SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก

A Comparison of Learning Achievement Between Huachiew Chalermprakiet University Students Who Gained Admission Through the Ministry of University Affairs and Those Who Were Admitted by the University Directly

บทคัดย่อ:

การวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก ซึ่งใช้วิธีการจับคู่ (Matching) ของนักศึกษาทั้งสองประเภท โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรที่ศึกษาในชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2544-2545 ทั้งหมดรวม 6 คณะ คือ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะกายภาพบำบัด และคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสิ้น 558 คน จำแนกเป็นนักศึกษาชาย 20 คน และนักศึกษาหญิง 538 คน การสุ่มตัวอย่างจากประชากรดังกล่าวคำนึงถึงสถานภาพส่วนตัว คือ เพศ อายุ แผนกวิชา ที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คณะหรือสาขาวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ และสถานภาพทางครอบครัว คือ ภูมิลำเนา อาชีพบิดา (มารดา) การเลือกตัวอย่างแบบจับคู่โดยให้แต่ละคู่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อเพิ่มความเที่ยง (precision) ในการเปรียบเทียบค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนของนักศึกษาทั้งสองประเภท

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีสมมติฐานว่า ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนของนักศึกษาที่สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือกไม่แตกต่างกัน โดยใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความแปรปรวน ในกรณีข้อมูลมีการจำแนกสองทางโดยมีความเกี่ยวพัน (ANOVA- Two Ways Classification with Interaction) ผลการวิจัยพบว่า

นักศึกษาที่สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือกมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนไม่แตกต่างกัน เมื่อทดสอบอิทธิพลของคณะ ปรากฏว่า มีผลต่อค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 แต่ไม่พบว่าอิทธิพลร่วมของคณะกับประเภทการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมีผลต่อค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียน

 

ชัยรถ หมอเมือง. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 32-44.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Factors Affecting Learning Achievement of the First Year Students at Huachiew Chalermprakiet University

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยข้อมูลการศึกษาระดับมัธยมปลายปีที่ 6 และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ใน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติโดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสถานภาพทางสังคม แต้มเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมปลาย และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจำนวนตัวอย่าง 207 คน เก็บรวบรวมข้ออมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการทดสอบความตรงเชิงโครงสร้าง เท่ากับ 0.58 Read the rest of this entry »

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด

A Comparision of Anatomy Learning Achievement of Second Year Students Using Conventional Method and Application of Action Research Model with Mind Mapping Method

บทคัดย่อ:

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ระหว่างนักศึกษาชั้นปีที 2 ทีเรี ยนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้ รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด และ 3)เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa