SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2561).  การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสน. (A Study of Acronym in 108 Core Scripture as a Supplementary Buddhist Material). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108      (2) เพื่อศึกษาแหล่งที่มา สาระสำคัญ และการนำอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ไปใช้ในมิติต่าง ๆ (3) เพื่อศึกษาการใช้อักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และนำเสนอเป็นรายงานการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Analysis Description)

ผลการวิจัยพบว่า การย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่ใช้วิธีการย่ออักษรตามคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะที่เป็นทฤษฎีการย่ออักษร 4 รูปแบบ คือ การย่ออักษรตัวแรกของศัพท์ การย่ออักษรตัวสุดท้ายของศัพท์ การย่ออักษรที่ใช้วิธีทั้งสองข้างต้นร่วมกัน การย่ออักษรแล้วประมวลอักษรมาไว้ตรงกลางโดยวางอักษรสลับกันไปมา หัวใจนอกจากนี้ใช้คำย่อ คำศัพท์ อักษรในภาษาบาลี อักษรไทย และคำไทยมาผสมกัน สำหรับแหล่งที่มาของอักษรย่อส่วนใหญ่มาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ รวมถึงบทสวดมนต์จากหนังสือสวดมนต์ แต่มีหัวใจบางส่วนที่มีแหล่งที่มาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไสยศาสตร์ วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์และขุนช้างขุนแผนที่โบราณาจารย์นำมาใช้สื่อเรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระรัตนตรัย พระพุทธเจ้า พระธรรม พุทธสาวกบางรูป คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา พิธีกรรม และเรื่องเล่าในพระพุทธศาสนา สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของโบราณาจารย์ที่นำเรื่องเหล่านี้มาใช้สื่อผ่านหัวใจต่าง ๆ ดังนั้น หัวใจและอักษรย่อของหัวใจจึงเป็นสื่อการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาโดยย่อ ส่วนการนำไปใช้นั้นพบในรูปแบบสำคัญคือ การใช้ที่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจที่สัมพันธ์กับหลักการในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ใช้สำหรับท่องจำหลักที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ใช้เป็นอุบายฝึกจิตให้เป็นสมาธิโดยใช้อักษรในหัวใจเป็นเครื่องภาวนา และใช้เป็นอุบายเตือนสติผู้นำไปใช้ให้ละความชั่ว ทำความดีด้วยการรักษาศีล เสียสละ และพัฒนาจิตให้ผ่องใส ส่วนการนำไปใช้ที่ไม่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจนั้นพบว่า ส่วนใหญ่นำไปใช้ตามความเชื่อในไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดอานุภาพด้านทีดี เช่น ปลอดภัยจากอันตราย เมตตามหานิยม เป็นต้น และบางส่วนถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ทำให้คนหลงรัก ทำให้คนเกลียดชังกัน และนำไปใช้เสกของกินร่วมกับสุราที่เป็นการส่งเสริมให้คนผิดศีลข้อที่ 5 แต่ถ้ากล่าวสรุปตามสาระสำคัญของหัวใจแล้ว อักษรย่อในคัมภีร์ในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่เป็นสื่อการเรียนรู้พระพุทธ ศาสนาที่มุ่งให้คนเข้าใจและนำไปใช้พัฒนาชีวิตตั้งแต่หลักการพื้นฐาน เช่น ศีล 5 จนถึงหลักธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตสู่ความหลุดพ้นทุกข์ เช่น อริยสัจสี่ เป็นต้น

ผลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นประโยชน์ของการศึกษาเรื่องนี้โดยสรุป คือ การไขความลี้ลับของหัวใจ 108 ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ที่มีอานุภาพต่าง ๆ  แต่ผลการศึกษาเรื่องนี้สามารถยืนยันได้ว่า หัวใจต่าง ๆ ในคัมภีร์หัวใจ 108 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่อันเป็นกุศโลบายในการสอนพระพุทธศาสนาของ   โบราณาจารย์ไทย แต่เรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนาถูกกลบไปด้วยอิทธิพลของความเชื่อไสยศาสตร์ ประกอบกับการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้มักจะไม่มีการบอกความหมายและแหล่งที่มาของอักษรย่อจึงทำให้หลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนาเลือนหายไปกลายเป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์เข้ามาแทนที่อย่างน่าเสียดาย

Read the rest of this entry »

ปริทัศน์ทางความคิดว่าด้วยเรื่อง ความต้องการ เปรียบเทียบแนวความคิดระหว่างพระพุทธศาสนากับปรัชญาตะวันตก
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

ปริทัศน์ทางความคิดว่าด้วยเรื่อง ความต้องการเปรียบเทียบแนวความคิดระหว่างพระพุทธศาสนากับปรัชญาตะวันตก

บทคัดย่อ

พระพุทธศาสนากับปรัชญาตะวันตกมีแนวความคิดว่าด้วยเรื่องความต้องการที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ ทั้งสองยอมรับว่าความต้องการเป็นกิเลสอย่างหนึ่งของมนุษย์ต่างกันก็ตรงที่ว่าพระพุทธศาสนามองว่าความต้องการเป็นสิ่งที่สามารถลดลงได้จากการฝึกฝนและพัฒนาตนของมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา แต่ปรัชญาตะวันตกมองว่าความต้องการไม่มีทางที่จะแก้ไขได้ เพราะถือว่าความต้องการให้ความสุขแก่มนุษย์และก่อให้เกิดการแสวงหาสิ่งใหม่ แนวคำสอนของนักปรัชญาตะวันตกหลายคนไม่ว่าจะเป็น ฟรานซิส เบคอน เรอเน่ เดการ์ต เป็นต้น ต่างก็ส่งเสริมและกระตุ้นความต้องการของมนุษย์ ดังนั้นวิถีชีวิตของชาวตะวันตกจึงเป็นไปในลักษณะที่ส่งเสริมความต้องการ ในขณะที่พระพุทธศาสนาสอนให้ดำเนินชีวิตเพื่อลดความต้องการ ลดการแย่งชิงผลประโยชน์ เพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติแบบเกื้อกูลต่อธรรมชาติ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการเปรียบเทียบแนวความคิดที่แตกต่างว่าด้วยเรื่องความต้องการระหว่างพระพุทธศาสนากับปรัชญาตะวันตก

วิชัย สุนาโท. (2546). ปริทัศน์ทางความคิดว่าด้วยเรื่อง ความต้องการเปรียบเทียบแนวความคิดระหว่างพระพุทธศาสนากับปรัชญาตะวันตก. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 61-71.

บุญคือปัจจัยพื้นฐานของชีวิต : บทวิเคราะห์จากปัญหาในสังคมไทย
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

บุญคือปัจจัยพื้นฐานของชีวิต : บทวิเคราะห์จากปัญหาในสังคมไทย

บทคัดย่อ:

บุญในทัศนะของพระพุทธศาสนา จัดเป็นพื้นฐานของชีวิตด้านจิตใจที่เชื่อมโยงชีวิตทั้งหมดเข้าด้วยกัน มิได้จำกัดอยู่เฉพาะชีวิตมนุษย์เท่านั้น แต่หมายถึงชีวิตทั้งหมดของโลก ทั้งคน สัตว์ พืช ที่ต้องอาศัยบุญคอยสนับสนุนส่งเสริมให้ดำเนินไปอย่างปกติสุข การเข้าใจเรื่องบุญที่ถูกต้องตามหลักการทางพระพุทธศาสนาจะช่วยให้เราเห็นความสำคัญของบุญและปฏิบัติตามหลักการสร้างบุญ ขจัดบาปที่เป็นตัวการทำลายบุญหรือความสมดุลของชีวิตอันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาสังคม เช่น การฆาตกรรม การละเมิดทรัพย์สินของกันและกัน เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ ถ้าวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียดแล้วจะได้ข้อสรุปว่าผู้ที่สร้างปัญหาดังกล่าวขาดปัจจัยพื้นฐานของชีวิตที่เรียกว่าบุญทั้งสิ้น

 

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2547). บุญคือปัจจัยพื้นฐานของชีวิต : บทวิเคราะห์จากปัญหาในสังคมไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 70-84.

อ่านบทความฉบับเต็ม

โอวาทปาติโมกข์ “หัวใจในหลักธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า”
ก.พ. 19th, 2016 by uthairath

1951

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงหลักธรรมที่ชื่อว่า “โอวาทปาติโมกข์” ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการ (3) อุดมการณ์ (4) และวิธีการ (6) ปฏิบัติที่นำไปใช้ได้ในทุกสังคม  Read the rest of this entry »

มาฆบูชา วันสำคัญทางพุทธศาสนา
ก.พ. 17th, 2016 by uthairath

1940

วันมาฆบูชาใกล้เข้ามาแล้ว  ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ร่วมจิตทำบุญและเวียนเทียน  ขอนำประวัติสั้นๆ วันสำคัญของชาวไทยพุทธอีกหนึ่งวัน ที่ได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน จนถือเป็นประเพณีและวัฒนาธรรมจนถึงปัจจุบัน และเพื่อเป็นการปลูกฝังให้แก่ลูกหลาน ได้รับรู้และเข้าใจในศาสนาพุทธรวมทั้งหลักธรรมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักต่อความสำคัญของพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะชาวพุทธ และยังเป็นการช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไป
Read the rest of this entry »

ธรรมะอิเล็กทรอนิกส์
ม.ค. 12th, 2016 by supaporn

แหล่งรวมธรรมนิพนธ์ ธรรมบรรยายอิเล็กทรอนิกส์ (ของ พระพรหมคุณาภรณ์) ที่จัดทำขึ้นโดย วัดญาณเวศกวัน เพื่อเป็นธรรมทาน และเพื่อความสะดวกของผู้ศึกษาค้นคว้า ซึ่งถ้าท่านใดสนใจพิมพ์เผยแพร่ สามารถติดต่อ ได้ ระบบการสืบค้น สามารถหาหัวข้อธรรมะที่สนใจ ได้จาก ธรรมนิพนธ์ ธรรมบรรยาย และ ด้วยคำถามนำ ซึ่งจะโยงไปถึงธรรมนิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ นับว่าเป็นแหล่งหนังสือธรรมะ ที่ใช้เป็นแหล่งศึกษาธรรมะได้อีกทางหนึ่ง

ธรรมะอิเล็กทรอนิกส์

เว็บไซต์ วัดญาณเวศกวัน

พอ : หลักธรรมแห่งความพอเพียง
ม.ค. 10th, 2016 by supaporn

พอ : หลักธรรมแห่งความพอเพียง

พอ : หลักธรรมแห่งความพอเพียง

พอ : หลักธรรมแห่งความพอเพียง ธรรมนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก จัดพิมพ์โดย ชมรมศิษย์กรรมฐานพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ถวายพระราชกุศลเนื่องในมหามงคลสมัย 88 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2558 และ ถวายสักการะฉลองพระชันษาชาตกาล 102 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เป็นธรรมคำสอนในชีวิตประจำวันให้รู้จักความพอเพียง ความสันโดษ ประกอบด้วยหลักธรรมคำสอนที่น่าศึกษาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa