SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเข้าร่วมจัดนิทรรศการเสมือนจริง หอจดหมายเหตุ : พลังแห่งความรู้
ก.พ. 4th, 2021 by namfon

ผู้เขียนได้มีโอกาสเรียบเรียงเนื้อหาแนะนำหอจดหมายเหตุหน่วยงาน และเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ ประเภทภาพถ่าย ชื่อชุดพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ นับเป็นครั้งแรกที่หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมในครั้งนี้  เนื่องจากเป็นสมาชิกเครือข่ายสมาคมจดหมายเหตุไทย  โดยการเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการเสมือนจริง เรื่อง หอจดหมายเหตุ : พลังแห่งความรู้ (Archives: Empowering Knowledge Societies) เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันจดหมายเหตุแห่งชาติสากล ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน  และวันแห่งการสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี

สื่อประชาสัมพันธ์ Cr. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ในปี พ.ศ. 2563 หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้มีโอกาสเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการดังกล่าว ประกอบด้วยกัน 2 ส่วน ดังนี้  ส่วนแรก  รู้จักภาคีเครือข่ายจดหมายเหตุ  เป็นการแนะนำหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้กล่าวถึงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุและพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ โดยอธิการบดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยมีเนื้อหาพอสังเขป “…หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  เป็นหน่วยงานสนับสนุนหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นในวาระครบรอบ 80 ปี ของ “มูลนิธิฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง” ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจีนที่ใหญ่ที่สุดในสังคมไทย  เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติ  น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และมีความหมายต่อชาวจีนที่เข้ามาอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารเป็นอย่างยิ่ง ด้วยประวัติการก่อตั้ง… วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งหอจดหมายเหตุ และข้อมูลการติดต่อ…” Read the rest of this entry »

การปรับเปลี่ยนสิ่งพิมพ์ มฉก. เป็น HCU Archives
ม.ค. 21st, 2020 by suwanna

สิ่งพิมพ์ มฉก. คือสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยหน่วยงานของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เช่น รายงานเอกสารการอบรม เอกสารประกอบการประชุม หลักสูตร หรือรายงานกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

เนื่องจากสิ่งพิมพ์ มฉก. ในศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้บริการอยู่ที่ชั้นทั่วไปมีจำนวนมาก มากทั้งในจำนวนชื่อเรื่อง และจำนวนฉบับ และในปัจจุบัน มีเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ ทำให้ต้องพิจารณาทบทวนการจัดเก็บสิ่งพิมพ์ มฉก.   อีกครั้ง โดยรวบรวมตั้งแต่ปีพิมพ์เริ่มต้น – ปัจจุบัน จัดเก็บเพียงจำนวน 1 ฉบับ ไว้ในหอจดหมายเหตุ เพื่อให้เป็นหลักฐานว่ามหาวิทยาลัยเคยมีการผลิตสิ่งพิมพ์ชื่อใดบ้าง ส่วนบางรายชื่อที่มีจำนวนมากเกินไป มีการพิจารณาจำหน่ายออกบ้าง ที่มีการให้บริการที่ชั้นทั่วไปพิจารณาจำนวนฉบับตามความเหมาะสมกับการใช้  ดังนั้น สิ่งพิมพ์ มฉก. ที่มีการจัดเก็บไว้หอจดหมายเหตุ จึงต้องมีการกำหนด Collection ไว้ในระบบ เพื่อให้ทราบว่า สามารถขอใช้บริการได้ที่หอจดหมายเหตุ ซึ่งหอจดหมายเหตุ  มีระบบการจัดเก็บในลักษณะของจดหมายเหตุ และให้บริการเป็นชั้นปิด

ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบปรับเปลี่ยน Collection สิ่งพิมพ์ มฉก. ที่จัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ โดยมีหลักการปฎิบัติ คือ

1. สืบค้นรายการสิ่งพิมพ์ที่ต้องการจะปรับเปลี่ยนในฐานข้อมูลระบบ WorldShare Management  Services (WMS) (ดังรูป)

 

2. ในส่วนของ LBD (ส่วนที่ 2) จะต้องแก้ไข จากเดิมที่มีการวิเคราะห์หมวดหมู่ใน 590 จะต้องปรับเปลี่ยนมาใช้ Tag. 592  โดยกำหนดคำว่า   Arc.  ซึ่งย่อมาจากคำว่า Archive หมายถึง จดหมายเหตุ เพื่อต้องการแจ้งให้ทราบว่า อยู่ที่หอจดหมายเหตุ (ดังรูป) Read the rest of this entry »

บันทึกความทรงจำกับการทำ Oral history : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า
มิ.ย. 30th, 2019 by matupode

 


Oral history  ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า เป็นงานอย่างหนึ่งของนักจดหมายเหตุ ถามว่าทำไมต้องเป็นอย่างนั้น เพราะโดยปกตินักจดหมายเหตุจะให้ความสำคัญกับเอกสารลายลักษณ์ หรือเอกสารต้นฉบับเป็นอันดับแรก นั่นเพราะบางครั้งองค์ ความรู้ ประสบการณ์ที่คนๆ หนึ่งมี ความเชี่ยวชาญก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นักจดหมายเหตุจึงต้องหาวิธีการต่อยอดองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ให้สูญหาย ประกอบกับเอกสารต้นฉบับบางครั้งเนื้อหาของเอกสารก็ไม่ได้สมบูรณ์เสมอไป การได้มาซึ่งความครบถ้วนของข้อมูลจึงเป็นงานส่วนหนึ่งของนักจดหมายเหตุ

Oral history หรือ “ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า” หมายถึง การบันทึก อนุรักษ์ และตีความหมายของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัวและความเห็นของผู้เล่าเหตุการณ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ เป็นการสร้างข้อมูลที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่ใช่หลักฐานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นการสัมภาษณ์เรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ผ่านประสบการณ์นั้นโดยตรง หรือเป็นเรื่องราวชีวิตของผู้ถูกสัมภาษณ์เอง การหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากการสัมภาษณ์เป็นหลักฐานประเภทหนึ่ง นอกเหนือจากหลักฐานโบราณคดีตัวเขียน หลักฐานประเภทสิ่งของ และภาพบันทึกต่างๆ Read the rest of this entry »

หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ต.ค. 26th, 2016 by supaporn

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ต่อมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นอย่างยิ่ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดทำหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยถึง 6 เล่ม ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ประกอบด้วย

1. ที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537
2. Huachiew Chalermprakiet University Commemorative Edition on the occasion of the University’s Inauguration graciously presided over by Their Majesties the King and Queen of Thailand on March 24, 1994
3. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (ฉบับภาษาจีน)
4. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วันทำพิธีเปิด (มีคำบรรยายเป็นภาษาไทยและภาษาจีน)
5. สูจิบัตรพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
6. พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากหนังสือเหล่านี้ได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ และหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทั้งข้อมูลและภาพพระองค์ท่านที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัย

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa