SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ความชุกของฮีโมโกลบินผิดปกติในบุคลากร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

ความชุกของฮีโมโกลบินผิดปกติในบุคลากร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Prevalence of Hemoglobinopathies Among Huachiew Chalermprakiet Universityþs Personnels)

บทคัดย่อ:

ได้ประเมินความชุกของฮีโมโกลบินผิดปกติในบุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจำนวน 485 ราย พบว่า จำนวน 233 ราย มีความคิดปกติเมื่อทดสอบด้วยวิธี osmotic fragility (OF test) และ dichlorophenol indophenol test (DCIP test) เมื่อนำเลือดที่มีความผิดปกติดังกล่าวไปทดสอบหาชนิดของฮีโมโกลบินด้วยวิธี cellulose acetate electrophoresis และตรวจหาปริมาณฮีโมโกลบิน A2 ด้วยวิธี elution technique พบว่าเป็น Hb EA, Hb EE,β-thalassemia carrier และ Hb A2 AH เท่ากับ 145 (29.8%), 25 (5.2%), 8 (1.6%) และ 3 (0.6%) ราย ตามลำดับ ในขณะที่จำนวน 52 ราย (10.7%) ไม่สามารถวิเคราะห์ได้แน่ชัดว่าเป็นความผิดปกติชนิดใด อาจเป็น α-thalassemia carrier หรือฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอื่นๆ

Prevalence of hemoglobinopathies was investigated in 485 Huachiew Chalermprakiet
Universityþs personnels. It was found that 233 cases were abnormal as assessed by osmotic fragility test (OF test) and dichlorophenol indophenol test (DCIP test). All positive tests above were analyzed for hemoglobin typing by cellulose acetate electrophoresis and hemoglobin A2 was quantitatively analyzed by an elution technique. It was shown that Hb EA, Hb EE, β-thalassemia carrier and Hb A2 AH were detected to be 145 (29.8%), 25 (5.2%), 8 (1.6%) and 3 (0.6%) samples, respectively, whereas 52 (10.7%) samples would not be analyzed clearly, suggesting α-thalassemia carrier or other thalassemic cases.

ยุทธนา เพ็งแจ่ม ประไพ เหมหอม สุวรรณา เสมศรี ธนสาร ศิริรัตน์ เพ็ญนภา ชมะวิต และ นันทวดี เนียมนุ้ย. (2548). ความชุกของฮีโมโกลบินผิดปกติในบุคลากร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 3-13.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

มาลาเรียกับการตรวจวินิจฉัยทางภูมิคุ้มกันวิทยา
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

มาลาเรียกับการตรวจวินิจฉัยทางภูมิคุ้มกันวิทยา

Malaria and Immunological Diagnosis

บทคัดย่อ

คณะผูวิจัยไดศึกษารวบรวมวิธีการวินิจฉัยโรคมาลาเรียดวยเทคนิคทางภูมิคุมกันวิทยา เพื่อ คนหาวิธีการตรวจวิเคราะหทางภูมิคุมกันวิทยาที่ดีและเหมาะสมในการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรีย โดย การวิเคราะหขอมูลจากงานวิจัยตาง ๆ และมุงเนนเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการตรวจทาง ภูมิคุมกันวิทยาในดานความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) ระหวางวิธี Indirect hemagglutination test (IHA), Indirect immunofluorescent antibody test (IFAT), Enzymelinked immunosorbent assay (ELISA) และ Immunochromatography (ICT) โดยใชวิธี microscopy หรือวิธีอื่นๆ ที่เปนวิธีมาตรฐาน พบวาวิธี ELISA ซึ่งใชในการตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG, IgM และโปรตีนชนิด HRP2 มีความไวอยูในชวง 68.2-100% และความจำเพาะ 63.5-100% วิธี IFAT ที่ใชตรวจหา IgG มีความไวอยูในชวง 40.0-86.4% ความจำเพาะ 91.7-99.6% วิธี IHA ใชใน การตรวจหา IgG มีความไวอยูในชวง 82.0-91.0% สวนวิธี Immunochromatography ซึ่งตรวจ หาโปรตีนชนิด HRP2 และเอนไซม PLDH มีความไวอยูในชวง 49.7-100% และความจำเพาะ 73.8- 100% ในสวนคุณสมบัติของแตละวิธีพบวาวิธี IFAT และ ELISA เปนวิธีที่มีความไวและความจำเพาะ สูง แตตองใชเครื่องมือพิเศษและใชระยะเวลาในการตรวจนาน ตางจากวิธี IHA ซึ่งทำไดงาย แตคา ความไวและความจำเพาะต่ำ สวนวิธี ICT มีความสะดวก รวดเร็วและมีความไวสูง แตมีความจำเพาะ ต่ำและราคาแพง ดังนั้น จากผลการศึกษาจึงสรุปไดวา ทุกวิธีการมีทั้งขอดีและขอจำกัดแตกตางกัน การเลือกใชวิธีใดในการตรวจวินิจฉัยขึ้นอยูกับหลายปจจัย เชน ชนิดของเชื้อมาลาเรีย พื้นที่ จำนวน ผูปวยและงบประมาณ เปนตน Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa