SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
มายาคติว่าด้วยสารกำจัดศัตรูพืชที่อ้างว่าปลอดภัย (The myths of safe pesticides)
พ.ค. 4th, 2016 by sirinun

มายาคติว่าด้วยสารกำจัดศัตรูพืชที่อ้างว่าปลอดภัย

มายาคติว่าด้วยสารกำจัดศัตรูพืชที่อ้างว่าปลอดภัย

อาหารปนเปื้อนสารเคมีกำลังเป็นภัยคุกคามและนำมาสู่ความเสี่ยงต่อสุขภาพของคนในสังคมมาขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้การเกษตรของประเทศไทยเป็นแบบเกษตรเคมีแทบทั้งสิ้น มีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่ยังคงวิถีเกษตรพื้นบ้านหรือเกษตรชีวภาพ ทำให้อาหารจึงมีการปนเปื้อนสารเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีผลกระทบต่อร่างกายผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ดังนั้นนักการเกษตรอินทรีย์ อองเดร ลิว ได้สำรวจข้อมูลในวารสารวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความเชื่อถือในวงการ และนำเสนอให้เห็นว่า อุตสาหกรมการเกษตรสมัยใหม่ที่ผลิตอาหารออกมาวางขายตามท้องตลาดมีสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างเป็นจำนวนมาก หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค เพื่อความปลอดภัยในการเลือกซื้ออาหารเกษตรต่อไป หมวดหมู่ SB951 ล461ม 2558

รายการอ้างอิง

ลิว, อองเดร. (2558). มายาคติว่าด้วยสารกำจัดศัตรูพืชที่อ้างว่าปลอดภัย (The myths of safe pesticides).  (เพ็ญนภา หงส์ทอง, ผู้แปล). ชนิดา แบบฟอร์ด, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : สวนเงินมีมา.

สาเหตุการเกิดกลิ่นของหนังสือเก่าและหนังสือใหม่
มี.ค. 22nd, 2016 by navapat

What Causes the Smell of New & Old Books?

What Causes the Smell of New & Old Books?

เมื่อวัันก่อนอ่าน FB ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แนะนำบทความเรื่อง What Causes the Smell of New & Old Books?  แล้วรู้สึกว่าน่าสนใจเลยขอเก็บความมาเล่าดังนี้

เคยรู้สึกหรือไม่ เวลาที่เข้าไปหอสมุดที่ค่อนข้างเก่าแก่โบราณ  หรือเข้าไปตามร้านขายหนังสือมือสอง มักจะได้กลิ่นของหนังสือเก่า ที่มีกลิ่นสาบๆ เหมือนเต็มไปด้วยสารพิษ  หรือในเวลาที่ซื้อหนังสือเล่มใหม่มาอ่าน  ขณะที่พลิกหน้ากระดาษแต่ละหน้า  มักจะมีกลิ่นฉุนๆ ของสารเคมีอะไรสักอย่างโชยขึ้นมา เตะจมูก ซึ่งไม่แน่ใจว่ากลิ่นนั้นโชยมาจากเนื้อกระดาษ หรือกลิ่นน้ำหมึกที่ใช้พิมพ์กันแน่    แล้วกลิ่นเหล่านี้ ใช้เวลานานแค่ไหน กว่ามันจะจาง หรือหมดไป  ช่างเป็นคำถามที่ตอบยากทีเดียว  ทำไมนะหรือ?

ประเด็นที่หนึ่ง  ดูเหมือนว่าจะขาดแคลนผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ ที่มุ่งค้นคว้าถึงสาเหตุนี้โดยตรง

ประเด็นที่สอง น้ำยาเคมีที่ถูกผสมลงไปในเนื้อกระดาษที่แต่ละโรงงานหรือแต่ละโรงพิมพ์ ล้วนแต่ใช้แตกต่างชนิดกัน  ซึ่งหากต้องการหาสารประกอบทางเคมีจากหนังสือ คงต้องทำการทดลองหาสารประกอบเหล่านั้น ชนิดเล่มต่อเล่มทีเดียว Read the rest of this entry »

การจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

การจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ

Hazardous Waste in Laboratory Management

บทคัดย่อ:

ของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการตรวจวิเคราะห์และการทดลองต่างๆ ในห้องปฏิบัติการมีทั้งของเสียที่เป็นอันตรายและของเสียที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งภายในห้องปฏิบัติการของประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังไม่มีระบบการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นนี้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งของเสียอันตราย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม บทความนี้ จึงนำเสนอถึงแนวทางในการจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ โดยเริ่มจากการพิจารณาประเภทของของเสียอันตรายจากคุณสมบัติ เช่น ความไวไฟ ความเป็นพิษ การกัดกรอน และการเกิดปฏิกิริยา แล้วจึงทำการแยกประเภทของเสียอันตรายก่อนทิ้ง โดยอาจแบ่งตามความเข้ากันได้ การเกิดปฏิกิริยา และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ของเสียแต่ละประเภท อาทิ ของเสียประเภทกรด ของเสียที่เป็นน้ำมันและของเสียประเภทตัวทำละลายอินทรีย์ เป็นต้น นอกจากนี้ได้นำเสนอแนวทางในการจัดการของเสียเบื้องต้นที่สามารถนำไปใช้ได้ในทางปฏิบัติ เช่น การเลือกภาชนะบรรจุของเสีย การติดฉลากระบุรายละเอียดของเสียบทภาชนะ และให้อบรมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa