SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การสำรวจปญหาและพฤติกรรมการใชยาผลิตภัณฑเสริมอาหารและสมุนไพรของผูสูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเขนอย จังหวัดสมุทรปราการ
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

การสำรวจปญหาและพฤติกรรมการใชยาผลิตภัณฑเสริมอาหารและสมุนไพรของผูสูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเขนอย จังหวัดสมุทรปราการ

The Survey of Medicine, Food Supplement and Herbal Products Used Problems Among Elderly A Case Study at the Community of Tumbon Srisa Chorakhe Noi, Samut Prakan Province

ปิยะวัน วงษบุญหนัก ปวีณา วองตระกูล หรรษา มหามงคล และวรัญญา เนียมขำ . (2559). การสำรวจปญหาและพฤติกรรมการใชยาผลิตภัณฑเสริมอาหารและสมุนไพรของผูสูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเขนอย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 97-108.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งาน ข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน เทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
ก.ย. 12th, 2016 by rungtiwa

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน เทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

Relationship among pain, stiffness, function of knee joint and balance in community-dwelling elderly people with knee osteoarthritis at Bangsaothong Municipal District, Bangsaothong District Samutprakarn Province

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อ การทรงตัวและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมใน จำนวน 128 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความสามารถในการทรงตัว (Berg balance test) และแบบประเมิน Thai modified WOMAC (Western Ontario and McMaster University) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation) Read the rest of this entry »

การประเมินภาวะสุขภาพผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ : การประยุกต์ใช้ในการพยาบาล
พ.ค. 17th, 2016 by sirinun

การประเมินภาวะสุขภาพผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

การประเมินภาวะสุขภาพผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

การประเมินภาวะสุขภาพหมายถึง การรวบรวมข้อมูลสุขภาพ และตัดสินสถานะสุขภาพของผู้ใช้บริการ ขอบเขตและมิติใน การประเมินจึงขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพที่แต่ละวิชาชีพกำหนด หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการประเมินภาวะสุขภาพผู้ใหญ่และผู้สูงอายุโดยการใช้แนวคิดทางการพยาบาลในทุกขั้นตอนของการประเมินภาวะสุขภาพ เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางในการฝึกฝน พัฒนาทักษะในการนำใช้การประเมินภาวะสุขภาพในสถานการณ์การพยาบาลและเป็นไปตามขอบเขตและบทบาทของพยาบาล หมวดหมู่ WT141 ผ225ก 2558

รายการอ้างอิง

ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2558).  การประเมินภาวะสุขภาพผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ : การประยุกต์ใช้ในการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ (Care for elderly, disabled, terminal-illness in primary care)
มี.ค. 27th, 2016 by sirinun

การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ

การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ

ผู้สูงอายุในประเทศไทย มีเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายเน้นการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มหลักของประเทศไทยได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึงพิง และกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้ายขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น จำเป็นที่ต้องดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ด้วยการรักษาป้องกันโรค และทำกายภาพบำบัดและกายอุปกรณ์มาช่วยเสริมสร้างสุขภาพอย่างต่อเนื่องถูกวิธี หมวดหมู่ WT100 ก451 2558

รายการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะแพทยศาสตร์. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน. (2558). การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ (Care for elderly, disabled, terminal-illness in primary care). สงขลา : ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

การกระทำทารุณกรรมผู้สูงอายุในสังคมไทย
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

การกระทำทารุณกรรมผู้สูงอายุในสังคมไทย

บทคัดย่อ

การกระทำทารุณกรรมผู้สูงอายุในสังคมไทยเป็นบทความที่นำเสนอถึงปรากฏการณ์การกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ ซึ่งในสังคมไทยยังมีการกล่าวถึงกันน้อย ดังนั้นบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงความหมายและรูปแบบการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ ซึ่งได้แก่ การกระทำทารุณกรรมด้านร่างกาย ด้านจิตใจหรืออารมณ์ ด้านวัตถุ การทอดทิ้งทางร่างกาย และการทอดทิ้งทางด้านจิตใจ พร้อมทั้งหยิบยกประเด็นการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นภาพการกระทำทารุณกรรมผู้สูงอายุอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ได้นำเสนอถึงการวิเคราะห์ปัจจัยของการเกิดการกระทำรุณกรรมผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันครอบครัว การเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติของคนในครอบครัว และการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพร่างกายของผู้สูงอายุเอง ตลอดจนการนำเสนอแนวทางแก้ไขไว้ในช่วงสุดท้าย ซึ่งจะต้องพิจารณาตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการ ระดับชุมชน และระดับครอบครัว

นุชนาฎ ยูฮันเงาะ. (2546). การกระทำทารุณกรรมผู้สูงอายุในสังคมไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 43 – 50.

 

อภิสิทธิ์ชน : คนแก่ 2557
มี.ค. 8th, 2016 by sirinun

อภิสิทธิ์ชน : คนแก่ 2557

อภิสิทธิ์ชน : คนแก่ 2557

ชีวิตคนเราย่อมมีการเจริญวัยจนมาถึงจุดหนึ่ง ที่วัยจะต้องร่วงโรยไปตามอายุขัย ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้ใช้ประสบการณ์ในการก้าวย่างเข้าสู่วัยชราที่มีภูมิปัญญาความรู้ ตลอดจนประสบการณ์อย่างมากมายมาปรับเปลี่ยนชีวิตให้เป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลังแห่งกุศล เพื่อดำรงตนและเป็นเพื่อนกับคนอื่นที่เดินทางมาสู่วัยเดียวกันได้อย่างมีความสุข หมวดหมู่ HQ1062 ฉ236อ 2558

รายการอ้างอิง

ฉัตรสุมาลย์. (2558). อภิสิทธิ์ชน : คนแก่ 2557. กรุงเทพฯ : ศูนย์ไทยธิเบต.

อาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส : ทางออกของการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชุมชนเมือง
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

อาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส : ทางออกของการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชุมชนเมือง

บทคัดย่อ:

บทความนี้มุ่งให้ทราบและตระหนักถึงบทบาทของอาสาสมัครในชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่องค์กรภาครัฐ ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเริ่มเล็งเห็นความสำคัญ โดยเฉพาะเมื่องใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น มีการแข่งขันสูง ก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่มีความหลากหลาย ซับซ้อน และทวีความรุนแรง โดยเฉพาะครอบครัวที่เป็นรากเหง้าของปัญหาส่วนใหญ่ของชุมชน เช่น ปัญหาการกระทำทารุณกรรม ทั้งต่อเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ตลอดจนการปล่อยปละละเลยทอดทิ้งผู้ด้อยโอกาสในชุมชน ปัญหาเล่านี้หากไม่มีผู้คอยประสาน ช่วยเหลือ ดูแล อาจจะทำให้ผู้ตกเป็นเหยื่อต้องทนทุกข์ทรมาน ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์และสังคม ทั้งนี้เนื่องจากการให้บริการจากภาครัฐยังไม่สามารถกระทำได้อย่างทั่วถึง และตรงกับความต้องการ ดังนั้น การมีอาสาสมัครในชุมชนจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาในเชิงรุก ด้วยการส่งเสริมให้คนในชุมชนเข้าร่วมกันแก้ไขปัญหาในชุมชนของตนอย่างยั่งยืน

นุชนาฎ ยูฮันเงาะ. (2547). อาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส : ทางออกของการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชุมชนเมือง. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 101-108.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

Rehabilitation of Elders with Dementia

บทคัดย่อ:

ภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของสมองด้านการรู้คิดและสติปัญญา โดยมีการเสื่อมของความจำเป็นอาการเด่น และมีอาการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม บุคลิกภาพ และอารมณ์ ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมจะมีความบกพร่องทางด้านการรับรู้ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการคิด และการตัดสินใจ แต่ไม่มีการสูญเสียระดับความรู้สึกตัว อาการของภาวะสมองเสื่อมจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นระยะๆ จากระยะเริ่มแรกที่มีอาการเล็กน้อย เป็นระยะกลางที่มีอาการระดับปานกลาง และต่อมาเป็นระยะสุดท้ายซึ่งมีอาการสมองเสื่อมรุนแรงมาก ในผู้สูงอายุไทย สามารถประเมินภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้นได้จากแบบประเมินภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ (Activity of Daily Living Index) และแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (Mini–Mental State Examination – Thai) การศึกษาวิจัยในระยะหลังได้พัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมการ Read the rest of this entry »

เพศสัมพันธในผูสูงอายุ
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

เพศสัมพันธในผูสูงอายุ

Sexuality in Older Adults

 

ชนิกา เจริญจิตตกุล. (2554). เพศสัมพันธในผูสูงอายุ. วารสาร มฉก. วิชาการ 15 (29), 97-112.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การติดตามประเมินผลการถายโอนภารกิจสถานสงเคราะหคนชราและศูนยบริการทางสังคมผูสูงอายุใหแกองคกรปกครองสวนทองถิ่น
ก.พ. 20th, 2016 by rungtiwa

การติดตามประเมินผลการถายโอนภารกิจสถานสงเคราะหคนชราและศูนยบริการทางสังคมผูสูงอายุใหแกองคกรปกครองสวนทองถิ่น

Project Evaluation on Mission Transferring of Home for the Elderly and Social Service for the Elderly to Local Authority Organizations

ภุชงค เสนานุช และ วนิดา ดุรงคฤทธิชัย. (2555). การติดตามประเมินผลการถายโอนภารกิจสถานสงเคราะหคนชราและศูนยบริการทางสังคมผูสูงอายุใหแกองคกรปกครองสวนทองถิ่น. วารสาร มฉก.วิชาการ 16 (31), 1-15.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa