SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เก็บความจาก Knowledge Sharing : การเขียนโครงการ
พ.ย. 26th, 2019 by dussa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หรือ Knowledge Sharing เพื่อตอบโจยท์ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย  ข้อที่ 6 บริหารจัดการมหาวิทยาลัยและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการ ข้อที่ 2.5 สนับสนุนส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานมีการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO)

ดังนั้น คณะกรรมการจัดการความรู้ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมติเห็นว่า บุคลากรในหลายแผนกไม่มีความรู้ หรือความชำนาญในการเขียนโครงการ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น ควรเรียนรู้ไว้ และจำเป็นที่จะต้องเขียนโครงการให้เป็น จึงได้กำหนดหัวข้อการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  “การเขียนโครงการ” ในวันที่ 16, 30 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00-15.30 ณ ห้องประชุม 212 ชั้น 2 อาคารบรรณสาร

ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยสรุป องค์ความรู์จากวิทยากร คือ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มีดังนี้

โครงการ  หมายถึง  การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบ  ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน  และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน  การเขียนโครงการจึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการวางแผนที่จะทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย โครงการที่ดำเนินการ ต้องมีความเชื่อมโยกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ แผนปฏิบัติงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังภาพ

 

ความพันธ์ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ มีดังนี้

  1. ผู้อนุมัติ
  2. ผู้ทำโครงการ
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. ผู้ประเมิน

ความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ

ในการอบรม การเขียนโครงการครั้งนี้ ยึดแนวทางปฎิบัติตามแบบฟอร์มที่ทางกองแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  คือ แบบ 103  From-project-103    ซึ่งมีส่วนประกอบ ดังนี้ Read the rest of this entry »

การศึกษาดูงาน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ม.ค. 30th, 2017 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ทัศนศึกษา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2559 นำโดย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และทีมงานจำนวน 17 คน โดยมีการกำหนดหัวข้อในการขอเข้าฟัง ดังนี้

  1. การบริหารจัดการในภาพรวมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. การพัฒนาฐานข้อมูลการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ที่ผู้ใช้ตรวจสอบเอง และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การนำระเบียนข้อมูลทางบรรณานุกรมเข้าระบบ WorldCat
  3. การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
  4. การพัฒนานวัตกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. การบริการเชิงรุก
  6. การให้บริการ WorldShareILL
  7. การจัดการความรู้
  8. การประกันคุณภาพ
  9. การอนุรักษ์พลังงาน
บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ผอ. วรารักษ์ พัฒนเกียรติพงศ์) และบุคลากรที่มาต้อนรับ ทุกท่าน (ประกอบด้วย คุณคัทลียา  ปรีชานิ คุณปราชญ์ สงวนศักดิ์  คุณหวานใจ อรุณ คุณศุภวรรณ อาจกล้า  คุณสุรินทรา  หล้าสกูล คุณสดศรี  กันทะอินทร์  คุณศิริมนัส  อินต๊ะแก้ว และคุณจิราภรณ์  หาบุญ) ที่เร่งทำเวลาในการบรรรยายให้ความรู้ ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความเห็น และตอบคำถาม จึงขอสรุปข้อความรู้ในประเด็นหลักๆ ดังนี้ Read the rest of this entry »

Knowledge Sharing “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.”
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing หัวข้อ “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.” โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator ในการจัดการความรู้เกี่ยวกับการรับไฟล์วิทยานิพนธ์ งานวิจัยของ มฉก. จากเดิม ซึ่งอาจจะมีกระบวนการที่ไม่เป็นระบบ นำมาหารือและจัด work flow ของการไหลของงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดย

1. ประสานงานกับบัณฑิตวิทยาลัย และสำนักพัฒนาวิชาการในการส่งไฟล์วิทยานิพนธ์และงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอ หรือกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอน

2. ตัวเล่มของวิทยานิพนธ์ งานวิจัย ส่งมายังแผนกจัดหาและวิเคราะห์ ผ่านหัวหน้าแผนกฯ เพื่อส่งต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายในการลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดและลงรายการเมทาดาทาของ THAILIS

3. ส่งไฟล์ไปยังแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของไฟล์ การลงเมทาดาทาในไฟล์ การใส่ watermark รวมทั้งการทำเป็น PDF/A

4. ส่งไฟล์เข้าระบบ THAILIS

ส่วนแผ่นซีดีที่บันทึกวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยนั้น ให้ทำลายก่อนการทิ้ง

ในส่วนของ Collection สิ่งพิมพ์พิเศษ มฉก. นั้น เนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการผลิตสิ่งพิมพ์ในวาระและโอกาสต่าง ๆ จึงเห็นสมควรที่จะมีการเก็บเป็นสิ่งพิมพ์พิเศษ เฉพาะของมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดประเภทของสิ่งพิมพ์ตามเนื้อหาและกำหนดรหัสตามเนื้อหา แบ่งตามคณะ หน่วยงานที่ออกสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือที่ระลึก มีรหัสเป็น 1 งานวิจัย กำหนดรหัสเป็น 15 เป็นต้น เพื่อให้สามารถรวบรวมสิ่งพิมพ์ มฉก. ไว้ในที่เดียวกันและได้รับการจัดประเภทและหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วในบางส่วนเป็นตัวอย่าง

Knowledge Sharing รู้จัก เข้าใจ วางแผน และประเมินผล
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกบริการสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing สำหรับบุคลากรแผนกกิจกรรม เพื่อรับฟังประสบการณ์ และแนวทางที่ควรจะเป็นสำหรับการให้บริการ โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator จากหัวข้อ รู้จัก เข้าใจ วางแผน และประเมินผล

แบ่งกลุ่มแต่ละ Generation

แบ่งกลุ่มแต่ละ Generation

ในช่วงแรก ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับคนในแต่ละ Generation เนื่องจากในแต่ละ Generation นั้น อยู่ในช่วงอายุใด มีความสนใจ มีความต้องการอะไร เพื่อจะได้เทียบเคียงกับผู้ใช้บริการที่มีหลากหลาย แต่กลุ่มผู้ใช้กลุ่มใหญ่ คือ นักศึกษา ซึ่งเป็น Gen Y และผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มอาจารย์ที่อาจจะอยู่ใน Gen อื่น ๆ จึงควรจะต้องมีความเข้าใจกลุ่มคนในแต่ละ Gen เพื่อให้สามารถจัดการ วางแผนการให้บริการให้ตรงหรือเหมาะสมกับผู้ใช้ในแต่ละ Gen ได้ ได้มีการจัดกลุ่มของบุคลากรแผนกบริการสารสนเทศ และผู้ที่ต้องหมุนมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ ในบางช่วงเวลา เพื่อให้ทราบว่า อยู่ใน generation ใด เพื่อเทียบเคียงกับกลุ่มผู้ใช้บริการ

 

เสนอบริการใหม่

เสนอบริการใหม่

ในช่วงที่สอง ได้เริ่มให้เข้าใจงานบริการมากขึ้น การออกแบบการให้บริการ ประกอบด้วย content และสื่อต่างๆ ในการเข้าถึง มีการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอ บริการใหม่ ๆ และนำมาแลกเปลี่ยนกันถึง สาเหตุของการเสนอบริการนั้น ๆ และควรจะจัดบริการนั้น ออกมาในรูปแบบใด ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง เพื่อจะได้ให้บุคลากรเรียนรู้ในการวางแผนการจัดบริการ และขั้นตอนสุดท้าย ต้องมีการประเมินผลการให้บริการ เพื่อตัดสินใจว่า งานบริการนั้น ควรให้บริการต่อหรือไม่ หรือ ต้องให้เวลาในการให้บริการต่อไปอีกระยะเวลาหนึ่ง

จากกิจกรรม Knowledge Sharing ดังกล่าว คาดว่าจะทำให้บุคลากรในแผนกบริการสารสนเทศ และบุคลากรท่านอื่น ๆ ที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ เกิดมุมมองในการให้บริการมากขึ้น และรู้จักกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น มีการวางแผน มีการประเมินผล เพื่อพัฒนาการให้บริการต่อไป

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa