SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
อ่านวารสาร ผ่าน QR Code
ม.ค. 28th, 2021 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ในยุคดิจิทัล ทำให้หลายๆ วงการปรับการผลิต การให้บริการ คอนเทนต์ ห้องสมุดก็ได้รับผลของยุคดิจิทัล อย่างจัง เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศจากฉบับพิมพ์เป็นดิจิทัล สื่อสิ่งพิมพ์ถูกเปลี่ยนเป็นสื่อดิจิทัล การให้บริการจึงเน้นในการเข้าสารสนเทศดิจิทัลแทน

วารสารที่ให้บริการเช่นเดียวกัน วารสารจำนวนมาก ยกเลิกการผลิตฉบับพิมพ์ เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน ห้องสมุดเลิกการบอกรับฉบับพิมพ์ หันไปบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเหตุที่ว่าเข้าถึงได้สะดวกไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ไม่จำเป็นต้องเข้ามาในห้องสมุด โดยเฉพาะช่วงที่ห้องสมุดต้องปิดให้บริการชั่วคราว จากโรคระบาด หรืออาจจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่ผู้ใช้ก็ยังคงสามารถอ่านวารสารอิเล็กทรอนิกส์ได้  รวมทั้งวารสารทางวิชาการที่เป็น Open access  ห้องสมุดได้ปรับแนวทางการให้บริการในเข้าถึง  โดยการทำ QR Code เป็นช่องทางในการเข้าถึงวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน  ภาพที่เคยเห็นวารสารบนชั้นวารสารในห้องสมุด จึงจะไม่ค่อยจะได้พบเห็น

งานวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ได้จัดทำช่องทางเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงวารสาร ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. ได้จัดทำช่องทางในการเข้าถึงวารสารให้สะดวกมากขึ้น แทนฉบับพิมพ์ที่เคยให้บริการที่ชั้นวารสาร จากรูปจะเห็นการจัดวาง QR Code รายชื่อวารสารแต่ละชื่อแทนตัวเล่ม (รูปที่ 1) โดยจะแบ่งเป็นหมวดตามสาขาวิชา/คณะ

 

รูปที่ 1 ช้้นวารสารที่แทบจะไม่มีวารสารฉบับพิมพ์ แต่มีชื่อวารสารพร้อม QR Code แทน

ตัวอย่าง วารสารด้านการพยาบาล

Home Healthcare Nurse

 

 

 

 

 

                              Journal of Emergency Nursing

                                 Journal of Family Nursing

Read the rest of this entry »

การจัดซื้อวารสารไม่ยากอย่างที่คิดสำหรับมือใหม่
พ.ค. 25th, 2018 by อุไรรัตน์ ผาสิน

เคยตั้งคำถาม? หรือไม่ว่าทำไมห้องสมุดถึงยังต้องมีการจัดหาตัวเล่มของวารสารมาไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ทั้งๆ ที่ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวารสาร หรือหนังสือพิมพ์ ส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนให้ทันยุคทันสมัย ทั้งในรูปแบบของวารสารที่เป็นอิเลคทรอนิคส์  มี QR Code อยู่ตามหน้าปกตัวเล่ม เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการค้นคว้า ในยุคของโลกโซเชี่ยล หรือแม้แต่การอ่านข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ ก็จะมี application ของหนังสือพิมพ์ต่างๆ ให้ download เพื่อติดตามข่าวสารทางหน้าจอโทรศัพท์ รวมทั้งสะดวกรวดเร็วในการค้นคว้าหาข้อมูล

แต่กระนั้นแม้จะมีความสะดวก ทันสมัยมากเท่าไร ความต้องการแบบเดิมๆ ก็ยังมีผลต่อการค้นคว้า การอ่านบทความ รวมทั้งภาพถ่ายที่หลากหลาย และการอ่านจากตัวเล่มก็ยังได้อรรถรส มากกว่าการอ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอโทรศัพท์ที่ตัวหนังสือมีขนาดเล็ก ทำให้ต้องใช้สายตาในการอ่านมากกว่าปกติ

166754

ดังนั้น ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงยังมีพิจารณาการบอกรับวารสารที่เป็นตัวเล่มอยู่ โดยจะมีการพิจารณาการบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ก่อน หรือจัดทำ QR code เพื่อให้ผู้ใช้บริการสแกนในการเข้าถึงวารสารฉบับอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการเข้าถึงได้มากกว่าตัวเล่ม สะดวกในการใช้ตามอุปกรณ์ที่เกิดขึ้น และลดงบประมาณในการรวมวารสารเพื่อการเย็บเล่ม  โดยมีกระบวนการสั่งซื้อวารสาร ดังนี้ Read the rest of this entry »

การเปลี่ยนแปลงของงานวารสาร จากตัวเล่มสู่ QR Code
ก.พ. 2nd, 2018 by อุไรรัตน์ ผาสิน

เมื่อมีการนำระบบ WorldShare Management Services (WMS)  เข้ามาใช้กับงานห้องสมุดของศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำให้งานวารสารมีแนวคิดริเริ่มพัฒนารูปแบบของการทำงานและการให้บริการวารสารเพื่อการค้นคว้า สอดคล้อง และก้าวตามทันยุคสมัยของการใช้อุปกรณ์การสื่อสารในยุคปัจจุบัน และเป็นการเข้าถึงสื่อความรู้ เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็ว ให้กับผู้ใช้บริการวารสารของศูนย์บรรณสารสนเทศ

งานวารสารเริ่มปรับปรุงการให้บริการ หรือ Work process เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงตัวเล่มได้ง่ายขึ้น โดยเริ่มจาก

  1. เปลี่ยนการจัดเรียงการให้วารสารตามสาขาของวารสาร แทนการจัดเรียงตามลำดับอักษร เนื่องจาก ผู้ใช้ในสาขาวิชานั้น จะสามารถเข้าถึงวารสารได้โดยตรง เช่น วารสารทางด้านพยาบาล (เนื่องจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความโดดเด่นในการเรียนการสอนทางด้านพยาบาล) วารสารทางด้านวิทยาศาสตร์และสุขภาพ (รวมเทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เภสัชศาสตร์ การแพทย์แผนจีนเป็นต้น) วารสารทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ศิลปศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรมจีน บริหารธุรกิจ เป็นต้น)
  2. กำหนดคำค้น เพิ่มในรายการเมทาดาทาของวารสาร เป็นวารสารตามสาขาที่กล่าวมาแล้วในข้อ 1 เพื่อให้สามารถสืบค้นและสามารถส่งรายชื่อวารสารเพื่อรับรองหลักสูตรได้อย่างรวดเร็ว
  3. ตรวจสอบรายชื่อวารสารที่มีการผลิตเป็นฉบับอิเล็กทรอนิกส์และทำ QR Code เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถสแกน QR Code และอ่านเนื้อหาของวารสารได้ทันที เป็นการลดการบอกรับวารสารที่เป็นตัวเล่ม โดยการให้บริการฉบับอิเล็กทรอนิกส์แทน ซึ่งทำ QR Code ไว้หน้าปกวารสาร (บางฉบับที่ได้รับฟรี หรือยังมีความจำเป็นต้องบอกรับเป็นตัวเล่ม) กรณีที่ไม่ตัวเล่มแล้ว จะสแกน QR Code พร้อมชื่อวารสาร จัดวางไว้ให้บริการที่ชั้นวางวารสาร ดังรูป

    วารสารที่ทำ QR Code เพื่อให้สแกนและเข้าให้เข้าถึงเนื้อหาได้ทันที

    วารสารที่ทำ QR Code เพื่อให้สแกนและเข้าให้เข้าถึงเนื้อหาได้ทันที

 

จะเลือกวารสารตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยอย่างไร
ก.ย. 17th, 2016 by supaporn

นักวิจัยหลายๆ ท่านอาจจะเคยได้รับจดหมายเชิญขวนให้ส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ เราจะมีหลักการพิจารณาได้อย่างไร ว่าวารสารเหล่านั้นไม่ใช่วารสารประเภท predatory journal

1. ตรวจสอบวารสารที่จะตีพิมพ์ผลงานวิจัย อยู่ใน Master Journal List ของบริษัท Thomson Reuters หรือไม่ ได้ที่ http://ip-science.thomsonreuters.com/mjl/ โดยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฉพาะวารสารที่มีอยู่ใน Science Citations Index และ Science Citations Index Expanded เท่านั้นที่จะมีค่า impact factor และวารสารในสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ จะต้องอยู่ใน Social Science Citation Index และ Arts and Humanities Citation Index เท่านั้น โดยสามารถดาวน์โหลดรายชื่อวารสารทั้งหมดในฐาน Science Citations Index, Science Citations Index Expanded และ Arts and Humanities Citation Index ได้จากเมนูขวามือ

การตรวจสอบรายชื่อวารสาร

การตรวจสอบรายชื่อวารสาร

2. ตรวจสอบค่าดัชนีอ้างอิงวารสาร impact factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports หรือ InCites Journal Citation Reports

รายการอ้างอิง

วสุ ปฐมอารีย์. (2559). การคัดเลือกวารสารสำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย. Re-Form. vol.4 (ก.ค.-ส.ค.)

วารสาร (Periodicals) นิตยสาร (Magazines) ออกเป็นวาระเหมือนกัน แต่ไฉนเรียกชื่อต่างกัน
ก.พ. 25th, 2016 by pakawat

ท่านที่เป็นผู้อ่านทั่ว ๆไปอาจจะเคยนึกสงสัยว่า วารสาร นิตยสาร   แตกต่างกันอย่างไร เดี๋ยวชื่อนั้นขึ้นต้นด้วยวารสาร อีกชื่อขึ้นต้นด้วยนิตยสาร จริงแล้วทั้งวารสารและนิตยสารต่างก็จัดเป็นประเภทสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials) เหมือนกัน ผมจะขออธิบายดังนี้ครับ                     

สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials) เป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนึ่ง เป็น สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกสม่ำเสมอ เช่น รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน รายสองเดือน ฯลฯ แต่ละฉบับมีหมายเลขแสดงความต่อเนื่อง เช่น ปีที่ (volume) ฉบับที่ (number) วัน เดือน ปีพ.ศ. (ค.ศ.) ไว้ด้วย เนื้อหาในสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องประกอบด้วยบทความต่างๆ ที่ให้ความรู้ ข่าวสาร ข้อมูล ในสาขาใดสาขาหนึ่งซึ่งผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์มาแล้ว ทำให้ผู้อ่านสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา ได้เป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งพิมพ์ดังกล่าวนี้ เรียกชื่อว่า วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa