SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เครื่องมือช่วยค้นหาวารสารที่เหมาะสมในการเผยแพร่บทความและงานวิจัย
มิ.ย. 25th, 2017 by pailin

หนึ่งในกระบวนการสร้างสรรค์งานวิจัยนั้น ต้องมีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่บทความงานวิจัยออกสู่สาธารณชน ผ่านวารสารทางวิชาการที่มีอยู่มากมาย ดังนั้น ในการพิจารณาเลือกวารสารที่จะใช้เผยแพร่บทความของนักวิจัยนั้น จึงมีความสำคัญมาก เพราะ มีส่วนช่วยให้บทความนั้นถูกค้นพบ นำไปใช้ และอ้างถึง  ช่วยส่งเสริมในการประเมินคุณค่างานวิจัยชิ้นนั้น และเพิ่มอันดับให้นักวิจัยได้ด้วยเช่นกัน

ด้วยความจำเป็นดังกล่าว ทางสำนักพิมพ์ Elsevier จึงได้พัฒนาเครื่องมือ Elsevier Journal Finder ไว้อำนวยความสะดวกให้กับนักวิจัย ในการค้นหาวารสาร เปรียบเทียบข้อมูล พร้อมทั้งประเมินความเหมาะสมในการเผยแพร่บทความ โดยใช้เทคโนโลยีการค้นหาอัจฉริยะและคำศัพท์เฉพาะเจาะจงในการวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสม เพื่อหาวารสารในเครือ Elsevier ที่ตรงกับลักษณะบทความของคุณมากที่สุด มีขั้นตอนการใช้งาน ดังนี้

  1.  เข้าไปที่เพจ Elsevier Journal Finder  (http://journalfinder.elsevier.com)
  2.  แปะบทคัดย่อลงในช่อง Paper abstract
  3.  เลือกหมวดหมู่เนื้อหาที่ต้องการจะเผยแพร่บทความ โดยเลือกได้ไม่เกิน 3 หมวด
  4.  พิจารณาเลือกวารสารที่เหมาะสม จากการเปรียบเทียบข้อมูลสำคัญ โอกาสที่จะได้รับการตอบรับ และประเมินความเหมาะสม
  5.  ศึกษา ข้อมูล ข้อกำหนด ค่าใช้จ่าย ระยะเวลา สิ่งที่จำเป็น ในการส่งบทความให้บรรณาธิการของวารสารฉบับนั้นพิจารณา
  6.  ในเครือ Elsevier นักวิจัยสามารถส่งบทความออนไลน์ ได้ที่เมนู Submit Your Paper ในหน้าเพจของวารสาร

โดยมีรายละเอียดการใช้งาน ดังรูป Read the rest of this entry »

การใช้ประโยชน์จาก IEEE Xplore และการตีพิมพ์บทความกับ IEEE
มิ.ย. 13th, 2017 by pailin

Introduction to IEEE & IEEE Xplore

IEEE เป็นองค์กรที่มีบทบาทในวงการค้นคว้าและงานวิจัยมายาวนาน โดยดำเนินกิจการใน 4 กิจกรรมหลัก ดังนี้

  • Membership organization
  • Conferences organizer
  • Standards developer
  • Publisher of journals, conferences, standards, e-books and e-learning

Read the rest of this entry »

Beall’s List of Predatory Publishers
ม.ค. 14th, 2016 by supaporn

Jeffrey Beall ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มศึกษาวิจัยเรื่อง Predatory publishers ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เพื่อเปิดเผยรายชื่อ สำนักพิมพ์ที่น่าสงสัย ที่มีแนวโน้มว่าไม่ได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และอาจจะเป็นการหลอกลวงเพื่อหารายได้ แต่ละปีจะมีจำนวนสำนักพิมพ์และวารสารที่อยู่ในข่ายนี้ เพิ่มมากขึ้น เพราะการเผยแพร่ผลงานวิจัยเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการทำวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัยจึงมักจะอยู่ในวารสารวิชาการ บทคัดย่อ หรือ proceedings ของการประชุมวิชาการ  ด้วยปัจจัยนี้เอง ทำให้สำนักพิมพ์หลายๆ แห่ง เห็นช่องทางทำธุรกิจใหม่ภายใต้ Open Access Model ซึ่งมีทั้งถูกต้องเหมาะสมและ เพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ นักวิจัยรุ่นใหม่ไม่ควรเสี่ยงตีพิมพ์

Beall’s list predatory publishers (http://scholarlyoa.com/publishers/) จึงเป็นการรวมรายชื่อสำนักพิมพ์ รวมทั้งมีบัญชีรายชื่อวารสาร http://scholarlyoa.com/individual-journals/ไว้ด้วย และเป็นหลักการที่ว่า รายชื่อวารสารใดที่อยู่ในบัญชีนี้ไม่ควรนำผลงานไปตีพิมพ์ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa