SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย
ก.พ. 27th, 2019 by dussa

ผู้เขียนได้เข้าฟังการบรรยาย เรื่อง บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นฤตย์  นิ่มสมบุญ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตสรุปความได้โดยสังเขป ดังนี้

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ คือ การศึกษา และค้นคว้าสารสนเทศอย่างเป็นระบบแล้วนำมาสังเคราะห์ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง โดยต้องเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือได้ มีมาตรฐาน โดยการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก ที่มีการตกลงกันไว้ก่อน มีการกำหนดวิธีการสืบค้นที่แม่นยำ เที่ยงตรง และเชื่อถือได้ ดังนั้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จึงมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

  1. กำหนดปัญหา
  2. รวบรวมข้อมูล
  3. ประเมินคุณภาพ
  4. การสังเคราะห์
  5. การแปลผล

บรรณารักษ์มีส่วนในการช่วยนักวิจัยในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ บรรณารักษ์มีหลายบทบาท ตั้งแต่การเป็นผู้แนะนำฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูล บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย ในฐานะเป็นที่ปรึกษา ในฐานะเป็นผู้ให้การศึกษา

Database Selection การพิจารณาคัดเลือกฐานข้อมูลในการสืบค้น เช่น

  1. EBSCOhost
  2. Proquest
  3. CiteSeerx
  4. ฐานข้อมูลงานวิจัยไทย (https://www.researchgateway.in.th/)
  5. Google scholar
  6. Books
  7. Journal articles
  8. Google สืบค้นฐานข้อมูลหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น

Librarian as co-researcher (บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย)

มีงานวิจัยรองรับว่า การทำงานกับบรรณารักษ์สามารถเพิ่มคุณภาพในการสืบค้น โดยเฉพาะเมื่อบรรณารักษ์มีความรู้เกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพราะบรรณารักษ์เชี่ยวชาญด้านกระบวนการกำหนดคำสำคัญและกำหนดหัวเรื่อง Read the rest of this entry »

หลักการออกแบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลด้วยแผนภาพ ER
พ.ค. 11th, 2016 by sirinun

หลักการออกแบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลด้วยแผนภาพ ER

หลักการออกแบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลด้วยแผนภาพ ER

การออกแบบฐานข้อมูลเพื่อประยุกต์ใช้งานตามความต้องการเป็นทักษะที่สำคัญของนักพัฒนาระบบสารสนเทศ ถ้าการออกแบบไม่ดีจะส่งผลให้การประยุกต์ใช้ไม่ได้ประสิทธิภาพ หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจเรื่องการออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ด้วยแผนภาพแบบจำลองอีอาร์ ทั้งของแชนและคราวน์ฟุต การแปลงแผนภาพแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตีของแชน การแปลงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตีเป็นตารางข้อมูล โดยการสรุปหลักการแปลงเป็นกฎต่างๆ พร้อมยกตัวอย่างการออกแบบฐานข้อมูลสำหรับโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาและออกแบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลได้ด้วยตนเอง โดยผู้เขียนได้วิเคราะห์หลักการออกแบบฐานข้อมูลไว้ให้ผู้ที่สนใจศึกษา   หมวดหมู่ QA76.9.D26 จ318ห 2558

รายการอ้างอิง

จารี ทองคำ. (2558). หลักการออกแบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลด้วยแผนภาพ ER. มหาสารคาม : กากะเยีย.

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa