ในแต่ละปีการศึกษาแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับหนังสือบริจาคเข้ามาเป็นจำนวนมาก บางส่วนบรรณารักษ์งานจัดหาฯ ที่ดูแลรับผิดชอบได้พิจารณาคัดเลือกเข้าศูนย์บรรณสารสนเทศ ตามที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และเนื้อหาอื่นๆ ที่พิจารณาแล้วมีประโยชน์และเสริมการเรียนรู้ กรณีที่ได้รับหนังสือบริจาคที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้อง จะพิจารณาบริจาคต่อให้กับกรมการศึกษานอกโรงเรียน หรือ กศน. โรงเรียนต่างๆ หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่ติดต่อขอบริจาคเข้ามา รวมทั้งสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมบริการชุมชน ของแผนกบริการสารสนเทศ กรณีที่มีเนื้อหาที่สอดคล้อง แต่ได้รับจำนวนมากเกินไปในการนำขึ้นชั้นให้บริการ จะพิจารณาเก็บไว้เป็น Stock เพื่อประโยชน์ในการทดแทนหนังสือที่เคยมีอยู่ หากมีการสูญหาย หรือชำรุดจนไม่สามารถจะซ่อมได้ และไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว ซึ่งจะได้ช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อเข้ามาใหม่
ในการบริหารจัดการหนังสือ Stock นี้ เมื่อตรวจสอบกับระบบห้องสมุดแล้ว และพิจารณาว่าควรจะเก็บจะบันทึกไว้ใน Google docs โดยมีรายละเอียด ประกอบด้วย ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง/ผุ้รับผิดชอบ ครั้งที่พิมพ์/ปีที่พิมพ์ จำนวนฉบับ เลขISBN, OCLC Number, ภาษาที่ตีพิมพ์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ลำดับและเลขตู้หนังสือ
การที่มีข้อมูลเลขตู้หนังสือ เพื่อจะได้ทราบว่า หนังสือเล่มที่จัดเก็บนั้น อยู่ที่ตู้ไหน ลำดับที่เท่าไรของตู้ เพื่อสะดวกในการหยิบหนังสือเล่มนั้นๆ กรณีที่ต้องการนำหนังสือเล่มนั้นนำเข้าศูนย์บรรณสารสนเทศ ต่อไป โดยที่ตัวเล่มจะใส่ slip และระบุลำดับที่เอาไว้ ซึ่งตู้เก็บหนังสือเหล่านี้จะจัดเก็บไว้ในห้องเก็บหนังสือ
การที่ใช้โปรแกรม Google docs เพื่อจะได้สามารถใช้งานร่วมกันได้หลายๆ คน เช่น ผู้อำนวยการ หรือ หัวหน้าแผนกฯ ในการเข้ามาดูรายชื่อหนังสือ และเพื่อสามารถบริหารจัดการหรือวางนโยบายต่อไปได้
การดิจิไทซ์หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุดแห่งชาติ กับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยดิจิไทซ์หนังสือพิมพ์จีน ตั้งแต่ฉบับปี 2464 เป็นต้นมา และปัจจุบัน ดิจิไทซ์จนถึง ปี พ.ศ. 2530 และมีการให้บริการฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ผู้สนใจ นักวิจัยต้องการใช้ฐานข้อมูลฯ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ข้อมูลเกี่ยวกับความร่วมมือดังกล่าว และฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน มีการเขียนไว้ในหลายๆ บทความ ใน KM Blog ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้แก่
1. ความร่วมมือระหว่างศูนย์บรรณสารสนเทศกับหอสมุดแห่งชาติ 2. สื่อดิจิทัล/สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ 3. ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน 4. 中文报纸数据库 (ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน) 5. ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพเอกสารไฟล์ดิจิทัลหนังสือพิมพ์จีน 6. หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
ผู้เขียนมีหน้าที่ในการดิจิไทซ์หนังสือพิมพ์จีน หลังการที่ทำการถ่ายภาพสำเนาหนังสือพิมพ์จีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย คือการตกแต่งไฟล์รูปภาพให้สวยงาม โดยการตกแต่งไฟล์จะใช้โปรแกรม Advtiffeditor โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ Read the rest of this entry »
การจัดกิจกรรมบริการชุมชนในแต่ละครั้งที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ออกแบบป้ายกิจกรรมการจัดงาน เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรได้มาร่วมกิจกรรมกับทางห้องสมุด ซึ่งผู้เขียนจะใช้แอป PicsArt เป็นหลักในการออกแบบผ่านหน้าจอมือถือ
ตัวอย่างป้ายกิจกรรมที่ใช้แอปพลิเคชั่น PicsArt ในการออกแบบ
Read the rest of this entry »
ในการซ่อมหนังสือ จะมีกรณีที่ต้องฉีกปกเดิมออก เนื่องจากมีการชำรุด หรือเสียหายมาก จนต้องพิจารณาดึงหน้าปกหนังสือเดิม ออก เมื่อมีการซ่อมโดยทำหน้าปกใหม่ ถ้าภาพของหน้าปกเดิมยังมีสภาพดี ผู้มีหน้าที่ซ่อม ก็จะนำภาพหน้าปกเดิมมาติดไว้ตามเดิม กรณีที่หน้าปกเดิมมีความชำรุด เสียหาย ไม่สามารถนำมาติดไว้ตามเดิมหลังจากซ่อมได้ การที่จะให้ผู้ใช้ทราบว่า หนังสือเล่มที่หน้าปกนี้หายไป มีชื่อเรื่องว่าอะไร ผู้ซ่อมจะใช้ปากกาไฟฟ้า เขียนไว้ที่หน้าปกบนผ้าแรกซีนหุ้มปก
วิธีการทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
อุปกรณ์
1.ปากกาไฟฟ้า. 2.เทปสำหรับเขียนสัน
เมื่อส่ง e-mail อาจมีการส่งข้อความผิดพลาด อาจลืมแนบเอกสาร หรือพิมพ์ข้อความตกหล่น หรือมีการสะกดคำผิด ทาง Gmail และ Outlook มีวิธีการยกเลิกได้ทันทีเมื่อกดส่งข้อความไปแล้วภายในเวลาสูงสุดถึง 30 วินาที วิธีการยกเลิกนั้นจำเป็นต้องมีการตั้งค่า มีขั้นตอนดังนี้
วิธีการตั้งค่าการยกเลิกการส่ง เข้า Login สู่หน้า Gmail คลิกที่เครื่องมือตั้งค่า ด้านขวามือโดยจะเป็นรูปฟันเฟือง
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบรรยากาศภายในอาคารให้เกิดความรู้สึกสบาย ผ่อนคลายมากขึ้น และพยายามสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการ เห็นหนังสือที่น่าสนใจ ที่เข้ามาใหม่ๆ อยู่เสมอ ๆ โดยการทำกิจกรรม Link หนังสือโดนใจ เพื่อติด QR Code แนะนำหนังสือตามชั้นหนังสือ แต่ได้เพิ่มความน่าสนใจ สะดุดตา โดยการนำเหล็กกั้นที่ชั้นหนังสือ มาทดลองดัดแปลงเพื่อให้เกิดประโยชน์ จากเหล็กกั้นหนังสือธรรมดา สามารถนำมาเป็นที่จัดแสดงหนังสือในมุมมองที่แปลกตาขึ้นจากเดิม โดยการปรับเปลี่ยน ดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ ก็จะได้รูปลักษณ์ใหม่ๆ ที่ดูน่าสนใจมากขึ้น
ขั้นตอนการดัดเหล็กกั้นหนังสือ มีดังนี้
1. จากเหล็กกั้นหนังสือแบบดั้งเดิม ดังภาพ
ขอแนะนำวิธีการทำงานในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Less Paper ต่อนะคะ ในส่วนของการออกเลขส่งหนังสือกลับไปยังหน่วยงานต้นเรื่อง (กรณีใช้บันทึกต้นเรื่องเดิม)
เมื่อมีหน่วยงานอื่น (หน่วยงานภายใน ) ส่งเรื่องมาหาหน่วยงานของเราเพื่อให้พิจารณาดำเนินการ และต้องส่งเรื่องตอบกลับ มีขั้นตอน คือสารบรรณของหน่วยงานที่รับเรื่อง ดำเนินการ เสนอ ผู้บังคับบัญชา และผู้บังคับบัญชาเกษียนหนังสือ พร้อมลงนามสั่งการ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนการนำเสนอเรื่องจะ กลับมายังสารบรรณ ดังนี้
ภาพประกอบ 1
ภาพประกอบ 2
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นด้านคุณธรรม 6 ประการ คือ ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ และ กตัญญู มีการส่งเสริมให้นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ มีคุณธรรมทั้ง 6 ประการในการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิต รวมทั้งยึดถือเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยอีกแนวทางหนึ่ง
ศูนย์บรรณสารสนเทศเป็นหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้า การวิจัย จึงได้รวบรวมสารสนเทศด้านคุณธรรม เพื่อใช้เป็นแหล่ง สารสนเทศทางด้านคุณธรรม เน้นในด้านความซื่อสัตย์ ประหยัด รับใช้สังคม มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1. วางแผนค้นหาข้อมูลด้านคุณธรรมประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ ประหยัด รับใช้สังคม
2. ค้นหาจากแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ เช่น ระบบห้องสมุด ฐานข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้ง สารสนเทศที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต
3. รวบรวมข้อมูลที่สืบค้นได้ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น หนังสือ บทความ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อออนไลน์ เป็นต้น
4. เขียนข้อมูลที่รวบรวมได้เป็นการลงรายการทางบรรณานุกรมแบบ APA
5. นำสารสนเทศด้านคุณธรรมเผยแพร่ขึ้นเว็บไซต์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/virtue
นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มเติมเว็บไซต์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศแต่ละด้านไว้ด้วย
ศูนย์บรรณสารสนเทศมีการลงรายการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) ที่แจกฟรีเข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) โดยพิจารณาเนื้อหาที่สอดคล้องกับการเรียนการสอน การเสริมทักษะ ความรู้ทั่วไป เพื่อต้องการให้ระบบห้องสมุดของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นแหล่งรวมบรรณานุกรมจากทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายประเภท และสามารถสืบค้นได้จากที่เดียว จึงได้มีแนวคิดในการลงรายการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการอ่านฟรี ดาวน์โหลดฟรี เข้าในระบบห้องสมุด และด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้ เป็นการผลิตของหน่วยงาน องค์กร ต่างๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นการเผยแพร่ฟรี หรือให้ดาวน์โหลดไปอ่านได้โดยเสรี และต้องเคารพในเรื่องลิขสิทธิ์และจำนวนในการเข้าถึง จึงใส่ link เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น ๆ
ขั้นตอนการลงรายการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่แจกฟรี เข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS
การลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีวิธีการเดียวกับการลงรายการหนังสือฉบับพิมพ์ อาจจะมีบางเขตข้อมูลหรือรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างไปบ้างตามลักษณะของการเป็นอิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์
จากการบรรยาย เรื่อง A Room Is Not Just a Room: the Library as Place and Why It Matters โดย คริสเตียน ลอเออร์เซน (Christian Lauersen) ผู้อำนวยการห้องสมุดประชาชนรอสกิลด์ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก และ LocHal: Transformation from a Lending to a Social Library โดย พีเทอเนล ไธจ์เซน (Pieternel Thijssen) ผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรม ห้องสมุดลอคฮาล เมืองทิลเบิร์ก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในงาน TKForum 2021 หัวข้อเรื่อง “Library and Public Space for Learning” ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564 จัดโดย TK Park อุทยานการเรียนรู้
เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง A Room Is Not Just a Room: the Library as Place and Why It Matters
เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง LocHal: Transformation from a Lending to a Social Library
จากประสบการณ์ที่วิทยากรท้้งสองท่าน นำมาแลกเปลี่ยนให้ฟังนั้น การจัดการพื้นที่สาธารณะจนประสบความสำเร็จ เกิดจากการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ชุมชนร่วมกันออกความคิดเห็น เมื่อทราบความต้องการของชุมชน ออกแบบให้สอดคล้อง มีการสำรวจใช้ “ประสบการณ์ผู้ใช้ ” มีการออกไปยังชุมชน และดูความเหมาะสมกับสถานที่นั้น สังเกตชุมชน สะท้อนถึงชุมชน เพื่อให้ห้องสมุดที่จะสร้างนั้น เป็นที่ต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง หรือมีบทบาทอย่างไรเพื่อชุมชน และต้องมีการทำงานต่อเนื่องให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะความต้องการพื้นที่สาธารณะก็เปลี่ยนไปด้วย
นอกจากนี้ คริสเตียน ลอเออร์เซน ได้สรุปทิ้งทาย ว่า ความล้มเหลว เป็นเรื่องปรกติแต่ไม่ใช่แบบที่เกิดซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิมๆ ควรเปิดใจรับความล้มเหลว เป็นวิธีที่ดีในการเรียนรู้ สามาถปรับเปลี่ยนวิธีใหม่