SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วกับแนวทางการจัดการในประเทศไทย
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วกับแนวทางการจัดการในประเทศไทย

บทคัดย่อ:

น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วถือเป็นของเสียอันตราย ที่ต้องดำเนินการบำบัดและจัดการให้ถูกต้องเพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีระบบการจัดเก็บรวบรวมน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการนำกลับไปใช้ประโยชน์หรือกำจัดทิ้งอย่างผิดกฎหมาย บทความนี้ได้อธิบายผลกระทบของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น ส่วนประกอบของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วมีสารโพลิไซคลิกอะโรมาติกซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และเมื่อน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศน์ในน้ำ รวมทั้งยังถูกสะสมและถ่ายทอดในระบบห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต พร้อมทั้งเสนอแนวทางการนำน้ำหล่อลื่นที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การกลั่นใหม่ และการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งการกลั่นใหม่เป็นวิธีที่ให้ประโยชน์สูงสุดทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการกลั่นแต่ละกระบวนการจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดการน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วในประเทศไทย

พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2547). ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วกับแนวทางการจัดการในประเทศไทย.  วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 59-69.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

การจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ

Hazardous Waste in Laboratory Management

บทคัดย่อ:

ของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการตรวจวิเคราะห์และการทดลองต่างๆ ในห้องปฏิบัติการมีทั้งของเสียที่เป็นอันตรายและของเสียที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งภายในห้องปฏิบัติการของประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังไม่มีระบบการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นนี้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งของเสียอันตราย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม บทความนี้ จึงนำเสนอถึงแนวทางในการจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ โดยเริ่มจากการพิจารณาประเภทของของเสียอันตรายจากคุณสมบัติ เช่น ความไวไฟ ความเป็นพิษ การกัดกรอน และการเกิดปฏิกิริยา แล้วจึงทำการแยกประเภทของเสียอันตรายก่อนทิ้ง โดยอาจแบ่งตามความเข้ากันได้ การเกิดปฏิกิริยา และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ของเสียแต่ละประเภท อาทิ ของเสียประเภทกรด ของเสียที่เป็นน้ำมันและของเสียประเภทตัวทำละลายอินทรีย์ เป็นต้น นอกจากนี้ได้นำเสนอแนวทางในการจัดการของเสียเบื้องต้นที่สามารถนำไปใช้ได้ในทางปฏิบัติ เช่น การเลือกภาชนะบรรจุของเสีย การติดฉลากระบุรายละเอียดของเสียบทภาชนะ และให้อบรมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa