SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ซีรีย์จดหมายเหตุ : “เอกสารจดหมายเหตุศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย”
ก.ค. 8th, 2021 by matupode

พิธีเปิดหอจดหมายเหตุ

 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ได้ประกอบพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉิลมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 3  หลังจากที่ท่านได้เริ่มโครงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งเป็นปีแรกของการดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ให้ความสำคัญกับงานจดหมายเหตุเป็นอย่างมากทั้งในตอนดำรงตำแหน่งและสิ้นสุดวาระตำแหน่งอธิการบดี  ท่านได้มอบเอกสารหลักฐานการบริหารงานในช่วงระยะเวลา 4 ปี ประกอบด้วย เอกสารการประชุม นโยบายและแผน รายงาน โครงการอันเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานของทุกส่วนงานในมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งสิ่งพิมพ์ทุกชนิดที่มหาวิทยาลัยจัดทำหรือได้รับเพื่อการพัฒนาทางวิชาการหรือเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ  และอีกส่วนหนึ่งเป็นแฟ้มประวัติและผลงานส่วนตัวสมัยดำรงตำแหน่งรองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย และปลัดทบวงมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2535-2539 ให้กับหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ Read the rest of this entry »

วันวานแห่งความภาคภูมิใจ
ก.พ. 14th, 2018 by namfon

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2559 เป็นครั้งที่ 25 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  การเข้ารับปริญญาบัตรในปีนี้ กำหนดวันรายงานตัว การฝึกซ้อม และการเข้ารับปริญญาบัตร มีดังนี้ วันซ้อมย่อย วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 วันซ้อมใหญ่ วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2561 และวันพิธีประสาทปริญญาบัตร วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 มหาวิทยาลัยฯ และคณะต่างๆ ได้จัดซุ้มแสดงความยินดีให้กับมหาบัณฑิตและบัณฑิตอย่างสวยงาม ท่ามกลางผู้ปกครอง พ่อ แม่ ญาติ พี่ น้อง และเพื่อนๆ ของบัณฑิต ต่างมาร่วมแสดงความยินดีกันมากมาย นำความปลาบปลื้มใจด้วยสีหน้าอันเปื้อนไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะอย่างมีความสุข ในสถานที่อันทรงเกียรติแห่งนี้

ซุ้มดอกไม้หน้าประตูเสด็จ (ประตูกลาง)

ซุ้มดอกไม้ประดับป้ายมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

27540126_1969304673087430_6178958915807635808_n

ซุ้มดอกไม้บริเวณสวนภายในมหาวิทยาลัย

Read the rest of this entry »

ระบบจัดเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.ค. 31st, 2017 by matupode

“เอกสาร” จัดว่าเป็นหลักฐานการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานหรือองค์กร เอกสารที่อยู่ระหว่างปฏิบัติงานจะมีคุณค่าบริหารงานในช่วงเวลานั้นๆ  แต่เมื่อสิ้นสุดการใช้งานที่เรียกว่า “เอกสารสิ้นกระแสการใช้” จะมีทั้งเอกสารที่ต้องทำลาย  และเอกสารสำคัญที่มีคุณค่าในด้านบริหารงาน คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ คุณค่าด้านการศึกษาวิจัยต้องเก็บรักษาไว้ เราเรียกเอกสารนั้นว่า “เอกสารจดหมายเหตุ”

เมื่อปี พ.ศ.2540 ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เข้ารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ท่านได้เสนอขอจัดตั้งหอจดหมายเหตุต่อสภามหาวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมเอกสารที่สิ้นกระแสการใช้งานของหน่วยงานและเป็นเอกสารที่ได้รับการประเมินแล้วว่ามีคุณค่ามาจัดเก็บในหอจดหมายเหตุ และเล็งเห็นว่า การที่จะทำให้หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ เข้มแข็ง จะต้องมีเอกสารที่มีคุณค่าส่งมาเก็บได้อย่างต่อเนื่อง ท่านจึงได้วางระบบจัดเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ ขึ้น โดยการแต่งตั้งคณะทำงานชุดต่างๆ จัดระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตั้งแต่การจัดระบบหมวดหมู่การจัดเก็บเอกสาร การกำหนดอายุเอกสาร การทำลายเอกสาร และการส่งมอบเอกสารให้กับหอจดหมายเหตุ ผ่านคณะทำงาน 3 ชุด คือ

  1. คณะกรรมการจัดระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ
  2. คณะกรรมการประเมินคุณค่าและกำหนดอายุการเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ
  3. คณะกรรมการทำลายเอกสาร

Read the rest of this entry »

ระบบสุขภาพองค์รวม
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

ระบบสุขภาพองค์รวม

การจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ในประเทศไทยได้เริ่มมานาน ระยะแรกมีการสอนทั้งการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนตะวันตก ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนจนกระทั่งมูลนิธิร็อกกี้ เฟอร์เรย์เข้ามาสนับสนุนส่งเสริมคนไทยเรียนวิชาแพทยศาสตร์ในประเทศแถบตะวันตก โดยเห็นว่าควรส่งเสริมเน้นการแพทย์แผนตะวันตกให้กับนักศึกษาไทย จึงทำให้มีการสอนการแพทย์แผนไทยได้เพียงประมาณ 12 ปีเท่านั้น
ระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการแพทย์อยู่หลายแผนหลายรูปแบบ ทั้งการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน การแพทย์แผนตะวันตก การแพทย์แผนทิเบต ต่อมาได้มีการศึกษาวิจัยค้นคว้าจากการผสมผสานการแพทย์หลายแผนทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้น

เกษม วัฒนชัย. (2547). ระบบสุขภาพองค์รวม. วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 5-13.

อ่านบทความฉบับเต็ม

อุดมศึกษาไทยในอนาคต
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

อุดมศึกษาไทยในอนาคต

บทคัดย่อ:

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย บรรยายเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2551 ณ ห้องบรรยายพิเศษ 1 (2-315) อาคารเรียน ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยบรรยาย 3 เรื่อง

เรื่องที่ 1 การก่อตั้งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งนี้ เพื่อบอกเล่าแก่สมาชิกใหม่ของมหาวิทยาลัย
เรื่องที่ 2 สถานการณ์ในโลกที่มีปัจจัยต่างๆ มากระทบอุดมศึกษาไทย และกระทบต่อมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติอย่างไร
เรื่องที่ 3 อุดมศึกษาไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลงและเราจะต้องเอาปัจจัยเหล่านั้นมากำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์หลักของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อกำหนดปัจจุบันและอนาคตของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติอย่างไร

เกษม วัฒนชัย. (2551). อุดมศึกษาไทยในอนาคต. วารสาร มฉก.วิชาการ 12 (23), 1-10.

อ่านบทความฉบับเต็ม

วารสาร มฉก. วิชาการ
ก.พ. 18th, 2016 by อุไรรัตน์ ผาสิน

WARASANMOCHOKOWICHAKARN1997-07-001_00-001

วารสาร มฉก.วิชาการ กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับเดือนมกราคม – มิถุนายน และเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม โดยเริ่มเผยแพร่มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537  มีที่ปรึกษา คือ

  • ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม  วัฒนชัย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์  เพียรกิจกรรม

และมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสาวลักษณ์  ลักษมีจรัลกุล  เป็นหัวหน้าบรรณาธิการ ในช่วงเวลานั้น

วารสาร มฉก. วิชาการ  จัดทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการพัฒนาทางด้านการทำวิจัยและเขียนตำราของคณาจารย์ที่มีผลงานและผู้ที่ตื่นตัวทางด้านวิชาการ ได้ให้ความสนใจส่งผลงานเพื่อนำมาเผยแพร่ ทางด้านสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาวิชาอื่นๆ  รวมทั้งเพื่อเป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการให้กับสังคมและจูงใจให้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนแนวความคิด ความรู้ และความก้าวหน้าใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลงานด้านวิชาการ และการวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ

Read the rest of this entry »

ชีวิตพอเพียง หมอเกษม วัฒนชัย
ม.ค. 5th, 2016 by supaporn

ชีวิตพอเพียง หมอเกษม วัฒนชัย

ชีวิตพอเพียง หมอเกษม วัฒนชัย

เป็นหนังสือที่อ่านแล้ว ต้องบอกต่อๆ ว่า เป็นหนังสือที่ควรอ่าน เป็นหนังสือชีวประวัติของ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นพ. เกษม วัฒนชัย องคมนตรี หรืออาจจะคุ้นเคยเรียกนามท่านว่า อาจารย์หมอเกษม หนังสือประเภทชีวประวัติ มักจะเป็นหนังสือที่จะให้มุมมอง แง่คิดของบุคคล ๆ นั้น ของอาจารย์หมอเกษม มีเรื่องราวที่ชวนให้ติดตามอ่านตั้งแต่หน้าปกใน เลยทีเดียว ที่ได้นำแนวคิด 3 ประการของอาจารย์หมอเกษม มาไว้

” 1. หาความสุขใกล้ตัว จากความอบอุ่นของครอบครัวและญาติมิตร จากความเอื้ออาทรของเพื่อนบ้านและชุมชน จากความงามที่ยั่งยืนของธรรมชาติ

2. ลดความอยากในวัตถุลงให้เหลือเท่าที่จำเป็น เพื่อจิตใจจะได้เป็นอิสระอย่างแท้จริง

3. ลดอัตตาลงให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อที่จะได้เรียนรู้จากผู้อื่นให้ได้มากที่สุด” Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa