SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ผลการออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนต่อความโค้ง และช่วงการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว ในนักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย
ก.ย. 12th, 2016 by rungtiwa

ผลการออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนต่อความโค้ง และช่วงการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว ในนักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย

Effects of Ruesi-Dudton Exercise on Thoracolumbar Curvature and Range of Motion in Female University Students

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลระยะสั้นและระยะยาวของการออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนต่อการเคลื่อนไหวของลำตัวและมุมโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอวในนักศึกษามหาวิทยาลัย เพศหญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ อายุ 18 – 25 ปี จำนวน 40 ราย อาสาสมัครได้รับการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย โดยการสุ่ม อาสาสมัครกลุ่มออกกำลังกายได้รับการฝึกออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนเป็นเวลา 30 นาที/วัน จำนวน 3 วัน/สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนระหว่างการเข้าร่วมการวิจัย อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มได้รับการวัดมุมโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอวและการเคลื่อนไหวของลำตัว 3 ครั้ง คือ ก่อนการวิจัย และหลังการเข้าร่วมการวิจัยในสัปดาห์ที่ 1 และ 6 ผลการศึกษา พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 อาสาสมัครกลุ่มทดลองสามารถแอ่นลำตัวได้มากกว่า และในสัปดาห์ที่ 6 อาสาสมัครมีมุมความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกน้อยกว่า และสามารถแอ่น ก้ม และเอียงลำตัวได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนต่อมุมโค้งของกระดูกสันหลังและการเคลื่อนไหวของลำตัวในนักศึกษามหาวิทยาลัยเพศหญิงซึ่งเป็นกลุ่มที่มักมีการเคลื่อนไหวน้อยและกิจกรรมส่วนใหญ่ในท่านั่งงอตัวเป็นเวลานาน Read the rest of this entry »

ความรู้สึกของการเคลื่อนไหว
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

ความรู้สึกของการเคลื่อนไหว (Proprioception)

บทคัดย่อ:

คุณลักษณะพื้นฐานอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตรวมทั้งมนุษย์คือ การเคลื่อนไหว องค์ประกอบที่สำคัญต่อความสามารถในการเคลื่อนไหวของร่างกายได้แก่ ความรู้สึกของการเคลื่อนไหว ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของข้อต่อและการเคลื่อนที่ส่วนของร่างกายในอากาศ กลับเข้าสู่ศูนย์ประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่ยินยอมให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างมั่นคงและแม่นยำ การเปลี่ยนแปลงปริมาณสัญญาณป้อนกลับของความรู้สึกของการเคลื่อนไหว จะทำให้ความสามารถในการควบคุมระบบประสาทและกล้ามเนื้อเปลี่ยนแปลงด้วย อายุ ความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อ การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ รวมทั้งการสวมใส่อุปกรณ์ประคองข้อต่อ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของความรู้สึกของการเคลื่อนไหว การออกกำลังกายเป็นประจำทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ดังนั้น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการสวมใส่อุปกรณ์ประคองข้อต่อ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้นหรือเนื้อเยื่อที่มีตัวรับความรู้สึกเชิงกลเกิดการบาดเจ็บนั้น สามารถช่วยแก้ไขความบกพร่องในการรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อที่ทำให้เกิดความผิดปกติของความรู้สึกของการเคลื่อนไหว ข้อสั่นคลอน ไม่มั่นคง และทำงานได้ลดลงได้

ดวงพร เบญจนราสุทธิ์. (2548). ความรู้สึกของการเคลื่อนไหว. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 29-37.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa