กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน แต่ต้องพิจารณาก่อนว่าจะเก็บอะไรให้เป็นดิจิทัล จัดเก็บอย่างไร เข้าถึงและเผยแพร่ได้ทางไหน อย่างไร
3 ขั้นตอน ได้แก่ การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digitization) การบริหารจัดการข้อมูล (Information Management) และ การจัดแสดงการเผยแพร่การให้บริการ (Information Access)
กระบวนการสงวนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/files/2016/seminar-2016Sep15-16/20160916-DigitalPreservation-Rachabadin.pdf
รายการอ้างอิง
ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ. (2559). การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล : ตัวช่วยในการอนุรักษ์. เอกสารประกอบการบรรยายการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน วันที่ 16 กันยายน 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
นักวิจัยหลายๆ ท่านอาจจะเคยได้รับจดหมายเชิญขวนให้ส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ เราจะมีหลักการพิจารณาได้อย่างไร ว่าวารสารเหล่านั้นไม่ใช่วารสารประเภท predatory journal
1. ตรวจสอบวารสารที่จะตีพิมพ์ผลงานวิจัย อยู่ใน Master Journal List ของบริษัท Thomson Reuters หรือไม่ ได้ที่ http://ip-science.thomsonreuters.com/mjl/ โดยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฉพาะวารสารที่มีอยู่ใน Science Citations Index และ Science Citations Index Expanded เท่านั้นที่จะมีค่า impact factor และวารสารในสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ จะต้องอยู่ใน Social Science Citation Index และ Arts and Humanities Citation Index เท่านั้น โดยสามารถดาวน์โหลดรายชื่อวารสารทั้งหมดในฐาน Science Citations Index, Science Citations Index Expanded และ Arts and Humanities Citation Index ได้จากเมนูขวามือ
การตรวจสอบรายชื่อวารสาร
2. ตรวจสอบค่าดัชนีอ้างอิงวารสาร impact factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports หรือ InCites Journal Citation Reports
วสุ ปฐมอารีย์. (2559). การคัดเลือกวารสารสำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย. Re-Form. vol.4 (ก.ค.-ส.ค.)
เทวะวงศ์ฯ สาร ฉบับปี 2015 ภายใต้ชื่อ ความท้าทายไร้พรมแดน รวบรวมองค์ความรู้ด้านการทูต การต่างประเทศ และการบริหารการต่างประเทศ ตลอดจนประเด็นท้าทายใหม่ๆ ในโลกศตวรรษที่ 21 จากการบรรยายของหลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 5 (ปี 2556)
เทวะวงศ์ฯ สาร
เนื้อหาน่าสนใจมากมาย ค่ะ
กระทรวงการต่างประเทศ. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ. (2016). เทวะวงศ์ฯ สาร 2015 (Devawongse Sarn). กรุงเทพฯ : สถาบัน.
งานวิจัยอาเซียนของศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำรายงานการวิจัยเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 3 เรื่อง ได้แก่
ตัวเล่มเข้ามาที่ ศูนย์บรรณสารฯ แล้วค่ะ หรือถ้าต้องการอ่านฉบับออนไลน์ ติดตามอ่านได้ที่ www.castu.org ค่ะ
ระยะนี้ได้ยินคำว่า Thailand 4.0 กันหนาหู หลายคนอาจจะสงสัยว่า คืออะไร แล้ว 1-3 คืออะไรบ้าง เรามีภาพอธิบายง่ายๆ มาให้ค่ะ
Thailand 4.0
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2559). EGA พร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 Thailand Economic MODEL. กรุงเทพฯ : สำนักงาน. สืบค้นจาก https://www.ega.or.th/th/content/920/11549/
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. ได้สำรวจความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ โดยมอบหมายให้บริษัท ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ทำการสำรวจ ซึ่งจะดำเนินการสำรวจตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2559 อ่านรายละเอียดผลสำรวจได้ที่ https://www.ega.or.th/th/profile/1997/ หรือบทสรุป (สไลด์) ได้ที่ https://www.ega.or.th//upload/download/file_11e52b5903303d3f9cf4756e89332d2e.pdf
รายการอ้างอิง สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2559). การสำรวจความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลสำหรับหน่วยงานภาครัฐระดับกรม ประจำปี 2559 (Thailand Digital Government Readiness Survey for Central Government Agencies). กรุงเทพฯ : สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). สืบค้นจาก https://www.ega.or.th/th/profile/1997/
อ. ธงชัย โรจน์กังสดาล ไปฟัง TEDx ChulalongkornU เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2559 และได้ถ่ายทอดความประทับใจ ออกมา 3 เรื่อง ลงในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (วันที่ 9 กันยายน 2559) อ่านแล้วชอบ มาสรุปอีกต่อหนึ่งนะคะ อ่านรายละเอียดได้จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ค่ะ หรือติดตามวิดีโอคลิปการบรรยายของงาน TEDx ChulalongkornU ซึ่งจะนำขึ้นเว็บไซต์ www.tedxchulalongkornu.com หรือยูทูบเร็วๆ นี้
เรื่องแรกการออกจาก Comfort Zone ของข้าราชการเกษียณอายุที่เดินทางท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ แบบแบ๊กแพ็ก ซึ่งหลายคนก็จะมีความกลัวสารพัด การสื่อสาร ความไม่ปลอดภัย แต่จริงๆ แล้วเรากลัวไปก่อนล่วงหน้า อย่ามัวกลัว อย่ามัวรอเพื่อน จะไม่ได้ไปไหนซักที่ หรือสักที ค้นหาข้อมูล เตรียมตัวให้พร้อม และเดินทางท่องเที่ยวได้เลย
เรื่องของน้องกัน ผู้พูดอายุน้อยที่สุดในงาน น้องกัน สังเกตเรื่องขยะล้นเมือง เกิดแรงบันดาลใจอยากสร้างถังขยะเพื่อแก้ปัญหา น้องกันเริ่มจากการสังเกตปัญหา สร้างต้นแบบ รับฟังความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงต้นแบบ ส่งเข้าประกวด ปรับปรุงผลงานจนได้รางวัลระดับโลกด้านสิ่งประดิษฐ์ เป็นการพัฒนานวัตกรรมนั่นเอง น้องกัน เป็นนักเรียนประถมสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น ป.6 ค่ะ
เรื่องสุดท้าย ผู้พูดกล่าวว่า เพราะอารมณ์มักมาก่อนเหตุผลในการตัดสินใจ ดังนั้น เราควรใช้เทคนิคนี้ในการสร้างความประทับใจของการบริการต่างๆ เช่น นอกเหนือจาก welcome drink แล้ว โรงแรมควรให้เครื่องดื่มแก่ลูกค้าก่อนเช็กเอาต์ออกจากโรงแรมระหว่างคอยแม่บ้านตรวจห้องพัก เพื่อให้ลูกค้าจดจำประสบการณ์ดีๆ
น่าคิดต่อนะคะ ถ้าจะมีเครื่องดื่มแบบนี้บ้าง แต่เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เราจะเรียกว่า Thank you drink ดีมั้ยคะ
ธงชัย โรจน์กังสดาล. (2016). ไอเดียที่ควรเผยแพร่จาก TEDxChula 2016. เดลินิวส์ 9 (กย. 2559)
บุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย รองอธิการบดี อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ และ นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เข้าร่วมสัมมนา ในหัวข้อเรื่อง From Green University to Sustainable Campus : Knowledge Sharing on Data Preparation for UI GreenMetric เมื่อวันที่ 29 เดือน สิงหาคม พ.ศ 2559 จัดโดยสถาบันคลังสมองของชาติ เพื่อให้มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม UI GreenMetric ได้มาแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ เพื่อตอบโจทย์การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและ Sustainable campus โดยอิงเกณฑ์ของ UI GreenMetric World University Ranking
ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate change) สภาวะโลกร้อน และสภาพเรือนกระจก เป็นพันธกิจที่สำคัญพันธกิจหนึ่งที่มหาวิทยาลัยจะต้องให้ความสำคัญ และจากประเด็นนี้เอง จึงมีกลไกหนึ้งที่หนุนเสริมให้มหาวิทยาลัยรักษาสภาพแวดล้อมและสร้างมหาวิทยาลัยสีเขียวให้เป็นที่รู้จักและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในมหาวิทยาลัยทั่วโลก กลไกดังกล่าว คือ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว UI GreenMetric World University Ranking ซึ่งดำเนินการโดย University of Indonesia (UI) Read the rest of this entry »
ป้ายยินดีต้อนรับด้วยกระดานและชอร์ค
วันที่ 30 สิงหาคม 2559 อาคารบรรณสาร โดยชาวบรรณสารสนเทศ ได้ให้การต้อนรับ คณะผู้ตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) (รอบดีเยี่ยม) และนำเสนอกิจกรรมของอาคารบรรณสารในแต่ละเกณฑ์ โดยมีผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รศ.ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี อ.ฉลอง แขวงอินทร์ รองอธิการบดี ร่วมให้การต้อนรับ รับฟังการนำเสนอ และรับฟังผลการตรวจและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ จากนั้น ได้นำคณะกรรมการฯ ชมมหาวิทยาลัยโดยรอบ และรับประทานอาหารร่วมกัน “พวกเรา บรรณสาร ร่วมมือ ร่วมใจ ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” และพวกเราจะดำเนินการต่อไป เพื่อความยั่งยืน Read the rest of this entry »
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ โดย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารฯ นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ได้เป็นวิทยากรในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถาบันพัฒนาวิชาการ (สพว.) ซึ่งผู้อำนวยการ โดย ผศ. ดร. วุฒิพงษ์ ทองก้อน มีความสนใจในการนำโปรแกรม Dokuwiki ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ใช้อยู่ มาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของ สพว. ต่อไป
ถ่ายภาพร่วมกันหลังบรรยายเสร็จ
เนื่องจาก วิกิ เป็นเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นในช่วง Web 2.0 จึงได้มีการบรรยายนำในเรื่องของประวัติและพัฒนาการของ Web ในแต่ละยุค จาก Web 1.0-Web 4.0 จากนั้นจึงได้นำเข้าสู่โปรแกรม Dokuwiki และการใช้งานของศูนย์บรรณสารสนเทศ เช่น การใช้ในการประชุม การใช้ในการจัดเก็บเอกสารภายในของศูนย์ฯ ผลจากการใช้ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีกระบวนการจัดเก็บไฟล์เอกสารที่มีระบบมากขึ้น ค้นหาไฟล์เอกสารต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สามารถใช้เป็นแหล่งจัดเก็บเอกสารในระบบประกันคุณภาพ แหล่งจัดเก็บเอกสารเพื่อใช้ในการประเมินต่างๆ และทำให้ลดการใช้กระดาษลงได้อีก
เอกสารประกอบการบรรยาย