SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเข้าร่วมจัดนิทรรศการเสมือนจริง หอจดหมายเหตุ : พลังแห่งความรู้
ก.พ. 4th, 2021 by namfon

ผู้เขียนได้มีโอกาสเรียบเรียงเนื้อหาแนะนำหอจดหมายเหตุหน่วยงาน และเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ ประเภทภาพถ่าย ชื่อชุดพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ นับเป็นครั้งแรกที่หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมในครั้งนี้  เนื่องจากเป็นสมาชิกเครือข่ายสมาคมจดหมายเหตุไทย  โดยการเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการเสมือนจริง เรื่อง หอจดหมายเหตุ : พลังแห่งความรู้ (Archives: Empowering Knowledge Societies) เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันจดหมายเหตุแห่งชาติสากล ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน  และวันแห่งการสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี

สื่อประชาสัมพันธ์ Cr. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ในปี พ.ศ. 2563 หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้มีโอกาสเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการดังกล่าว ประกอบด้วยกัน 2 ส่วน ดังนี้  ส่วนแรก  รู้จักภาคีเครือข่ายจดหมายเหตุ  เป็นการแนะนำหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้กล่าวถึงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุและพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ โดยอธิการบดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยมีเนื้อหาพอสังเขป “…หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  เป็นหน่วยงานสนับสนุนหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นในวาระครบรอบ 80 ปี ของ “มูลนิธิฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง” ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจีนที่ใหญ่ที่สุดในสังคมไทย  เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติ  น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และมีความหมายต่อชาวจีนที่เข้ามาอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารเป็นอย่างยิ่ง ด้วยประวัติการก่อตั้ง… วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งหอจดหมายเหตุ และข้อมูลการติดต่อ…” Read the rest of this entry »

ซีรีย์จดหมายเหตุ : “แนะนำชุดเอกสารในหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”
ม.ค. 31st, 2021 by matupode

เมื่อพูดถึงหอจดหมายเหตุ หลายๆ คนอาจยังสงสัยหรือมีคำถามอยู่ว่าคืออะไร เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอะไร ผู้เขียนทำงานด้านจดหมายเหตุมามากว่า 20 ปี ก็ยังคงได้ยินคำถามนี้อยู่บ่อยๆ วันนี้เลยจะมาบอกเล่าเกี่ยวกับหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติว่างานจดหมายเหตุเราทำอะไรบ้าง  และอะไรคือเอกสารจดหมายเหตุที่เราจัดเก็บ

จริงๆ แล้วหากเราจะเปรียบงานจดหมายเหตุให้เข้าใจง่ายๆ งานจดหมายเหตุจะมีลักษณะงานคล้ายๆ กับงานของห้องสมุด  จะแตกต่างกันตรงที่ว่างานจดหมายเหตุจะจัดเก็บเอกสารต้นฉบับหรือเอกสารชั้นต้น และให้บริการในลักษณะปิด  ในขณะที่ห้องสมุดจะจัดเก็บหนังสือและให้บริการแบบเปิด

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  อาจมีลักษณะแตกต่างจากหอจดหมายเหตุอื่นๆ สืบเนื่องจากตอนก่อตั้งผู้บริหารได้วางนโยบายในการจัดเก็บเอกสารไว้ว่า นอกจากจะจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแล้ว จะต้องจัดเก็บเอกสาร สิ่งพิมพ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกับบริบทของมหาวิทยาลัยฯ ด้วย เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โรงพยาบาลหัวเฉียว  และเอกสารหรือสิ่งพิมพ์จังหวัดสมุทรปราการ

นับตั้งแต่มีการจัดตั้งหอจดหมายเหตุเมื่อปี พ.ศ. 2540 จวบจนปัจจุบัน หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ ดำเนินการมาร่วม 23 ปี ได้รวบรวมเอกสารและสิ่งพิมพ์ไว้จำนวนมาก โดยได้แบ่งกลุ่มเอกสารเป็นกลุ่มหลักๆ  ดังนี้

1. เอกสารจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ

– เอกสารจดหมายเหตุหน่วยงานสายสนับสนุน เช่น เอกสารกองกลาง กองอาคารสถานที่  สำนักทะเบียนและประมวลผล  สำนักพัฒนาวิชาการ  สำนักพัฒนานักศึกษา  และศูนย์วัฒนธรรม

– เอกสารจดหมายเหตุคณะวิชา เช่น เอกสารคณะศิลปศาสตร์  คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม  คณะบริหารธุรกิจ  คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม Read the rest of this entry »

ถอดบทสัมภาษณ์ “รองศาสตราจารย์ประจักษ์ พุ่มวิเศษ” อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.ค. 23rd, 2020 by matupode


หอจดหมายเหตุมีโครงการจัดทำหอเกียรติยศ (Hall of Fame) สำหรับผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฯ  เช่น  ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยทุกท่าน ปัจจุบันมีทั้งหมด 6 ท่าน เผยแพร่ผ่าน เว็บไซต์ของหอจดหมายเหตุ https://lib-km.hcu.ac.th/hcu-archives/index.php/hall-of-fame  ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล

Read the rest of this entry »

บทบาทงานจดหมายเหตุในกระแส Big Data และสังคมแห่งการเรียนรู้ 
ต.ค. 8th, 2019 by namfon

จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ หัวข้อเรื่อง บทบาทงานจดหมายเหตุในกระแส Big Data และสังคมแห่งการเรียนรู้ ณ ห้องประชุม ชั้น 5 ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 8-9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08.30-16.30 น. รวมระยะเวลา 2 วัน จัดโดยสมาคมจดหมายเหตุไทยร่วมกับหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ  สามารถสรุปผลที่ได้รับจากการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ดังนี้

 

1.ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง สารสนเทศ : รากฐานของความรู้และการพัฒนา (โดย ดร. เตช บุนนาค)

พ.ศ. 2509-2510 การจดหมายเหตุไทยยังไม่เจริญเหมือนในปัจจุบัน เริ่มไปค้นหาเอกสารจดหมายเหตุที่ตึกถาวรวัตถุ กระทรวงมหาดไทย เอกสารเกี่ยวกับกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  การเก็บเอกสารยังไม่เป็นระบบ ยังไม่มีห้องบริการค้นคว้า เอกสารกระจัดกระจายและมีฝุ่นหนามาก แต่เจ้าหน้าที่ก็ทำงานกันอย่างเต็มที่

พ.ศ. 2512 รับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเวลา 35 ปี ได้เสนอให้กระทรวงการต่างประเทศ  นำเอกสารไปเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ ตัวอย่างเช่น แผนที่แม่น้ำโขง การแบ่งดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส หรือจดหมายขอความร่วมมือเวียดนาม-ไทย  หลังเกษียณจากกระทรวงการต่างประเทศ ในหลวงรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้ไปทำเอกสารจดหมายเหตุสำนักราชเลขาธิการ เกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ศาลายา เป็นงานจดหมายเหตุที่ภาคภูมิใจมาก

หอจดหมายเหตุเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ได้มีโอกาสไปทำงานที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ ตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงปัจจุบัน  เก็บเอกสารไว้เป็นอย่างดี   สมัยก่อนเขียนบนแผ่นศิลาจารึก ทำให้รู้ประวัติศาสตร์จากศิลาจารึก ปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมาก  การดิจิทัลเป็นการอนุรักษ์เอกสาร ในขณะเดียวกัน  ยังใช้เอกสารแบบเก่าๆ อยู่บ้าง เช่น ไมโครฟิล์ม เพื่อจะได้รักษาเอกสารให้คงอยู่ได้นานๆ  ปัจจุบันมีจัดตั้ง
หอจดหมายเหตุ เช่น หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า และหอจดหมายท่านพุทธทาส อินทปัญโญ เป็นต้น Read the rest of this entry »

บันทึกความทรงจำกับการทำ Oral history : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า
มิ.ย. 30th, 2019 by matupode

 


Oral history  ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า เป็นงานอย่างหนึ่งของนักจดหมายเหตุ ถามว่าทำไมต้องเป็นอย่างนั้น เพราะโดยปกตินักจดหมายเหตุจะให้ความสำคัญกับเอกสารลายลักษณ์ หรือเอกสารต้นฉบับเป็นอันดับแรก นั่นเพราะบางครั้งองค์ ความรู้ ประสบการณ์ที่คนๆ หนึ่งมี ความเชี่ยวชาญก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นักจดหมายเหตุจึงต้องหาวิธีการต่อยอดองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ให้สูญหาย ประกอบกับเอกสารต้นฉบับบางครั้งเนื้อหาของเอกสารก็ไม่ได้สมบูรณ์เสมอไป การได้มาซึ่งความครบถ้วนของข้อมูลจึงเป็นงานส่วนหนึ่งของนักจดหมายเหตุ

Oral history หรือ “ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า” หมายถึง การบันทึก อนุรักษ์ และตีความหมายของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัวและความเห็นของผู้เล่าเหตุการณ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ เป็นการสร้างข้อมูลที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่ใช่หลักฐานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นการสัมภาษณ์เรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ผ่านประสบการณ์นั้นโดยตรง หรือเป็นเรื่องราวชีวิตของผู้ถูกสัมภาษณ์เอง การหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากการสัมภาษณ์เป็นหลักฐานประเภทหนึ่ง นอกเหนือจากหลักฐานโบราณคดีตัวเขียน หลักฐานประเภทสิ่งของ และภาพบันทึกต่างๆ Read the rest of this entry »

การจัดการจดหมายเหตุดิจิทัล เอกสารสำคัญขององค์กร
ต.ค. 1st, 2018 by namfon

หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  ได้เข้าร่วมฟังสัมมนาทางวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง การจัดการจดหมายเหตุดิจิทัล เอกสารสำคัญขององค์กร  เมื่อวันศุกร์ที่ 31 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561   เวลา 07.45-16.30 น.  ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารพิทยพัฒน์   มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช   จัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.)ในการฝึกอบรมวิทยากรผู้บรรยาย มีจำนวน 4 ท่าน ดังนี้

1.  รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน
2.  รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล
3.  อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์
4.  รองศาสตราจารย์ ดร.สมสรวง พฤติกุล

รองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด พรมจุ้ย  (รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและสนับสนุนการเรียนรู้ มสธ.)  กล่าวรายงานผู้เข้าร่วมฟังสัมมนาฯ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรทางการศึกษาจากองค์กรภาครัฐ เอกชน และผู้สนใจทั่วไป   จำนวนทั้งสิ้น 170 หน่วยงาน   ผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 309 ท่าน    การจัดสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบวันสถาปนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครบรอบ 40 ปี วันที่ 5 ก.ย. 2561 ซึ่งได้รับทราบมุมมองการจัดการจดหมายเหตุขององค์กร ความคาดหวังและการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเอกสารจดหมายเหตุ  ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า (รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการสัมมนาทางวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้  หัวข้อการบรรยาย มีดังต่อไปนี้ Read the rest of this entry »

การบริหารทรัพยากรสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ : การจัดการสมดุลระหว่างเอกสารทรงคุณค่ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่
มี.ค. 16th, 2016 by namfon

จากการที่บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมฟังการสัมมนาทางวิชาการ ในโครงการสัมมนาทางวิชาการ : เทิดพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง “การบริหารทรัพยากรสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ : การจัดการสมดุลระหว่างเอกสารทรงคุณค่ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่” ซึ่งจัดโดย สำนักหอสมุดกลาง และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร นั้น สามารถสรุปประเด็นความรู้ได้ดังนี้

เริ่มด้วยการกล่าวรายงาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช (อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ) และพิธีเปิดโดยผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กิจกรรมในภาคเช้า เวลา 09.00-12.00 น. บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร และรองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ

ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร บรรยายหัวข้อ “เอกสารทรงคุณค่า คลังแห่งปัญญาไทย” Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa