จากการปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services-WMS ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนที่ห้องสมุดนำข้อมูลเข้าในระบบ WMS เขตข้อมูลชื่อผู้แต่ง (tag 100) และเขตข้อมูลชื่อเรื่อง (tag 245) จะต้องสะกดออกเสียงตามระบบ pinyin ชื่อผู้แต่ง (tag 100) จะต้องลงรายการเป็นอักษรจีน และ ต้องเพิ่ม tag 100 อีกเพื่อแปรอักษรจีนเป็นคำสะกดตามระบบ pinyin โดยอิงหลักเกณฑ์ตาม ALA-LC และ ชื่อเรื่อง (tag 245) จะเขียนเป็นอักษรจีน และเพิ่ม tag 245 อีกเช่นกัน เพื่อแปรอักษรจีนเป็นคำสะกดตาม ระบบ pinyin โดยเขียนสะกดแยกคำออกจากกัน แต่เนื่องจากโดยทั่วไปการสะกดคำตามระบบ pinyin จะสะกดตามที่นิยมเขียนเป็นคำศัพท์ที่ติดกัน เช่น 外国 เขียนสะกดตามระบบ pinyin เป็น waiguo หรือ 文化 จะเขียนเป็น wenhua จะไม่เขียนแยกเป็น wai guo หรือ wen hua
ข้อสังเกตจากการปฏิบัติงาน คือ ทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนบางเล่มจะพิมพ์ชื่อเรื่องตามหลักทั่วไป คือเขียนติดกันในหน้า colophon (หมายถึง หน้าที่มีข้อมูลทางบรรณานุกรม ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง และ ที่อยู่ของสำนักพิมพ์ เป็นต้น) ดังนั้น การลงรายการชื่อเรื่อง (tag 245 ) นอกจากเพิ่ม tag 245 เพื่อพิมพ์สะกดชื่อเรื่องเป็น pinyin ที่สะกดคำแยกกันแล้ว จะต้องลงรายการเพิ่มชื่อเรื่องในเขตข้อมูล 246 (tag 246) เพื่อสะกดชื่อเรื่อง pinyin ที่เขียนติดกันตามที่ปรากฏในหน้า colophon เพื่อให้สามารถสืบค้นชื่อเรื่องตามที่ใช้กันโดยทั่วไป
Read the rest of this entry »
การประเมินหลักสูตรและโครงการวิจัยประเมินหลักสูตร ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาแต่ละหลักสูตรที่เปิดให้มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ภาพรวมของแต่ละหลักสูตร มีความเหมาะสมและมีคุณภาพดีเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มีความเหมาะสมทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ทักษะด้านปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบต่อสังคม การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติ ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรต่อไป
ศูนย์บรรณสารสนเทศ รวบรวมงานวิจัยการประเมินหลักสูตรต่าง ๆ ไว้อย่างครบถ้วน มีการจัดหมวดหมู่ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถยืมไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาการทำรายการให้มีความทันสมัยและได้ข้อมูลตามหลักสากล ง่ายต่อการเข้าถึง มีการเพิ่มรายละเอียดในส่วนของสารบัญย่อ การเพิ่มรายชื่อผู้วิจัยทุกคน และเพิ่มอักษรย่อสาขาวิชาไว้ภายใต้ปีพิมพ์ของการจัดหมวดหมู่ ให้อีกช่องทางหนึ่ง
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เปิดการเรียนการสอน หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโครงการสวัสดิการสังคม และ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 ต่อมามีหลักสูตรอื่น ๆ อีกหลายหลักสูตร มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาได้ส่งวิทยานิพนธ์ (Thesis) และภาคนิพนธ์ ต่อมาภาคนิพนธ์ได้เปลี่ยนเป็นการศึกษาอิสระ (Independent Study) เก็บให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ และเพื่อเป็นการจัดการทรัพยากรสารสนเทศประเภทนี้ ให้เป็นระบบมากขึ้น ได้มีการปรับเปลี่ยน Call Number ลดจำนวนการจัดเก็บ และทบทวนการลงรายการการศึกษาอิสระให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1. เพื่อปรับเปลี่ยนการลงรายการการศึกษาอิสระให้มีสถานะทันสมัย มีการวิเคราะห์หมวดหมู่ (Call Number) ให้ง่ายขึ้น แต่เดิมศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ทำการวิเคราะห์หมวดหมู่การศึกษาอิสระ ตามเนื้อหา มี 2 ระบบ คือ ระบบการจัดหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) สำหรับการศึกษาอิสระที่มีเนื้อหาทางด้านสังคมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่อยู่ในขอบเขตของระบบดังกล่าว และใช้ระบบการจัดหมวดหมู่ระบบการแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National library of Medicine Classification) สำหรับการศึกษาอิสระที่มีเนื้อหา หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ สาขาต่าง ๆ เช่น สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ เป็นต้น ปรับเปลี่ยน Call Number ให้เป็นหมวดหมู่ที่ศูนย์บรรณสารเทศ กำหนดเอง (Local Call Number) ประกอบด้วย มฉก (เพื่อแสดงถึงสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัย) ภ หมายถึง ภาคนิพนธ์ และตามด้วยชื่อผู้ทำรายงานการศึกษาอิสระ เลขผู้แต่ง ต่อด้วยตัวอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง และปีที่ทำรายงาน ตัวอย่าง มฉก. ภ ก397ก 2562 ดังตัวอย่างภาพข้างล่าง Read the rest of this entry »
ในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มีฟังก์ชั่นการใช้งาน คือ Open Details เพื่อให้สามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดของรายการทางบรรณานุกรมของระเบียนนั้น ๆ ได้
ในกรณีที่ต้องการสืบค้นเพื่อต้องการทราบว่า หนังสือที่สืบค้นนั้น ประกอบด้วย เลขบาร์โคด ใดบ้าง สามารถตรวจสอบผ่าน Open Details ได้ ดังนี้
1. สืบค้นรายการหนังสือที่ต้องการ
แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่จัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท เช่น หนังสือ วารสาร Board Game สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ เพื่อนำมาให้บริการผู้ใช้ห้องสมุด นอกจากสิ่งที่กล่าวมานั้น ศูนย์บรรณสารสนเทศยังให้บริการสิ่งของต่าง ๆ ที่เรียกว่า “Library of Things”
Library of Things หมายถึง สรรพสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือหนังสือ ที่ห้องสมุดมีให้ยืม โดยไม่คิดมูลค่าหรือมีค่าใช้จ่ายในการขอใช้บริการ แต่อย่างใด ซึ่งอาจจะเป็นได้ตั้งแต่ เครื่องใช้ในครัว อุปกรณ์ทำสวน และเมล็ดพันธุ์พืช อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ของเล่น เกมส์ ชุดวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์งานฝีมือ เครื่องดนตรี และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อเป็นการขยายการให้บริการของห้องสมุด และเพื่อให้ห้องสมุดเป็นสถานที่ ที่ทุกคนสามารถเข้าใช้บริการ และยืมสิ่งอื่น ๆ ได้นอกเหนือจากหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ สื่ออื่น ๆ
การลงรายการทางบรรณานุกรมของสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่จัดอยู่ใน Library of Things เข้าระบบห้องสมุด เพื่อให้สามารถเก็บหลักฐานจำนวนของการมีสิ่งของเหล่านี้ จำนวนของการใช้บริการ บรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องศึกษาลักษณะของสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้มีการลงรายการทางบรรณานุกรมตามหลักเกณฑ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับสิ่งของต่าง ๆ
การลงรายการบรรณานุกรม เข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน แล้วเลือก Module Metadata
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้มีการจัดพิมพ์โครงการตำรามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตำราที่อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้เขียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นตำราประกอบการเรียนการสอนประจำวิชา หรือเพื่อใช้ศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ที่สนใจ
ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะได้รับตำราที่จัดพิมพ์นี้ รวบรวมเพื่อให้บริการแก่อาจารย์และนักศึกษาที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้าซึ่งแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะดำเนินการลงรายการในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services (WMS) เพื่อให้สามารถสืบค้นได้ต่อไป
หลักเกณฑ์ในการลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือประเภทตำรา นี้ งานวิเคราะห์ทรัพยากรฯ จะลงรายละเอียดขอบเขตของหนังสือไปตามขั้นตอนและกำหนดการลงรายการทางบรรณานุกรม แต่จะมีการกำหนดคำค้น เพื่อให้สืบค้นได้จากหลักเกณฑ์ทั่ว ๆไป เช่น จากชื่อผู้เขียน ชื่อเรื่อง หัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา แล้วยังมีการกำหนดหัวเรื่อง ว่า ตำรา (มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ) ไว้ใน Tag 690 เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นได้ และเป็นการควบคุมข้อมูลที่เกี่ยวกับตำรา ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ทั้งหมด Read the rest of this entry »
ผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่ในงานจัดหา ของแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับมอบหมายในการลงรายการเบื้องต้น (Key Basic Tag) ในการสร้าง Order ของฐานข้อมูลห้องสมุด เพื่อเป็นการลงรายการทางบรรณนุกรมเบื้องต้น และเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบรรณารักษ์แผนกวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms 2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการ การสืบค้นสามารถสืบค้นได้ทั้ง 2 โมดูล คือ ในโมดูล Acquisition เลือก Discover Items Search และโมดูล Metadata เลือก Record Manager Search โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้ 2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหา My Library Holding , All WorldCat, My LHRs 2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number 2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น ต้องการหาผู้แต่งชื่อ ปรางค์สุทิพย์ ทรงวุฒิศีล Read the rest of this entry »
หลังจากที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้นำระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่จัดหามาเพื่อให้บริการแก่ชุมชนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติแล้ว บุคลากรแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อร่วมกันจัดทำคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata เพื่อใช้เป็นคู่มือให้กับผู้ปฏิบัติงานในแผนกฯ ได้ลงรายการในระบบไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 มีผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และบรรณารักษ์แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้จากการที่ได้รับการอบรม และทดลองการใช้ระบบ จนสามารถสรุปเป็นคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ได้ดังนี้
คู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail
วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS
เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ
Notification Alert
ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่
วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม
การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS
ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording
งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS
งานสร้างระเบียนสมาชิก
No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร
การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)
งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก
วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2 ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1