SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การรักษาแผลกดทับสำหรับพยาบาล
ก.ค. 15th, 2016 by sirinun

การรักษาแผลกดทับสำหรับพยาบาล

การรักษาแผลกดทับสำหรับพยาบาล

การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือผู้ป่วยพิการที่ต้องนอนอยู่ที่เตียงตลอดเวลา ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายหรือลุกออกจากเตียงได้ เกิดภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยและมักจะเกิดมาตามหลังจากที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ไม่สามารถพลิกตะแคงตัวเองหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองก็คือ แผลกดทับ ดังนั้นพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยนั่นเอง ซึ่งควรมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับขึ้น และเมื่อเกิดแผลกดทับขึ้นแล้วก็สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อเกิดแผลกดทับขึ้นได้ย่อมส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว ผู้ดูแล เสียค่าใช้จ่าย หรือหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดติดเชื้อลุกลามไปถึงกระดูดและทั่วร่างกายจนถึงแก่ชีวิตได้ หนังสือเล่มนี้จะช่วยทำให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้เรื่องของแผลกดทับมากยิ่งขึ้น ทั้งความหมาย อุบัติการณ์ กลไกการเกิดแผลกดทับ วัสดุปิดแผล และการพยาบาลผู้ป่วย ซึ่งสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักศึกษาพยาบาล บุคลากรทางด้านสุขภาพ ผู้ดูแลผู้ป่วยนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไป หมวดหมู่ WY154.5 ข275ก 2559

รายการอ้างอิง

ขวัญฤทัย พันธุ. (2559). การรักษาแผลกดทับสำหรับพยาบาล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ (Care for elderly, disabled, terminal-illness in primary care)
มี.ค. 27th, 2016 by sirinun

การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ

การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ

ผู้สูงอายุในประเทศไทย มีเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายเน้นการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มหลักของประเทศไทยได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึงพิง และกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้ายขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น จำเป็นที่ต้องดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ด้วยการรักษาป้องกันโรค และทำกายภาพบำบัดและกายอุปกรณ์มาช่วยเสริมสร้างสุขภาพอย่างต่อเนื่องถูกวิธี หมวดหมู่ WT100 ก451 2558

รายการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะแพทยศาสตร์. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน. (2558). การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ (Care for elderly, disabled, terminal-illness in primary care). สงขลา : ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง

A Study of Family-Centered Care to Prevent Complications at Home in Patients with Cerebrovascular Disease

บทคัดย่อ:

การศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาปญหา ความตองการและความคาดหวังการบริการสุขภาพที่สนับสนุนการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่บาน และสังเคราะหแนวทางเบื้องตนในการปองกันการเกิดภาวะแทรกซอนโดยเนนครอบครัวเปนศูนยกลางตามการรับรูของผูปวย ครอบครัว และบุคลากรสาธารณสุข ผูใหขอมูลเลือกแบบเจาะจง ประกอบดวย 1) ครอบครัวที่มีผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง 8 ครอบครัว ผู้ป่วยจำนวน 2 ราย สมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลหลัก 8 คน 2) บุคลากรสาธารณสุขจำนวน 10 คน โดยการสัมภาษณเจาะลึก การสังเกตแบบมีสวนรวม และไมมีสวนรวมวิเคราะหขอมูลเชิงเนื้อหาภายใตการพิทักษสิทธิ์และจริยธรรมการวิจัย Read the rest of this entry »

ทิวลิปหลากสี : เรื่องเล่าชีวิตที่หลากหลายของผู้ป่วยพาร์กินสันพร้อมบทวิเคราะห์จาก ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ
ก.พ. 11th, 2016 by sirinun

ทิวลิปหลากสี

ทิวลิปหลากสี

หนังสือทิวลิปหลากสีเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นจากชีวิตผู้ป่วยพาร์กินสัน 16 ท่านที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของอาการและมีวิธีรับมือกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เมื่อต้องอยู่ร่วมกับโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดนี้ได้ โดยได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ และทีมแพย์ของศูนย์พาร์กินสันฯ โรงพยาบาลจุฬาฯ เขียนบทวิเคราะห์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องอาทิเช่น น.พ.ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช อ.ปรียา หล่อวัฒนพงษา ผู้เชี่ยวชาญด้านอรรถบำบัด อ.ดร.สุรสา โค้งประเสริฐผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด และคุณวีรมลล์ จันทรดีนักสังคมสงเคราะห์ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นคู่มือสำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแล ที่จะเรียนรู้และรับมือกับโรคพาร์กินสันได้อย่างดี  หมวดหมู่WL359 ท491 2558

รายการอ้างอิง

ทิวลิปหลากสี : เรื่องเล่าชีวิตที่หลากหลายของผู้ป่วยพาร์กินสันพร้อมบทวิเคราะห์จากทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ. (2558). กรุงเทพฯ : ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย.

 

คู่มือเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก
ก.พ. 5th, 2016 by sirinun

คู่มือเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก

คู่มือเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงศาสตร์ในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นผู้ป่วยนอกของทุกสาขาวิชาทางการแพทย์ โดยในบางความคิดได้จัดรวมทุกกลุ่มของผู้ป่วยนอก มีความมุ่งหมายที่จะครอบคลุมเฉพาะผู้ป่วยนอกของภาควิชาอายุรศาสตร์เท่านั้น โดยเนื้อหาจะประกอบด้วยการเตรียมตัวของนักศึกษาแพทย์และแพทย์ให้มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยนอกเพื่อให้ได้ผลดีที่สุดทั้งด้านผู้ป่วย  ตัวแพทย์เอง และโรงพยาบาลหรือคลินิกแพทย์ที่ปฏิบัติงาน สนใจหาอ่านได้ที่ห้องสมุด https://lib-km.hcu.ac.th/ หมวดหมู่ WB115 ค695 2558

รายการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2558). คู่มือเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น : หน่วยเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก ภาควิชา อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa