จากการเข้าร่วมฟังบรรยายในงาน TK Forum 2016 ซึ่งในปีนี้จัดในหัวข้อเรื่อง นวัตกรรมห้องสมุดกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Library Innovation and Learning in the 21st Century) เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 ณ ห้องประชุม 3,4 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นั้นประกอบด้วยการบรรยาย 3 เรื่อง ได้แก่
สำหรับหัวข้อแรก Managing Innovative Personalities for Successful Library Innovation หรือ การบริหารบุคลิกภาพแห่งนวัตกรรมเพื่อการสร้างนวัตกรรมห้องสมุดที่ประสบความสำเร็จ นั้น วิทยากรได้เริ่มกล่าวถึงการบริหารนวัตกรรม ขึ้นอยู่กับผู้นำองค์กร เพราะต้องเป็นผู้กุมบังเหียนคนเก่ง คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คนที่ชอบอยู่เอกเทศ เป็นต้น เข้ามาร่วมสร้างผลงาน เพราะหากบริหารจัดการไม่ดี จะส่งผลในทางตรงข้ามคือ เกิดการหยุดคิด และเปลี่ยนเป็นทำลายล้างมากกว่าสร้างสรรค์ ดังนั้น ผู้นำที่แท้จริงควรมีคุณสมบัติ 10 ประการ ดังนี้ Read the rest of this entry »
วันที่ 4 เมษายน 2559 เวลา 13.30-16.30 น. บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) ได้เข้าศึกษาดูงานห้องสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหอจดหมายเหตุ (ธ.ก.ส.) เพื่อนำความรู้ และนวัตกรรม ไปประยุกต์ใช้ต่อไป
ศึกษาดูงานธนาคารเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
ภาพ Timeline ของธนาคารฯ
การแสดงหนังสือ
วันที่ 4 เมษายน 2559 บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) 2 กลุ่ม ได้แก่ คณะทำงานประกันคุณภาพ และ คณะทำงานการประหยัดพลังงาน ศูนย์บรรณสารสนเทศ มฉก. ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ และดูงานการบริหารจัดการ Eco-Library เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการจัดสำนักงานสีเขียวต่อไป
ศึกษาดูงานสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บุตลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
หลังจากการประกาศผลการประกวดอาคารประหยัดพลังงานดีเลิศ ของ กฟน.(MEA Energy Saving Building Award) เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 27 มกราคม 2559 รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) ได้ส่งสารถึงบุคลากร มฉก. ความว่า
หลายท่านคงจะได้ทราบกันแล้วว่า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติของเรา ได้รับรางวัลและตราสัญญลักษณ์ “อาคารประหยัดพลังงานดีเลิศ ของ กฟน. (MEA Energy Saving Building Award)” พร้อมกับได้รับเงินรางวัล จำนวน 2,000,000.00บาท(สองล้านบาท) จากการไฟฟ้านครหลวงในวันนี้ (27 มกราคม 2559) นับเป็นสิ่งที่น่ายินดีและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งของพวกเรา เนื่องจากรางวัลนี้เป็นรางวัลที่ไม่ใช่จะได้กันมาง่ายๆ ต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการชุดต่างๆ มาหลายขั้นตอนหลายรอบ จนกระทั่งผ่านเข้ารอบสุดท้ายที่เราต้องแข่งขันเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยต่างๆอีกถึง 8 มหาวิทยาลัย และ มฉก.เราก็ได้รับรางวัลนี้ในที่สุด
Read the rest of this entry »
วันที่ 29 มีนาคม 2559 เวลา 13.30-16.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรม Knowledge Sharing เรื่อง จาก Cataloging librarians สู่ Metadata Librarians โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อให้บุคลากรแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ทราบถึงบทบาทที่แตกต่างของการเป็น Cataloging Librarians และ Metadata Librarians ซึ่งมีการพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยี ผนวกเข้ากับความรู้ทางด้านการลงรายการ รวมทั้งทักษะอื่นๆ อีกหลายประการ Read the rest of this entry »
ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยศูนย์บรรณสารสนเทศ เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว และผ่านการประเมินในรอบแรก แล้ว จึงเข้ารับการอบรมเพื่อรับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโครงการสำนักงานสีเขียว และการอบรมเป็นผู้ประเมินหน่วยงานที่เข้าโครงการ ในช่วงวันที่ 21, 28-29 มีนาคม เวลา 09.00-16.00 น. ณ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
สามารถติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ Green Office ของศูนย์บรรณสารสนเทศได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/about-us/134-green-office
วิจิตรแพรวา : มรดกภูมิปัญญาสู่ราชินีแห่งไหม (Artistic Prae-wa : Wisdom Inheritance into Queen of Silk)
วิจิตรแพรวา : มรดกภูมิปัญญาสู่ราชินีแห่งไหม (Artistic Prae-wa : Wisdom Inheritance into Queen of Silk) จัดทำโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558 เนื่องด้วยผ้าทอมือโบราณของอีสาน มีความหลากหลายตามกรรมวิธีการถักทอและลักษณะใช้สอย จึงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคนรุ่นปัจจุบันในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจให้แจ่มชัดถึงสรรพตำรา-สรรพวิชาอันเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ในการถักทอผ้าไทยที่ครอบคลุมไว้อย่างทั่วถึงและสมบูรณ์แบบที่สุด จึงเป็นปฐมบทที่จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย
ความรักใดจะไม่ปวดร้าว
พระราชนิพนธ์แปล ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากนวนิยายของ ชวนหนี ซึ่งสะท้อนให้เห็นปัญหาสังคมสมัยใหม่ อันส่งผลต่อนิยามของความรักในมิติต่างๆ โดยเฉพาะจากมุมมองของผู้หญิง ผู้เป็นทั้งแม่และภรรยา
ตัวเอกของเรื่องเป็นหญิงสาวสมัยใหม่ผู้มีศรัทธาต่อความรักและตัดสินใจแต่งงานด้วยความรักแม้จะไม่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ เธอเสียสละเพื่อสามี ยอมส่งเสียสามีจนเรียนจบปริญญาโท และเธอตัดสินใจทำแท้ง เมื่อคิดว่าตนเองไม่พร้อมเป็นแม่ แต่สุดท้ายเธอยอมมีลูก เพราะเห็นแก่สามี ผู้แสดงท่าทีรักเด็กหนักหนา
การมีลูกทำให้เธอไม่าสามารถทำงานได้ ต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูกและเป็นทุกข์ เพราะรู้สึกว่าตัวตนของเธอสลายไป แม้แต่ชื่อของเธอ ก็ไม่มีใครใช้เรียกอีกต่อไป ค่านิยมสมัยใหม่ที่ส่งเสริมให้ผู้หญิงพึ่งพาตนเอง เป็นอิสระ เท่าเทียมกับชาย กลับทำให้เธอเป็นทุกข์แสนสาหัส จนคิดหนีลูกและสามี แต่ในที่สุดเธอก็ต้องกลับมาบ้าน เพราะเพื่อนรักผู้ที่เธอหวังว่าจะเป็นที่พึ่งสุดท้ายของเธอกำลังป่วยหนัก ต้องให้แม่ผู้ชราดูแล และไม่อาจช่วยเธอได้
นวนิยายรักเรื่องนี้ เริ่มด้วยการตั้งคำถามกับค่านิยมเก่าที่บูชาเทิดทูนความรัก ทั้งความรักของพ่อแม่ ความรักของหนุ่มสาว ความรักของเพื่อน และจบลงอย่างชาญฉลาด ด้วยความตระหนักรู้ของตัวละครเอกว่า ไม่มีความรักใดจะไม่ปวดร้าว แต่ผู้จะเปลี่ยนความปวดร้าวนี้เป็นปิติสุขได้นั้นก็คือ ผู้มีความรักนั้นเอง (พระราชนิพนธ์คำนำ)
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) ให้การต้อนรับ คณะกรรมการในการประเมินกิจกรรม การประกวด Thailand Energy Awards 2016 จากกระทรวงพลังงาน
จากการที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับรางวัลชนะเลิศอาคารประหยัดพลังงานจากการไฟฟ้านครหลวง (MEA Energy Awards) แล้ว มฉก. ได้มุ่งมั่นและเพื่อความยั่งยืนในการประหยัดพลังงานโดยการเข้าประกวด Thailand Energy Awards 2016 และ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ได้รับการต้อนรับคณะกรรมการจากกระทรวงพลังงานในการตรวจประเมิน โดยที่อาคารบรรณสาร ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของอาคารที่อยู่ในโครงการอาคารประหยัดพลังงาน ได้ให้การต้อนรับคณะกรรมการฯ ที่มาตรวจที่อาคารบรรณสาร ด้วย
คณะกรรมการฯ รับฟังข้อมูลในภาพรวม
คณะกรรมการฯ ตรวจที่อาคารบรรณสาร
วันที่ 23 มีนาคม 2559 ได้จัดกิจกรรม Knowledge Sharing เรื่อง การสแกนเอกสาร เบื้องต้นให้กับบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับงานสแกนเอกสารที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ ได้แก่ บุคลากรในสำนักงานเลขานุการ งานบริการสารสนเทศ งานจดหมายเหตุ งานสแกนหนังสือพิมพ์จีน รวมทั้ง นักศึกษาที่ทำหน้าที่ช่วยงานเอกสารส่วนบุคคล ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ที่ต้องนำมาสแกนเพื่อการสงวนรักษาเอกสารต้นฉบับ และเพื่อสามารถให้เข้าถึงข้อมูลที่สามารถเผยแพร่อย่างมีมาตรฐานได้ทางอินเทอร์เน็ตต่อไป
เริ่มต้นจากการให้ความรู้เรื่องการสแกน โดยเน้นไฟล์ที่ได้จากการสแกนที่เป็นเอกสาร PDF และใช้แนวทางการบริหารจัดการเอกสาร PDF ของฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นแนวอธิบายและยึดถือปฏิบัติในการปฏิบัติงาน
การสแกนเอกสารใดๆ มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
ไฟล์ PDF ที่ได้ให้พิจารณาถึงการนำไปใช้งาน เช่น กรณีที่ต้องเก็บเป็นการถาวร ควรเป็นไฟล์ที่มีคุณภาพสูง และถ้าต้องมีการนำไฟล์นั้นเผยแพร่หรือให้บริการทางอินเทอร์เน็ต ควรเป็นไฟล์ที่มีคุณภาพที่ลดลงมา เพื่อให้สามารถดาวน์โหลดหรือนำไปใช้ได้โดยง่าย
นอกจากนี้ ยังได้มีการเน้นในเรื่องของการใส่เงื่อนไขของการใช้งานเอกสาร PDF เช่น การกำหนดสิทธิ์ในการใช้ รวมทั้งการฝังฟอนต์ในเอกสาร PDF ด้วย Acrobat Professional และการทำเป็น PDF/A อีกด้วย
โดยความรู้ต่างๆ นั้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก การบริหารจัดการเอกสาร PDF http://stks.or.th/th/knowledge-bank/28/3023.html