ดร. วิเชียร เตชะไพบูลย์ กดปุ่มเปิดแพรคลุมป้าย
สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเทียนจิน สถาบันการศึกษาชั้นนำทางด้านการแพทย์แผนจีนของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจัดตั้งสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย และนับว่าเป็นสถาบันขงจื่อแห่งที่ 15 ของประเทศ
泰国华侨崇圣大学中医孔子学院,由泰国华侨崇圣大学与中国天津中医药大学合作成立,是泰国第十五家孔子学院,同时也是泰国首家中医孔子学院。
ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหารเจิมป้ายสถาบันขงจื่อการแพย์แผนจีน
ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์
สถาบันของจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจะทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมภูมิปัญญาตะวันออก และศาสตร์การแพทย์แผนจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการเรียนการสอนแพทย์แผนจีน ส่งเสริมการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์แผนจีน อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อผู้ประกอบวิชาชีพ และองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีนของประชาชนชาวไทย และประชาชนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ด้านภาษาจีน และศิลปวัฒนธรรมจีน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีน อีกทั้งยังมีบทบาทหน้าที่ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมภาษาจีนและการแพทย์แผนจีนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดสัมมนาวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์แผนจีน การจัดนิทรรศการและโครงการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านภาษาจีนและการแพทย์แผนจีนให้กับประชาชนทั่วไป
泰国华侨崇圣大学中医孔子学院是以在东南亚地区传播东方智慧和传统文化、促进中医学术交流、为泰国和东南亚地区人民普及中国传统医药的专业知识以及促进中国语言文化的学习,从而为学习中医建立基础为目标。中医孔子学院在泰国的主要任务是组织各种汉语及中医学的相关活动,如举办中医研讨会,有利于提高泰国中医界人士的学术水平,并有利于向泰国民众推广和普及汉语及中医学知识。
ป้ายหน้าห้องสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ผู้บริหารถ่ายภาพร่วมกันหลังเสร็จพิธีเปิด
พิธีเปิดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และพิธีเปิดผ้าแพรคลุมป้ายจัดขึ้น ณ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ชั้น 5 อาคารบรรณสาร โดย ดร.วิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ให้เกียรติเป็นประธาน และดร.โจว เกาหยู่ เลขานุการเอก ฝ่ายการศึกษา สถานเอคอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดี ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์และเจิมป้ายสถาบัน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการแก่ผู้ที่สนใจ และประชาชนทั่วไป ตั้งอยู่ที่ อาคารบรรณสาร ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โทร 0-2312-6300 ต่อ 1420
สัญลักษณ์ของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ติดตามกิจกรรม ของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ได้ที่
เว็บของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนฯ http://cihcu.hcu.ac.th/
และที่ FB
FB สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนฯ https://www.facebook.com/tcihcu/
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ต่อมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นอย่างยิ่ง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดทำหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยถึง 6 เล่ม ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ประกอบด้วย
1. ที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537 2. Huachiew Chalermprakiet University Commemorative Edition on the occasion of the University’s Inauguration graciously presided over by Their Majesties the King and Queen of Thailand on March 24, 1994 3. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (ฉบับภาษาจีน) 4. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วันทำพิธีเปิด (มีคำบรรยายเป็นภาษาไทยและภาษาจีน) 5. สูจิบัตรพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 6. พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากหนังสือเหล่านี้ได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ และหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทั้งข้อมูลและภาพพระองค์ท่านที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัย
วันประเพณีรับบัวประจำปี 2559 ครั้งที่ 81 จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ของชาวบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 12-15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยกำหนดวันรับบัวในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เริ่มเวลา 07.00 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอบางพลี วัดบางพลีใหญ่ใน และวัดบางพลีใหญ่กลาง จะมีการอัญเชิญหลวงพ่อโตจำลอง ลงเรือแห่ไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณสองฝั่งคลองอำเภอบางพลีและอำเภอใกล้เคียง และผู้คนจากต่างพื้นที่ ต่างหลั่งไหลเดินทางมา โดยมีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน ได้ร่วมสักการะบูชา โดยการโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ ซึ่งมีความเชื่อกันว่า หากสามารถโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่แล้ว อธิษฐานสิ่งใดไว้ก็จะประสบความสำเร็จดั่งหวัง
ประเพณีรับบัว
ภาพจากแฟนเพจ : Zaleang Foto www.facebook.com/thongbai.pho
ประเพณีรับบัวเป็นงานที่แสดงถึงความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนต่างถิ่นที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวอำเภอบางพลีที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสายน้ำสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากความเป็นมาเล่าขานกันว่าเป็นประเพณีที่ชาวบางพลีจัดขึ้นเพื่อต้อนรับคนมอญพระประแดงที่ทำนาอยู่ที่ตำบลบางแก้ว เมื่อถึงเวลาออกพรรษาคนมอญจะกลับไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง จึงร่วมกันเก็บดอกบัวเพื่อให้คนมอญนำกลับไปถวายพระที่วัดเพื่อนำไปบูชาหลวงพ่อโต และนำน้ำมนต์ของหลวงพ่อกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนดอกบัวที่เหลือชาวมอญก็นำกลับไปบูชาพระคาถาพันที่วัดของตน ระหว่างการเดินทางทางน้ำที่ยาวนานก็ต่าง พากันร้องรำทำเพลงบนเรือ คนไทยได้เตรียมอาหารคาวหวานไปเลี้ยงรับรอง จึงเป็นที่มาของประเพณีรับบัวมาจนถึงทุกวันนี้
ภายในงานมีกิจกรรมสร้างความสุขมากมาย เช่น กิจกรรมสืบสานประเพณีตักบาตรทางน้ำ ล่องเรือชมความสวยงามริมสองฝั่งคลองสำโรง ภายใต้แนวคิด “ดอกบัวแห่งศรัทธา ธาราแห่งไมตรี ประเพณีรังสรรค์ มหัศจรรย์แห่งสายน้ำ” เลือกซื้อสินค้ามากมาย ทั้งขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง และสินค้า OTOP ชมการแสดง แสง สี เสียง บนเวทีเรือลอยน้ำ สุดยิ่งใหญ่ตระการตา ประกวดหนุ่ม–สาวรับบัว และประกวดร้องเพลงไทยลุกทุ่ง ชมศิลปวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านของชาวท้องถิ่น นมัสการขบวนหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน และรื่นเริงไปกับมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังและกิจกรรมที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ตลาดโบราณบางพลี
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีรับบัว มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ให้ความร่วมมือกับอำเภอบางพลีอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำทุกปี และในปีนี้คณะต่างๆ ได้จัดกิจกรรมไปออกบูธคลินิกตรวจสุขภาพ ภายในบูธมีการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และอื่นๆ ณ บริเวณวัดบางพลีบางพลีใหญ่ใน เช่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตรวจพยาธิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ตรวจวัดสมรรถภาพร่างกาย และคณะกายภาพบำบัด ตรวจวินิจฉัยให้คำปรึกษาฟื้นฟูร่างกายและวิธีกายภาพบำบัด
นอกจากนี้ ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ นำโดยทีมนักแสดงจาก อาจารย์สุกฤตาวัฒน์ บำรุงพานิช ซึ่งได้จัดแถลงข่าวประเพณีรับบัวผ่านไปแล้ว เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ โรงแรมแกรน์อินคำ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อาจารย์สุกฤตาวัฒน์ ยังให้ข้อมูลดังกล่าวว่า การจัดแสดงหุ่นคน จะเริ่มการแสดงในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น. พิธีเปิดงานประเพณีรับบัว ลานวัฒนธรรม ณ เวทีหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ การแสดงทั้งหมดจำนวน 5 ชุด ดังนี้
ผู้เขียนจึงอยากเชิญชวนทุกท่าน มาร่วมกันเที่ยวชมงาน ร่วมรักษาและอนุรักษ์ประเพณีรับบัวหรือประเพณีโยนบัวเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่มีคุณค่า ควรสืบสานอนุรักษ์ในความเป็นไทยให้คงอยู่ไปตราบนานเท่านาน และเพื่อให้อนุชนรุ่นต่อไปๆ ได้ศึกษารากเหง้าแห่งวัฒนธรรมไทยสืบต่อไป
รายการอ้างอิง
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ตลาดโบราณบางพลี สืบค้นจาก https://www.facebook.com/Bangplee.TourismServiceCenter/
https://th.wikipedia.org/wiki
ภาพจาก สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาสมุทรปราการ
จากการลงพื้นที่ของ อ. อัญชลี สุภาวุฒิ นักวิชาการวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อหาข้อมูลการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ ทำให้พวกเราทราบว่า
“หากจะกล่าวถึงปลาสลิดรสชาติดี จะต้องนึกถึงปลาสลิดบางบ่อ โดยแหล่งผลิตปลาสลิดใหญ่ที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ คือ ตำบลคลองด่าน อำเภอคลองด่าน ลุงผัน หรือ ผัน ตู้เจริญ เริ่มเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อเป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2500 และประสบผลสำเร็จ ทำรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดีและยั่งยืน จนถึงปัจจุบัน แต่ก่อนลุงผันมีอาชีพทำนาข้าว หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วน้ำแห้งมาก จึงเริ่มคิดหาวิธีกักน้ำไว้เลี้ยงปลา โดยในบ่อของลุงผัน มีปลาดุกสีทอง ปลาช่อนสีทอง และปลาสลิด ซึ่งปลาสลิดเยอะที่สุด จึงเป็นเหตุให้เลิกทำนาข้าวและหันมาเลี้ยงปลาสลิดแทน เลี้ยงได้ประมาณ 3-4 ปี จึงได้นำปลาสลิดทูลเกล้าถวายฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในปี 2506 ถึงสองครั้ง จนได้รับพระราชทานปลาสลิดทอง
ปัจจุบันการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ มีพื้นที่ประมาณ 5,000 กว่าไร่ บริเวณ หมู่ 1, 2 ,3, 4 และ หมู่ 11, 12 เป็นการเลี้ยงจากบ่อธรรมชาติ คือ บ่อดิน โดยจะขุดดินล้อมพื้นที่ทำคันให้สูงใช้ที่นาเดิมที่มีอยู่ ฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอน เพื่อเป็นอาหารปลา กักน้ำเก็บไว้ เริ่มปล่อยปลาลงบ่อ มีการคัดเลือกสายพันธุ์ตัวปลาที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีแผล ครีบและหางไม่แตก เพศผู้ เพศเมีย ลักษณะตัวมีขนาดใหญ่ สีดำ เน้นการผสมพันธุ์แบบธรรมชาติ ตัวปลาที่สมบูรณ์ สามารถวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขึ้นไป ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม เมื่อปลาสมบูรณ์เต็มที่ ก็จับปลามาจำหน่ายหรือแปรรูปต่อไป”
อัญชุลี สุภาวุฒิ. (2557). ภูมิปัญญา สร้างอาชีพ ปลาสลิดจากบ่อธรรมชาติ. สารศิลป์, 4 (2), 3-4.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาสมุทรปราการ. ของฝากจังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้นจาก http://samutprakan.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=1
วันที่ 19 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น. การไฟฟ้านครหลวง และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ร่วมต้อนรับคณะอนุกรรมการ ผู้ตรวจรางวัลการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง ประจำปี 2559 ณ ห้องประชุม 1 อาคารอำนวยการ ชั้น 2
การไฟฟ้านครหลวงและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติร่วมให้การต้อนรับ
ระหว่างการฟังบรรยายกิจกรรมต่างๆ
Read the rest of this entry »
คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ถ่ายรูปหน้ารูปปั้น ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์
คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เข้าศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์พลังงานของ มฉก. โดย อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ (รองอธิการบดี) และคณะทำงานร่วมต้อนรับ ณ ห้องสื่อประสม ชั้น 2 อาคารบรรณสาร มฉก. ในวันที่ 17 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น.
ป้ายต้อนรับที่ใช้กระดานชอล์กเพื่อสิ่งแวดล้อม
ผู้บริหารทั้งสองผ่ายถ่ายภาพร่วมกันก่อนเข้าฟังการบรรยาย
ในการนี้ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และบุคลากรของศูนย์บรรณสารฯ ได้ร่วมให้ข้อมูลโครงการสำนักงานสีเขียว ซึ่งเป็นโครงการที่มีรวมกิจกรรมการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ถ่ายภาพร่วมกันหลังการบรรยาย
เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ครบ 84 พรรษา 12 สิงหา มหาราชินี ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดพิธีเปิดห้องสมุดในสวน และปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ ในวันที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 08.30 – 10.30 ณ ลานหน้าอาคารบรรณสาร
หลังจากการทำพิธีเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ครบ 84 พรรษา 12 สิงหา มหาราชินี หน้าประตูเสด็จแล้ว ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย นำโดย อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ประจักษ์ พุ่มวิเศษ เดินนำขบวนผู้เข้าร่วมพิธีเทิดพระเกียรติฯ มายังอาคารบรรณสาร และทำพิธีเปิดห้องสมุดในสวน อย่างเป็นทางการ โดยถือโอกาสอันเป็นมหามงคลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ในด้านการอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม
มฉก. เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ห้องสมุดในสวนนี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกิดจากที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยในการเข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินทั้ง 7 เกณฑ์ เพื่อให้เกิดผลในภาพรวมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า มีแนวทางในการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ ที่สำคัญต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณต่ำ
ห้องสมุดในสวน
รายงานการจัดทำห้องสมุดในสวน
ปลูกต้นไม้ร่วมกัน
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการเรียนการสอนสหกิจศึกษา (Cooperative Education) เป็นระบบการศึกษาที่เน้นประสบการณ์จริงที่นักศึกษาได้ปฏิบัติงานกับหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ เสมือนเจ้าหน้าที่หรือ พนักงานชั่วคราว ระยะเวลาที่นักศึกษาไปฝึกปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ ( 1 ภาคการศึกษา) นักศึกษาสหกิจศึกษาต้องทำรายงานวิชาการในหัวข้อเนื้อหาที่นักศึกษาได้ปฏิบัติงานกับหน่วยงาน/องค์กร หรือ หัวข้อที่อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาในสาขาวิชา/ภาควิชากำหนด และมีการส่งตัวเล่มรายงานสหกิจศึกษา ให้กับทางศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อให้บริการต่อไป
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ให้บริการสหกิจศึกษา โดยมีการลงข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สืบค้นและเข้าถึงได้ ซึ่งจะได้นำเสนอวิธีการสืบค้นรายงานสหกิจศึกษา ดังนี้ Read the rest of this entry »
ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 เวลา 11.00 – 12.30 น. บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ เข้าศึกษาและดูงานการประหยัดพลังงานและสำนักงานสีเขียว มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ในการนี้ ผอ. ศูนย์บรรณสารสนเทศ และคณะกรรมการ การอนุรักษ์พลังานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์บรรณสารสนเทศร่วมให้การต้อนรับ และให้ข้อมูลการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว ที่อาคารบรรณสารเข้าร่วมโครงการและผ่านเข้ารอบเหรียญทอง
คณะเยี่ยมชมถ่ายภาพร่วมกับชาวบรรณสาร
พื้นที่สีเขียว มุมน่ารัก ที่ใครๆ ก็ขอถ่ายรูป
ชมห้องสมุดในสวน
หน้าบริเวณห้องสมุดในสวน
หลังจากได้รับรางวัล 7 ส ยอดเยี่ยม เมื่อเช้าวันที่ 7 กรกฎาคม 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ร่วมต้อนรับสำนักหอสมุด สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการศึกษาดูงานกิจกรรม 7 ส ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ในการนี้ รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ กล่าวถึงการดำเนินการ 7 ส ของมหาวิทยาลัย และมอบหมายให้มีการดูงานกิจกรรม 7 ส ของอาคารบรรณสาร โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศเป็นผู้นำชม ในช่วงเวลา 13.30-15.30 น. ซึ่งผู้เยี่ยมชมได้รับทั้งความรู้ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดำเนินการงาน 7 ส ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งได้ตัวอย่างกิจกรรมต่างๆ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดำเนินการ
รองศาสตราจารย์ ดร. อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ กล่าวถึงการดำเนินการ 7 ส ของมหาวิทยาลัย
หลังจากดูงานจนเหนื่อย บุคลากรจาก สจล. นั่งพักบริเวณห้องสมุดในสวน หน้าอาคารบรรณสาร
ส่วนหนึ่งของการศึกษาดูงาน ห้องทรงอักษร สมเด็จพระเทพร้ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี