึกษา 2557
ม.ค. 30th, 2016 by supaporn

รางวัลกาญจนาภิเษกเป็นรางวัลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดตั้งกองทุนเพื่อมอบเป็นรางวัลให้กับนักศึกษาที่ศึกษาครบทุกรายวิชาในระยะเวลา ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยไม่มีการลาพักการศึกษา มีผลการเรียนเป็นผู้ที่สอบได้แต้มเฉลี่ย สะสมตั้งแต่ 3.75 ขึ้นไป มีความประพฤติดีจนเป็นที่ประจักษ์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยด้วยความตั้งใจ จริงใจ และเสียสละอย่างแท้จริง Read the rest of this entry »

การอบรมการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect และ Search Talk
ม.ค. 29th, 2016 by supaporn

วันที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 9.00-11.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดการอบรมการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect ให้แก่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 149 คน ณ ห้อง 4-207 อาคารโภชนาการ

ก่อนนำเข้าการอบรมฐานข้อมูล ScienceDirect วิทยากรจากศูนย์บรรณสารฯ ได้อธิบายสารสนเทศต่างๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์ใหม่ของศูนย์บรรณสารฯ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th เพื่อเป็นการแนะนำแหล่งสารสนเทศต่างๆ เครื่องมือ และช่องทางการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย รวมทั้งฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับเป็นสมาชิก เช่น ScienceDirect ซึ่งได้อธิบายการใช้งานอย่างละเอียด และการนำภาพ สมการ จากฐานข้อมูลไปใช้ประกอบในการทำรายงานต่อไป รวมทั้งการอ้างอิงอย่างถูกต้อง เนื่องจากนักศึกษาพยาบาล เป็นผู้ใช้ ScienceDirect ในการเรียนอยู่เสมอ การเข้าใช้ฐานข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่คุ้นเคย ทีมงานวิทยากร จึงได้เตรียมการฝึกปฏิบัติการ “Search Talk” เพื่อให้นัักศึกษาพยาบาล ได้ฝึกฝนการคิดคำค้น กลวิธีในการสืบค้น จากโจทย์ที่เตรียมไว้ให้จำนวน 8 ข้อ และเพื่อจะได้นำคำค้น กลวิธีในการสืบค้น มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน อันจะเป็นประโยชน์ในการสืบค้น ประกอบการทำรายงาน การค้นคว้าต่อไป Read the rest of this entry »

รู้ทันสแปม
ม.ค. 29th, 2016 by supaporn

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าเรื่องสแปมเมลที่หลอกดูดเงินของเรา  ไม่ว่าจะใช้เงินล่อ ใช้ความสงสาร หรือ การข่อให้กลัว อาจารย์ให้วิธีลดสแปมให้น้อยลง และวิธีสนุกๆ ในการเล่นงานคนส่งสแปม เชิญอ่านได้ที่ http://www.dailynews.co.th/it/376076

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ
ม.ค. 27th, 2016 by supaporn

วันที่ 27 มกราคม 2559 เวลา เวลา 9.30-11.30 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมสิ่งเสริมการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาโลจิสติกส์ สาขาการบัญชี สาขาการจัดการ สาขาการตลาดและสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ รวม 90 คน และเวลา 13.30-15.30 น. ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจจีน สาขาการเงิน และสาขาการตลาด รวม 54 คน โดยแนะนำการสืบค้นผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับจากต่างประเทศ การใช้ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ การใช้ฐานข้อมูลวิชาการ รวมทั้งแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่ศูนย์บรรณสารฯ นำมาเผยแพร่ไว้ที่หน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารฯ ที่ https://lib-km.hcu.ac.th

บรรยากาศการอบรม

บรรยากาศการอบรม

บรรยากาศการอบรม

บรรยากาศการอบรม

ในการอบรมครั้งนี้ มีการเน้นในเรื่องการเขียนรายการอ้างอิงอย่างถูกต้อง เนื่องจากจะเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ และถือว่าไม่จริยธรรมในทางวิชาการ และในปัจจุบันสามารถใช้โปรแกรม Plagiarism Check‎er ในการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน การเขียนรายการอ้างอิง ให้มีการสอบถามอาจารย์ที่มอบหมายว่าจะให้ใช้หลักเกณฑ์หรือรูปแบบใด ซึ่งที่หน้าเว็บของศูนย์บรรณสารฯ ได้นำข้อมูล การอ้างอิงตามหลักการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระของมหาวิทยาลัย ข้อมูลการเขียนการอ้างอิงรูปแบบต่างๆ เช่น Citation Styles (http://www.plagiarism.org/citing-sources/citation-styles) A Research Guide for Students (http://www.aresearchguide.com/) และ การอ้างอิงและการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ตามแบบ APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 (แปลและเรียบเรียง โดย นันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์ สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

ศึกษาดูงานศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ และภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาตร์ จฬ.
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) มีภารกิจในด้านการบริหารจัดการ และดำเนินการงานหอจดหมายเหตุ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย อธิการบดีในสมัยนั้น เห็นความสำคัญของการมีหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัย จึงได้เริ่มโครงการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 และทำพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 และดำเนินการรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย จัดเก็บรักษา และให้บริการอย่างต่อเนื่อง และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หอจดหมายเหตุ มฉก. จึงมีแผนการในการจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล และเพื่อให้สามารถจัดเก็บและเข้าถึงได้มากขึ้นและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงได้เริ่มศึกษาแนวทางในการปฏิบัติงานและระบบต่างๆ เพื่อจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย และมีการดำเนินการที่เป็นมาตรฐานสากล โดยการศึกษาดูงานการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นยอมรับ และมีความเชี่ยวชาญ เพื่อจะได้รับความรู้ ประสบกรณ์ และบทเรียนในการปฏิบัติงานต่างๆ ได้แก่ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เพื่อขอศึกษาดูงานในเรื่องการใช้มาตรฐานการลงรายการเอกสารจดหมายเหตุ ISAD (G) รวมทั้งประสบการณ์การใช้โปรแกรม ICA-Atom ในการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ และ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอศึกษาดูงานการใช้โปรแกรม Omeka ในการจัดการฐานข้อมูลคลังภาพ อักษรศาสตรบรมราชกุมารี คลังดิจิทัล Read the rest of this entry »

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 9.30-11.30 น.  ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ จำนวน 28 คน และเวลา 13.30-15.30 น. นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชั้นปีที่3 จำนวน 52 คน และคณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี สาขาการจัดการ สาขาการตลาด จำนวน 87 คน ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร

วิทยากรบรรยาย การส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ

วิทยากรบรรยาย การส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ

กิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะแนะนำการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดผ่านระบบฐานข้อมูลห้องสมุด ตามสาขาวิชาของนักศึกษาแล้ว ยังได้มีการเน้นเรื่องการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect โดยแนะนำวิธีการสืบค้น การจำกัดการสืบค้น การดูผลการสืบค้น การดาวน์โหลดข้อมูล รวมทั้งการดึงข้อมูลในบทความมาใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น รูปภาพ สูตรสมการ เป็นต้น และการแนะนำการใช้เครื่องมือในการดึงข้อมูลทางรายการบรรณานุกรมของการอ้างอิงออกมาจากฐานข้อมูลด้วย ทั้งนี้ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ และฐานข้อมูลวิชาการเป็นอีก 2 ฐานข้อมูลที่นักศึกษาให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้มีการสาธิตการสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของ ThaiLIS และฐานข้อมูลงานวิจัย TNRR และได้มีการเน้นในการค้นหาวิทยานิพนธ์ของ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจากรายการวิทยานิพนธ์ทั้งหมดที่ศูนย์บรรณสารฯ ให้บริการที่หน้าเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารฯ ที่ https://lib-km.hcu.ac.th (1) โดยรวบรวมไว้ในรูปแบบของเอ็กเซล (2) และศูนย์บรรณสารฯ ได้อำนวยความสะดวกให้คลิกรายการวิทยานิพนธ์ที่้ต้องการและเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของ ThaiLIS ได้ทันที (3) ก็จะสามารถคลิกดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มมาดูได้ทันที

ขั้นตอนการค้นหาวิทยานิพนธ์ มฉก. อย่างง่ายๆ

ขั้นตอนการค้นหาวิทยานิพนธ์ มฉก. อย่างง่ายๆ

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa