SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
WFH งาน Catalog จากใบสั่งซื้อ
ม.ค. 22nd, 2021 by suwanna

เนื่องจากมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ละลอกใหม่  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ดำเนินการตามมาตรการของรัฐบาลและแนวทางของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม  (อว.) ในการปิดมหาวิทยาลัยเป็นการชั่วคราว และให้ทำงานจากที่บ้าน (Work from home)

ผู้เขียน เป็นบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จึงได้เตรียมงานที่สามารถทำจากที่บ้านได้ โดยนำใบสั่งซื้อจากร้านค้า  มาตรวจสอบกับระบบห้องสมุด และบันทึกข้อมูลในส่วนที่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่สะดวกในเรื่องการนำหนังสือมาวิเคราะห์และลงรายการทางบรรณานุกรมจากที่ทำงานมาทำที่บ้าน การสแกนหน้าปก เพื่อจะได้นำมาทำที่บ้าน ไม่สามารถจัดเตรียมได้ทัน เนื่องจากปิดมหาวิทยาลัยค่อนข้างกระทันหัน  หัวหน้าแผนกฯ จึงได้มอบหมายให้นำใบสั่งซื้อจากร้านค้า มาดำเนินการในส่วนของ
งานวิเคราะห์ฯ ในเบื้องต้น

 

  • ใบสั่งซื้อจากร้านค้า

โดยมีการทำงานจากที่บ้าน ดังนี้ Read the rest of this entry »

การลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศตามมาตรฐาน RDA
ก.ค. 7th, 2017 by jittiwan

บรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ต้องศึกษาพัฒนาการในการลงรายการทางบรรณานุกรม เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่ลงรายการให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุดให้มากที่สุด การลงรายการทางบรรณานุกรม ก็เพื่อต้องการสร้างช่องทางในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ การแสดงผลทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้มีการสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อผู้ใช้ข้อมูล

ปัจจุบัน คำว่า RDA หรือ Resource Description and Access เป็นคำที่ได้ยินกันหนาหูในกลุ่มบรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ว่าจะมาแทนที่ AACR II ผู้เขียน จึงได้ศึกษาและสรุป RDA จากผู้รู้ ไว้ดังนี้

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐาน RDA Read the rest of this entry »

การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC
ก.พ. 7th, 2017 by wanna

ก่อนที่ผู้เขียนจะมาปฏิบัติงานในตำแหน่งบรรณารักษ์ วิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรภาษาจีน ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ์ ผู้เขียนได้ปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรับผิดชอบการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และ ก่อนหน้านั้นได้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสาขาหลายแห่งของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากผู้เขียนมีพื้นความรู้ภาษาจีน จึงได้ช่วยบรรณารักษ์ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ ของ สำนักหอสมุด แปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ซึ่ง ในระยะแรก ๆ ผู้เขียนจะแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน โดย ใช้ระบบการสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin และ เขียนคำศัพท์ตามคำศัพท์ภาษาจีนเช่น คำว่า ภาษาจีน (汉语)จะแปรเป็นอักษรโรมันตามระบบ Pinyin อ่านว่า hanyu ซึ่งจะเขียนติดกัน แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้มาปฏิบัติงานที่ ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ สำนักหอสมุด และ รับผิดชอบงานการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรภาษาต่างประเทศ โดย รวมถึงภาษาจีนนั้น ผู้เขียนพบว่า การลงรายการทรัพยากรภาษาจีนของ OCLC จะสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin โดยสะกดแยกคำออกจากกัน เช่น คำว่า ภาษาจีน(汉语)จะสะกดเป็น Han yu โดยเขียนแยกกัน และ ใช้ H เป็นอักษรตัวใหญ่ ตามหลักของการเชียนภาษาอังกฤษ โดยใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น English, Chinese และ ชื่อประเทศ ชื่อมณฑล ชื่อเมือง ก็จะเขียนอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ และ เขียนติดกัน เช่น คำว่าประเทศจีน (中国)จะสะกดและเขียนเป็น Zhongguo ปักกิ่ง (北京)สะกดและเขียนเป็น Beijing เป็นต้น หลังจากผู้เขียนได้อ่านระบบการแปรอักษรจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC Romanization แล้ว จึงทราบความเป็นมาและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ดังนี้  การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa