SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
นี่คือ ม.หัวเฉียว : เรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนโดยผ่านการแสดงอุปรากรจีน “งิ้ว”
ก.พ. 10th, 2020 by supaporn

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ  อิ่มสำราญ (2563)  รองคณบดีคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน   ได้กล่าวถึง การนำอุปรากร “งิ้ว” มาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชาจีนศึกษา และรายวิชาวัฒนธรรมจีน ดังนี้

คณะภาษาและวัฒนธรรมจีน เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษา สืบทอด และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภาษาและวัฒนรรมจีนให้กับนักศึกษา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมจีน ซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวฉลิมพระเกียรติ

ดังนั้นทางคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน จึงได้นำความรู้เกี่ยวกับการแสดง งิ้ว หรือ อุปรากรจีน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชาจีนศึกษา และรายวิชาวัฒนธรรมจีน  ซึ่งงิ้ว หรือ อุปรากรจีน (จีน: 戏曲 ; พินอิน: xìqǔ ; อังกฤษ: Chinese opera) เป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วย

การนำความรู้เกี่ยวกับการแสดง งิ้ว หรือ อุปรากรจีน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชาจีนศึกษา และรายวิชาวัฒนธรรมจีนนั้น จะช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงความเป็นมาและความสำคัญของวัฒนธรรมจีน โดยผ่านการแต่งกาย การแต่งหน้าของตัวละคร คำร้องและเนื้อหาของการแสดงงิ้ว ได้อย่างง่าย และลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

ในรายวิชานักศึกษาจะได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของงิ้ว และได้มีโอกาสชมการแสดงงิ้ว ได้พูดคุยกับนักแสดงจากคณะงิ้วที่มีชื่อเสียง ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงศิลปและวัฒนธรรมของการแสดงงิ้วอย่างถูกต้อง และเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของนักศึกษาคณะภาษาและวัฒนะรรมจีนของทางมหาวิทยาหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้านจีนอีกด้วย

ชมคลิป ได้ที่ https://www.facebook.com/tanes.imsamran/videos/10156594345646946/

รายการอ้างอิง

ธเนศ  อิ่มสำราญ. (2563, 6 กุมภาพันธ์).  เรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนโดยผ่านการแสดงอุปรากรจีน“งิ้ว” โดยคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. [บทสัมภาษณ์]

การสนทนาภาษาจีนเบื้องต้นในห้องสมุด
ก.ค. 14th, 2017 by buaatchara

ด้วยตำแหน่งคือ บรรณารักษ์ ทำหน้าที่ลงรายการทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีน จึงขอแนะนำประโยคภาษาจีนไปใช้สนทนาในเบื้องต้น โดยได้กำกับคำอ่านภาษาไทยไว้ให้อ่านเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ที่ทำงานด้านห้องสมุดนำไปประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ (บางคำจะเป็นคำที่ใช้ในศูนย์บรรณสารสนเทศ)

ภาษาจี คำอ่าน คำแปล
你好! หนี  ห่าว สวัสดีครับ/ค่ะ
老师好! เหล่า  ซือ  ห่าว สวัสดีครับ/ค่ะอาจารย์
学生好! เสวีย  เซิง  ห่าว สวัสดีครับ/ค่ะนักเรียน
谢谢! เซี่ย   เซี่ย ขอบคุณครับ/ค่ะ
再见! ไจ้   เจี้ยน ลาก่อน
早安! จ่าว   อัน สวัสดีตอนเช้า ครับ/ค่ะ
午安! อู่   อัน สวัสดีตอนบ่าย ครับ/ค่ะ
吃饭了吗? ชือฟ่าน เลอ มา กินข้าวหรือยัง ครับ/ค่ะ
你要去哪里? หนี่  เย้า  ชวี่  หนา  หลี่ คุณจะไปไหน
请你排队 ฉิ่ง  หนี่  ผาย  ตุ้ย กรุณาเข้าแถว ครับ/ค่ะ
乐意为您效劳 เล่อ อี้ เหว่ย หนิน เสี้ย เหลา ยินดีรับใช้คุณ ครับ/ค่ะ
有什么要帮忙吗? โหย่ว เสิน เมอ เย้า ปัง หมัง มา มีอะไรให้ช่วยไหม ครับ/ค่ะ
你有什么事吗? หนี่ โหย่ว เสิน เมอ ซื่อ มา คุณมีธุระอะไรไหม ครับ/ค่ะ
你要借书吗? หนี่ เย้า เจี้ย ซู มา คุณต้องการยืมหนังสือไหม
你要还书吗? หนี่ เย้า หวน ซู มา คุณต้องการคืนหนังสือไหม
你要续借吗? หนี่ เย้า ซวี่ เจี้ย มา คุณต้องการยืม (หนังสือต่อไหม
中文书在5 จง เหวิน ซู ไจ้ อู่ โหลว หนังสือจีนอยู่ชั้น 5
中文报纸在5 จง เหวิน เป้า จื่อ ไจ้ อู่ โหลว หนังสือพิมพ์จีนอยู่ ชั้น 5
5 中文图书馆 อู่ โหลว จง เหิวน ถู ซู กว่าน ชั้น5ห้องสมุดภาษาจีน
诗琳通公主御览室 ซือ หลิน ทง กง จู่ วี่ หลัน ซื่อ ห้องทรงพระอักษรสมเด็จพระเทพๆ
郑午楼博士文物纪念馆 เจิ้ง อู่ โหล่ว ป๋อ ซื่อ เหวิน อู่ จี้ เนี่ยน กว่าน หอเอกสาร ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์

คำศัพท์ที่ใช้บ่อยในห้องสมุด

ภาษาจี คำอ่าน คำแปล
图书馆 ถูซูกว่าน ห้องสมุด
ซู หนังสือ
馆员 กว่านเหยียน บรรณารักษ์
借书 เจี้ย ซู ยืมหนังสือ
还书 หวน ซู คืนหนังสือ
续借 ซวี่ เจี้ย ยืมหนังสือต่อ
报纸  เป้า จื่อ หนังสือพิมพ์
杂志 จ๋า จื้อ นิตยสาร
书展 ซูจ่าน นิทรรศการหนังสือ
书架 ซูเจี้ย ชั้นวางหนังสือ
大学生 ต้า เสวีย เซิง นักศึกษา
学生 เสวีย เซิง นักเรียน
参观者 ชัน กวน เจ่อ แขกเยี่ยมชม

 

体验汉语基础教程 : 泰语版 (แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐาน ชุดสัมผัสภาษาจีน เล่ม 1
เม.ย. 15th, 2017 by rungtiwa

体验汉语基础教程 : 泰语版 (แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐาน ชุดสัมผัสภาษาจีน เล่ม 1)

3t

หลังจากที่เข้าอบรมการพูดภาษาจีน หลายเดือนที่ผ่านมา และผู้เขียนได้เคยแนะนำหนังสือฝึกการใช้ภาษาจีน ไปแล้ว 1 เรื่อง คือ พูดจีนเก๋งมาก! (Speaking Chinese Fluently) แต่ขอนำเสนอเพิ่มอีกเล่มค่ะ อ่านแล้วชอบน่าจะใช้ภาษาจีนได้ดีขึ้น จึงขอแนะนำต่อนะคะ

体验汉语基础教程 : 泰语版 (แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐาน ชุดสัมผัสภาษาจีน) เป็นหนังสือที่รวบรวมเน้นการเชื่อมโยงภาษาจีน การฝึกออกเสียง บทสนทนาภาษาจีน ที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น การทักทาย ถามทุกข์สุข ถามชื่อและนามสกุล ถามสัญชาติ ถามที่อยู่ ถามเกี่ยวกับครอบครัว ถามวันที่ ถามเวลา ถามทาง และการซื้ออาหาร เป็นต้น

ท่านใดสนใจหนังสือเล่มนี้ อยู่ที่หมวดหมู่ PL1128 T369 2008 หนังสือทั่วไปชั้น 5

รายการอ้างอิง

姜丽萍 主编 and Supapit Chotithamwattana 译者 [泰]. (2008). “体验汉语基础教程 : 泰语版 (แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐาน ชุดสัมผัสภาษาจีน เล่ม 1)”. 北京 : 高等教育.

การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC
ก.พ. 7th, 2017 by wanna

ก่อนที่ผู้เขียนจะมาปฏิบัติงานในตำแหน่งบรรณารักษ์ วิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรภาษาจีน ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ์ ผู้เขียนได้ปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรับผิดชอบการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และ ก่อนหน้านั้นได้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสาขาหลายแห่งของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากผู้เขียนมีพื้นความรู้ภาษาจีน จึงได้ช่วยบรรณารักษ์ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ ของ สำนักหอสมุด แปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ซึ่ง ในระยะแรก ๆ ผู้เขียนจะแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน โดย ใช้ระบบการสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin และ เขียนคำศัพท์ตามคำศัพท์ภาษาจีนเช่น คำว่า ภาษาจีน (汉语)จะแปรเป็นอักษรโรมันตามระบบ Pinyin อ่านว่า hanyu ซึ่งจะเขียนติดกัน แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้มาปฏิบัติงานที่ ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ สำนักหอสมุด และ รับผิดชอบงานการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรภาษาต่างประเทศ โดย รวมถึงภาษาจีนนั้น ผู้เขียนพบว่า การลงรายการทรัพยากรภาษาจีนของ OCLC จะสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin โดยสะกดแยกคำออกจากกัน เช่น คำว่า ภาษาจีน(汉语)จะสะกดเป็น Han yu โดยเขียนแยกกัน และ ใช้ H เป็นอักษรตัวใหญ่ ตามหลักของการเชียนภาษาอังกฤษ โดยใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น English, Chinese และ ชื่อประเทศ ชื่อมณฑล ชื่อเมือง ก็จะเขียนอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ และ เขียนติดกัน เช่น คำว่าประเทศจีน (中国)จะสะกดและเขียนเป็น Zhongguo ปักกิ่ง (北京)สะกดและเขียนเป็น Beijing เป็นต้น หลังจากผู้เขียนได้อ่านระบบการแปรอักษรจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC Romanization แล้ว จึงทราบความเป็นมาและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ดังนี้  การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC

พูดจีนเก่งมาก! (Speaking Chinese fluently)
ม.ค. 28th, 2017 by rungtiwa

     พูดจีนเก่งมาก! (Speaking Chinese fluently)

9789744143709-247x350

ในหลายๆ เดือนก่อน บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เข้ารับการพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้ภาษาจีนได้ ในระดับเบื้องต้น คือ พอจะสื่อสารได้บ้าง เนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มียุทธศาสตร์เน้นในเรื่องจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ บุคลากรสายสนับสนุนของศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงยกทีมกันเข้าคอร์สเรียน ภาษาจีนกันเป็นกลุ่มใหญ่ แบ่งได้ 2 กลุ่ม

ผู้เขียน พอจะพูดได้อยู่บ้างแต่นิดหน่อย ดีใจที่ได้เข้ารับการฝึกฝนอย่างเป็นทางการและจริงจัง จาก เหล่าซือ ที่เดินทางมาจากประเทศจีน แม้ว่าจะเป็นหลักสูตรสั้นๆ แต่ก็พอจะได้อยู่บ้าง และต้องอยู่ที่พวกเรากลับมาฝึกต่อเองอีกด้วย เลยหาหนังสือมาเพื่อฝึกฝนด้วยตนเอง ในศูนย์บรรณสารสนเทศ มีหลายเล่มค่ะ แต่ขอเลือก  “พูดจีนเก่งมาก!” (Speaking Chinese fluently) มานำเสนอค่ะ ผู้เขียน อ่านแล้วชอบมาก ขอแนะนำต่อนะคะ

“พูดจีนเก่งมาก!” (Speaking Chinese fluently) เป็นหนังสือที่รวบรวมประโยคภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งสำนวนที่ใช้บ่อยในสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจองห้องพักโรงแรม การถามทาง การซื้อของ การสังสรรค์ ไปจนถึงการติดต่อธุรกิจ นำเสนอในรูปแบบการ์ตูนแสนน่ารัก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปเรียน ท่องเที่ยว หรือทำงานในประเทศจีน เช่น เข้าพักในโรงแรม  ประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  ถามทาง งานสังสรรค์  การยืมและคืน เช่ารถ  ชาวต่างชาติในประเทศจีนและซื้อของเป็นต้น

ท่านใดสนใจ หนังสือเล่มนี้ อยู่ที่หมวดหมู่ PL1121.T5 ห353พ 2558 หนังสือทั่วไปชั้น 3 

รายการอ้างอิง

หวงเหล่าซือ และอารีย์วัลย์ บุญอากาศ. (2558). “พูดจีนเก่งมาก!” (Speaking Chinese fluently).  กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนแห่งแรกในประเทศไทย
ต.ค. 26th, 2016 by supaporn

 

wichien

ดร. วิเชียร เตชะไพบูลย์ กดปุ่มเปิดแพรคลุมป้าย

สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเทียนจิน สถาบันการศึกษาชั้นนำทางด้านการแพทย์แผนจีนของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจัดตั้งสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย และนับว่าเป็นสถาบันขงจื่อแห่งที่ 15 ของประเทศ

泰国华侨崇圣大学中医孔子学院,由泰国华侨崇圣大学与中国天津中医药大学合作成立,是泰国第十五家孔子学院,同时也是泰国首家中医孔子学院。

ท่านเจ้าคุณธงชัย เจิมป้าย

ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหารเจิมป้ายสถาบันขงจื่อการแพย์แผนจีน

ท่านเจ้าคุณธงชัย พรมน้ำมนต์

ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

สถาบันของจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจะทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมภูมิปัญญาตะวันออก และศาสตร์การแพทย์แผนจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการเรียนการสอนแพทย์แผนจีน ส่งเสริมการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์แผนจีน อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อผู้ประกอบวิชาชีพ และองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีนของประชาชนชาวไทย และประชาชนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ด้านภาษาจีน และศิลปวัฒนธรรมจีน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีน อีกทั้งยังมีบทบาทหน้าที่ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมภาษาจีนและการแพทย์แผนจีนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดสัมมนาวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์แผนจีน การจัดนิทรรศการและโครงการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านภาษาจีนและการแพทย์แผนจีนให้กับประชาชนทั่วไป

泰国华侨崇圣大学中医孔子学院是以在东南亚地区传播东方智慧和传统文化、促进中医学术交流、为泰国和东南亚地区人民普及中国传统医药的专业知识以及促进中国语言文化的学习,从而为学习中医建立基础为目标。中医孔子学院在泰国的主要任务是组织各种汉语及中医学的相关活动,如举办中医研讨会,有利于提高泰国中医界人士的学术水平,并有利于向泰国民众推广和普及汉语及中医学知识。

ป้ายหน้าห้องสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ป้ายหน้าห้องสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ผู้บริหารถ่ายภาพร่วมกันหลังเสร็จพิธีเปิด

ผู้บริหารถ่ายภาพร่วมกันหลังเสร็จพิธีเปิด

พิธีเปิดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และพิธีเปิดผ้าแพรคลุมป้ายจัดขึ้น ณ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ชั้น 5 อาคารบรรณสาร โดย ดร.วิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ให้เกียรติเป็นประธาน และดร.โจว เกาหยู่ เลขานุการเอก ฝ่ายการศึกษา สถานเอคอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดี ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์และเจิมป้ายสถาบัน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการแก่ผู้ที่สนใจ และประชาชนทั่วไป ตั้งอยู่ที่ อาคารบรรณสาร ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โทร 0-2312-6300 ต่อ 1420

2016年10月20日,华侨崇圣大学中医孔子学院于学校图书馆5楼正式揭牌成立,并在学校大礼堂举行了盛大的开幕典礼,特邀请华侨报德善堂董事长郑伟昌博士为典礼主席,并邀请中华人民共和国驻泰王国大使馆教育组一等秘书周高宇阁下出席典礼并致贺词,岱密金佛寺主持助理昭坤通猜大师莅临典礼并为中医孔子学院洒圣水、点粉赐福。
         华侨崇圣大学校长叶尧生携全体师生诚挚欢迎泰国各界人士前来位于学校图书馆5楼的中医孔子学院参观指导。
         联系电话:0-2312-6300 转 1420

สัญลักษณ์ของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ติดตามกิจกรรม ของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ได้ที่

เว็บของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนฯ http://cihcu.hcu.ac.th/

และที่ FB

FB สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนฯ https://www.facebook.com/tcihcu/

เก่งคำศัพท์ภาษาจีนและภาษาอังกฤษด้วยรูปภาพ Let’s GO!!
ส.ค. 11th, 2016 by buaatchara

 

9787563716654a

 

 

Picture-Chinese-Book-The-most-useful-Mandarin-when-you-travel-in-China-1CD-Free-Shipping

 

Picture Chinese 看图学最有用的汉语

เป็นหนังสือเรียนคำศัพท์สองภาษาคือภาษาจีนและภาษาอังกฤษ   แบ่งออกเป็น 62 หัวข้อ เช่น ชีวิตประจำวัน สภาพอากาศ การใช้โทรศัพท์ วัน เวลา สี คำตรงกันข้าม ร้านซูเปอร์มาร์เก็ต ฯลฯ มีภาพประกอบเป็นรูปภาพสีที่สวยงาม      ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆ   เพื่อให้เข้าใจง่ายสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะในการฝึกภาษา โดยรวบรวมคำศัพท์สำคัญที่ใช้บ่อยและตัวอย่างประโยคที่มักจะใช้ในชีวิตประจำวัน นักศึกษาที่กำลังศึกษาการใช้ภาษาจีน แต่มีคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ควบคู่กันไปด้วย แนะนำให้อ่านเล่มนี้ได้เลยค่ะ เหมาะมากค่ะ ให้บริการที่ชั้น 5 ห้องสมุดภาษาจีน ศูนย์บรรณสารสนเทศ เลขเรียกหนังสือ PL1121 K172 2013

รายการอ้างอิง

李红丽 ผู้แปล. (2013).  Picture Chinese 看图学最有用的汉语 . พิมพ์ครั้งที่ 2. 北京 : 旅遊教育.

การศึกษาภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการศึกษาภาษาจีนนับวันก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ประเทศไทยในฐานะเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับประเทศจีน ไม่ว่าด้านธุรกิจหรือศิลปะวิทยาการด้านอื่นๆ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติ ด้วยเหตุนี้ผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องศึกษาภาษาจีนเพื่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน แต่เนื่องจากปัจจัยทางการเมืองในช่วงเวลาหนึ่งทำให้การศึกษาภาษาจีนในประเทศไทยต้องชะลอหรือชะงักการพัฒนา ปัจจุบันผู้ที่มีวิสัยทัศน์จึงต้องมองปัญหาการศึกษาภาษาจีนของไทยให้กระจ่างเพื่อจะได้พัฒนาให้เป็นระบบและก้าวไกลทันกับการศึกษาภาษาจีนทั่วโลก การจัดการศึกษาภาษาจีนในระดับอุดมศึกษาของไทยแม้ว่าจะดำเนินการมาแล้วกว่า 20 ปี แต่ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและปัจจุบันนับวันจะเพิ่มมากขึ้น

บทความบทนี้ได้นำเสนอปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษาภาษาจีนระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยในภาพรวมโดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจปัญหาต่าง ๆ เพื่อจะได้ร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนาการศึกษาภาษาจีนให้เกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริง

นริศ วศินานนท์. (2546). การศึกษาภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 51-60.

ภาษาที่เรียนรู้ได้ยาก
มี.ค. 12th, 2016 by supaporn

วันก่อนคุยกับบรรณารักษ์ภาษาจีน ทึ่งมากกว่าจะทำรายการหนังสือภาษาจีนเข้าระบบห้องสมุดได้แต่ละเล่ม แถมพี่บรรณารักษ์ภาษาจีนยังบอกอีกว่า ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ยากกว่าอีก โอ้โห! เลยต้องค้นๆ ดู เจอเว็บการจัดอันดับภาษาที่เรียนรู้ยาก สำหรับผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ จริงๆ ด้วย ภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อยู่ในกลุ่มยากสุดเลย

ในเว็บนี้ แบ่งกลุ่มภาษาที่ต้องใช้เวลาเรียน ออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มแรกใช้เวลา 23-24 สัปดาห์  หรือ 575-600 ชั่วโมง เช่น ภาษาฝรั่งเศส ดัชท์ สเปน เป็นต้น กลุ่มที่สอง ใช้เวลาเรียน 30 สัปดาห์ หรือ 750 ชั่วโมง ได้แก่ ภาษาเยอรมัน กลุ่มที่สาม ใช้เวลาเรียน 36 สัปดาห์ หรือ 900 ชั่วโมง ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสวาฮีลี กลุ่มที่สี่ ใช้เวลาเรียน 44 สัปดาห์หรือ 1100 ชั่วโมง กลุ่มนี้มีจำนวนมากเลย เช่น เนปาลี พม่า เวียดนาม ไทยก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย  ส่วนกลุ่มที่ยากสุด ใช้เวลาเรียน 88 สัปดาห์หรือ 2200 ชั่วโมง มี ภาษาอาระบิค ภาษาจีน (ทั้ง Cantonese และ Mandarin) ภาษาญี่ปุ่น และ ภาษาเกาหลี ติดตามอ่านได้ที่  http://www.effectivelanguagelearning.com/language-guide/language-difficulty

หลักวิธีการสอนภาษาจีน
มี.ค. 8th, 2016 by supaporn

หลักวิธีการสอนภาษาจีน เขียนโดย อาจารย์เบญจวรรณ ศิริคันธรส คณะภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เขียนบทความโดยคัดเลือกเนื้อหาบางส่วนและจากการแปลตำรา เรื่อง เทคนิคจัดการเรียนรู้ภาษาจีนในชั้น 325 ตัวอย่าง  และ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนสากล บทความนี้ ประกอบด้วยวิธีการสอนแบบสมัยเก่าและสมัยใหม่ทั้งหมด 5 วิธีคือ วิธีสอนภาษาแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์และแปล วิธีสอนภาษาแบบเน้นทักษะพูดและฟัง วิธีสอนภาษาแบบเน้นเพื่อการสื่อสาร วิธีสอนภาษาแบบเน้นภาระงาน และ วิธีสอนภาษาเน้นการตอบสนองด้วยท่าทาง ติดตามอ่านแต่ละวิธีสอนได้ที่นี่

รายการอ้างอิง

เบญจวรรณ ศิริคันธรส.  หลักวิธีการสอนภาษาจีน. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2559 จาก http://clc.hcu.ac.th/page_academic/9/หลักและวิธีการสอน%20:%20%汉语教学法

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa