SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
อาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส : ทางออกของการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชุมชนเมือง
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

อาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส : ทางออกของการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชุมชนเมือง

บทคัดย่อ:

บทความนี้มุ่งให้ทราบและตระหนักถึงบทบาทของอาสาสมัครในชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่องค์กรภาครัฐ ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเริ่มเล็งเห็นความสำคัญ โดยเฉพาะเมื่องใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น มีการแข่งขันสูง ก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่มีความหลากหลาย ซับซ้อน และทวีความรุนแรง โดยเฉพาะครอบครัวที่เป็นรากเหง้าของปัญหาส่วนใหญ่ของชุมชน เช่น ปัญหาการกระทำทารุณกรรม ทั้งต่อเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ตลอดจนการปล่อยปละละเลยทอดทิ้งผู้ด้อยโอกาสในชุมชน ปัญหาเล่านี้หากไม่มีผู้คอยประสาน ช่วยเหลือ ดูแล อาจจะทำให้ผู้ตกเป็นเหยื่อต้องทนทุกข์ทรมาน ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์และสังคม ทั้งนี้เนื่องจากการให้บริการจากภาครัฐยังไม่สามารถกระทำได้อย่างทั่วถึง และตรงกับความต้องการ ดังนั้น การมีอาสาสมัครในชุมชนจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาในเชิงรุก ด้วยการส่งเสริมให้คนในชุมชนเข้าร่วมกันแก้ไขปัญหาในชุมชนของตนอย่างยั่งยืน

นุชนาฎ ยูฮันเงาะ. (2547). อาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส : ทางออกของการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชุมชนเมือง. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 101-108.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ความตั้งใจย้ายที่อยู่อาศัยภายในเขตกรุงเทพมหานคร
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

ความตั้งใจย้ายที่อยู่อาศัยภายในเขตกรุงเทพมหานคร (Intention to Move Residence within Bangkok Municipality)

การย้ายที่อยู่อาศัยของประชากรจำนวนมากหรือย้ายบ่อยครั้ง อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อตัวผู้ย้ายประชากรในชุมชนต้นทางและชุมชนปลายทางของการย้ายที่อยู่อาศัย และส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการของภาครัฐ ในด้านการจัดการงบประมาณ ระบบสาธารณูปโภค การจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม ความรุนแรงของปัญหาขึ้นอยู่กับระดับและแบบแผนของการย้ายที่อยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของความตั้งใจและสาเหตุของการย้ายที่อยู่อาศัยของชาวกรุงเทพมหานคร โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการวิจัย เรื่อง ความเป็นเมืองและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในกรุงเทพณปี 1993 ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมของมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Australian National University ใช้กลุ่มตัวอย่าง 1,201 คน ผลการศึกษาปรากฏว่า ผู้ชายย้ายที่อยู่มากกว่าผู้หญิง ผู้ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาจะย้ายถิ่นมาก ผู้ที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดจะย้ายถิ่นมากกว่าผู้ที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ ผู้ที่ได้รับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์จะย้ายถิ่นน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับข่าวสาร และผู้ที่ทำงานในกรุงเทพฯ ระหว่าง 8-12 ปี จะตั้งใจย้ายที่อยู่อาศัยน้อยกว่าผู้ที่ทำงานระยะสั้นกว่า นอกจากนี้ หากชาวกรุงเทพฯ รู้สึกว่าบริเวณที่อยู่อาศัยมีมลพิษสูงขึ้นจะตั้งใจย้ายที่อาศัยมาก แต่หากรู้สึกว่าในชุมชนมีประชากรหนาแน่นขึ้นจะตั้งใจย้ายที่อยู่อาศัยน้อยลง ซึ่งอาจเป็นเพราะประชากรมีความคาดหวังมากขึ้นที่จะประกอบอาชีพต่างๆ อยู่ในชุมชน

เสาวนิจ รัตนวิจิตร นิจอนันต์ชัย. (2547). ความตั้งใจย้ายที่อยู่อาศัยภายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 93-100.

อ่านบทความฉบับเต็ม

สัปปายะ 7 : หลักการจัดระเบียบเพื่อความสมดุลของครอบครัว/สังคม
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

สัปปายะ 7 : หลักการจัดระเบียบเพื่อความสมดุลของครอบครัว/สังคม

บทคัดย่อ:

สัปปายะเป็นหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ผู้ปฏิบัติธรรมแสวงหา เพราะเป็นเรื่องที่เอื้อให้การปฏิบัติธรรมบรรลุผลได้ง่ายขึ้น หลักการนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดระเบียบครอบครัว สถาบัน องค์กร และส้งคมได้เป็นอย่างดี  เนื่องจากเป็นหลักที่พูดถึงความเหมาะสมหรือความสมดุลของที่อยู่อาศัย ทำเลที่ประกอบอาชีพ การพูดจา บุคคลที่ควรคบหา การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ สภาพภูมิอากาศหรือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และการบริหารร่างกายอย่างถูกต้องเหมาะสมอันเป็นปัจจัยสนับสนุนคุณภาพชีวิตของคนให้ดียิ่งขึ้น นอกจากจะส่งผลดีต่อบุคคลและครอบครัวแล้ว ยังส่งผลดีต่อประเทศชาติและธรรมชาติอื่นๆ ด้วย

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2547). สัปปายะ 7 : หลักการจัดระเบียบเพื่อความสมดุลของครอบครัว/สังคม. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 80-92.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ทำไมต้องทำประกันชีวิต
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

ทำไมต้องทำประกันชีวิต

บทคัดย่อ:

การประกันชีวิตเป็นเครื่องมือทางการเงินอย่างหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีการเปรียบเทียบว่าด้วยการประกันชีวิตก็เหมือนกับการประกันรายได้ในอนาคต เพื่อให้แผนการดำเนินชีวิตเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ไม่ว่าเราจะต้องเตรียมพร้อมกับอนาคตทางการศึกษาของบุตรที่ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากกว่าจะสำเร็จการศึกษา การดำเนินธุรกิจก็จำเป็นต้องคุ้มครองธุรกิจของเราให้อยู่รอดจนถึงลูกหลานได้ หรือแม้แต่ตัวเราเองก็จำเป็นต้องเก็บเงินไว้เพื่อใช้จ่ายในยามชรา ไม่ว่าจะใช้ประกันชีวิตเป็นเครื่องมือเพื่อเหตุผลใดก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่มั่นใจได้ก็คือ เราจะสามารถเดินไปสุ่จุดหมายได้อย่างแน่นอน แม้ว่าเราจะได้จากไปแล้วก็ตาม

ชลิตพันธ์ บุญมีสุวรรณ. (2547). ทำไมต้องทำประกันชีวิต. วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15),  74-79.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การเจรจาต่อรองข้ามวัฒนธรรมในธุรกิจระหว่างประเทศ
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

การเจรจาต่อรองข้ามวัฒนธรรมในธุรกิจระหว่างประเทศ

บทคัดย่อ:

ในการเจรจาต่อรองระหว่างชนชาติที่แตกต่างกัน จะต้องศึกษาถึงวัฒนธรรมของคู่เจรจาอย่างถ่องแท้ เพื่อสร้างความเข้าใจ ข้อได้เปรียบ และหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่ตั้งใจ โดยมุ่งหวังผลสำเร็จตามเป้าหมายของการเจรจาเป็นหลัก

เพ็ญศิริ สุธรรมโน. (2547). การเจรจาต่อรองข้ามวัฒนธรรมในธุรกิจระหว่างประเทศ. วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15),  83-73.

อ่านบทความฉบับเต็ม

VIRTUAL TEAM : ประโยชน์ และปัญหา
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

VIRTUAL TEAM : ประโยชน์ และปัญหา

บทคัดย่อ:

ในขณะที่ทีมงานเสมือน (virtual team) กำลังทวีความสำคัญมากขึ้น เนื่องด้วยประโยชน์อันมากมายที่เป็นเอกลักษณ์ของระบบ อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่เป็นปัญหา หรือเป็นอุปสรรคในการทำงานของทีมงานเสมือน ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานลดน้อยล เพื่อแก้ไขและปรับปรุงจุดบกพร้องดังกล่าว ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ หลายรูปแบบมาช่วยสนับสนุนระบบการทำงานของทีมงานเสมือน ทั้งนี้ การพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานแบบทีมงานเสมือนยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป

วราภา รักราชการ. (2547). VIRTUAL TEAM : ประโยชน์และปัญหา. วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 56-62.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การอบรมเลี้ยงดู : อิทธิพลที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

การอบรมเลี้ยงดู : อิทธิพลที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ

บทคัดย่อ:

ถ้าจะกล่าวว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์การนั้น ก็คงจะไม่ใช่คำกล่าวที่ผิด ทั้งนี้ เนื่องมาจากว่ามนุษย์มีความสามารถในการเรียนรู้ การปรับตัว การพัฒนาตนเอง ตลอดจนมีความสามารถที่จะพัฒนาองค์การให้ก้าวหน้าและปรับตัวให้ทันต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป นั่นหมายความว่าทรัพยากรมนุษย์จะเป็นตัวนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้น นักบริหารในองค์การต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักบริหารในระดับต้น ระดับกลาง หรือระดับสูงก็ตาม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การ ทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์การ เพื่อที่จะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น การสรรหา การพัฒนา และการบรรจุคนให้เหมาะสมกับงาน ตลอดจนการใช้สิ่งจูงใจเพื่อกระตุ้นให้มนุษย์ทำงาน เนื่องจากมนุษย์นั้นแตกต่างกัน ดังนั้น สิ่งจูงใจจึงแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งอาจต้องใช้วิธีที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย

สถาพร ปิ่นเจริญ. (2547). การอบรมเลี้ยงดู : อิทธิพลที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ. วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 44-54.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการขัดเกลาทางสังคมและลักษณะทางจิดใจกับพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการขัดเกลาทางสังคมและลักษณะทางจิดใจกับพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย

A Study of Socialization Factors and Mental Characteristics Influencing Thai Honest Behavioral Pattern

บทคัดย่อ:

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย และอิทธิพลของกระบวนการขัดเกลาทางส้งคมโดยครอบครัว โรงเรียน สถาบันศาสนาและสื่อมวลชน ต่อลักษณะทางจิตใจ ที่จะส่งผลไปถึงพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม และความสัมพันธ์ของพฤติกรรมความซื่อสัตย์ระหว่างผู้ปกครองและนักเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เรียนในโรงเรียนอิงศาสนาพุทธ โรงเรียนอิงศาสนาคริสต์และโรงเรียนอิงศาสนาอิสลามและโรงเรียนทั่วไปไม่อิงศาสนา ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน จำนวน 400 คน และผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 400 คน รวม 400 คู่ จาก 4 จังหวัดในแต่ละภาค คือ ภาคเหนือ เลือกจังหวัดเชียงใหม่ 100 คู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือกจังหวัดนครราชสีมา 100 คู่ ภาคใต้ เลือกจังหวัดสงขลา 100 คู่ และกรุงเทพมหานคร 100 คู่ รวมกลุ่มตัวอย่าง 800 คน

ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคมจากแหล่งต่างๆ และลักษณะทางจิตมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของกลุ่มเป้าหมาย ในกลุ่มนักเรียน ซึ่งแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนเน้นศาสนา ทั้งศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม ปัจจัยที่สำคัญต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ คือ การได้รับการเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเองเร็วและการมีทัศนคติที่ดีต่อความซื่อสัตย์ ส่วนในกลุ่มนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนทั่วไป ในนักเรียนทั้ง 3 ศาสนา พบปัจจัยร่วมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ 1 ปัจจัย คือ การได้รับการเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเองเร็ว นอกเหนือจากนั้น พบปัจจัยที่ต่างกัน โดยนักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธพบอิทธิพลของลักษณะทางศาสนาของผู้ปกครองและของตนเอง นักเรียนที่นับถือศาสนาคริสต์พบอิทธิพลของการเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การอบรมสั่งสอนจากโรงเรียนและการควบคุมตนเอง นักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามพบอิทธิพลทางลักษณะทางศาสนาของผู้ปกครองและของตนเอง
ในกลุ่มผู้ปกครอง ปัจจัยที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อผู้ปกครองทั้ง 3 ศาสนา คือ การมีทัศนคติต่อความซื่อสัตย์ และลักษณะทางศาสนาทั้งของตนเองและของบิดามารดา

ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนและผู้ปกครอง พบว่า พฤติกรรมความซื่อสัตย์ของทั้ง 2 กลุ่มไม่ส้มพันธ์กัน หมายความว่า ผู้ปกครองที่มีพฤติกรรมความซื่อสัตย์สูง นักเรียนซึ่งเป็นลูก (หลาน) อาจมีพฤติกรรมความซื่อสัตย์สูงหรือต่ำก็ได้ หรือในทางกลับกัน นักเรียนที่มีพฤติกรรมความซื้อสัตย์สูง ผู้ปกครองอาจมีพฤติกรรมความซื่อสัตย์สูงหรือต่ำก็ได้เช่นกัน

This research aims to study (1) socialization process from families, schools, religious institutes, mass media and their influences on the Thai honest behavioral pattern of different religions ; Bhudism, Christianity, and Islam, and (2) relationship of honest behavior between parents and students. Data was collected from secondary school students in 4 provinces Chiengmai, Songkla, Nakornratsima, and Bangkok Metropolitan. Samples were 100 pairs of students and their parents from each province, 50 pairs from 3 different religious oriented schools and other 50 pairs from ordinary schools (public and private schools). The total samples were 800 persons.

The study revealed that ; For students, students in religious oriented schools, early self-reliance child rearing type and positive attitude toward honesty were essential factors influenced honest behavioral pattern. Students in ordinary schools, the research found one common factor – early self-reliance child rearing type – influenced honest behavior of students from 3 religions.

For parents, positive attitude toward honesty was essential factor influenced honest behavioral pattern.

The result of study also revealed that there was no relationship of honest behavior between parents and students, which means that honest parents might not have honest children at the same level, or vice versa, honest students might not have honest parents respectively

ณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2547). การศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการขัดเกลาทางสังคมและลักษณะทางจิดใจกับพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 30 -43.

อ่านบทความฉบับเต็ม

บทบาทที่คาดหวังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชน
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

บทบาทที่คาดหวังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชน

สุรอรรถ ทองนิรมล. (2547). บทบาทที่คาดหวังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชน. วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 24 -29.

อ่านบทความฉบับเต็ม

“กินตามแม่” คือ แนวทางสู่ความมั่นคงทางอาหารในสังคมไทย
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

“กินตามแม่” คือ แนวทางสู่ความมั่นคงทางอาหารในสังคมไทย

บทคัดย่อ:

อาหาร คือ สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนควรจะได้รับ แต่ด้วยระบบและกลไกทางสังคมหลายอย่าง ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ประสบภาวะยากจน มีอาหารไม่เพียงพอต่อการบริโภค การกระจายอาหารไม่เป็นธรรม การเข้าไม่ถึงอาหาร หรือมีอาหารบริโภคแต่ไม่ปลอดภัย สถานการณ์เช่นนี้ คือ การขาดความมั่นคงทางอาหาร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในฐานะที่ทรงเป็นแม่ของปวงชนชาวไทย และได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ และมีพระราชจริยวัตร ที่งดงามในการเป็นแบบอย่างให้แม่ในสังคมไทยนำไปปฏิบัติเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนและระดับชุมชน หากเราได้ดำเนินรายตามพระยุคลบาท ดังกล่าวแล้วความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคจะเกิดแก่สังคมไทย

 

นวลใย วัฒนกูล. (2547). “กินตามแม่” คือ แนวทางสู่ความมั่นคงทางอาหารในสังคมไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 5-23.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa