งาน APRC หรือ Asia Pacific Regional Council Conference ประจำปี 2018 ของ OCLC จัดภายใต้หัวข้อ Change the Game ที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน ระหว่างวันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน 2561 Skip Prichard ซึ่งเป็น CEO ของ OCLC ได้พูดถึงความสำคัญของคำว่า Change the Game ภายใต้หัวข้อ How can we change the game? ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
ห้องสมุดเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
Skip Prichard เกริ่นนำ โดยพูดถึงเรื่องรอบ ๆ ตัว ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น แผนที่แบบกระดาษ เปลี่ยนเป็นแผนที่ดูจากคอมพิวเตอร์ จากโทรศัพท์มือถือ ตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญที่ไม่มีใครใช้แล้ว ก็เปลี่ยนเป็น การใช้โทรศัพท์ในมือของตนเอง การเฝ้าบ้านที่เคยใช้สุนัข ก็เปลี่ยนเป็น การดูแลบ้านผ่านโทรศัพท์มือถือ จากนั้นก็กล่าวถึง เกมส์ ให้เราเข้าใจมากขึ้น จากพัฒนาการแบบง่าย ๆ เช่น ตู้เกมส์จอดำ เกมส์แบบตลับ เกมส์คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนรูปแบบไปอย่างเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น ถึงคราวที่ห้องสมุดต้องเปลี่ยนแล้ว
จุดเปลี่ยนที่ วิทยากร กล่าวคือ สิ่งที่ห้องสมุดต้องเปลี่ยนใน 4 ด้าน ได้แก่
การเปลี่ยนของจุดเปลี่ยนทั้ง 4 ด้านต้องเริ่มจากตัวเราเอง เปลี่ยนที่ตัวเราเอง แล้วส่งต่อการเปลี่ยนแปลงให้คนอื่น อย่าสั่งให้คนอื่นเปลี่ยนโดยที่ตัวเองทำแค่สั่ง เพราะสุดท้ายมันไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้น นอกจากเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแล้ว ที่สำคัญสิ่งที่ต้องรักษาไว้ก็คือ
บทสรุปจากการฟังในวันดังกล่าว สื่งที่ต้องเปลี่ยน ทั้ง 4 ด้านแล้ว ที่สำคัญที่สุด ในความคิดที่ได้จากการฟัง ต้องเปลี่ยนความคิดตัวเอง (Mindset) หมายความถึงบรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องเปลี่ยนความคิดตัวเองก่อน ก้าวตามโลกให้ทัน ต้องมีแนวคิดที่ทันสมัย ตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และ อีกสิ่งที่ต้องเก็บไว้รักษาไว้ คือ ความเป็นเอกลักษณ์ของห้องสมุด เช่น เป็นแหล่งที่มีข้อมูลหลากหลายจัดเก็บอย่างเป็นระบบด้วยมืออาชีพ และต้องเก็บความหลงใหล Passion ความรักในห้องสมุดอย่างยั่งยืน
คุณ Kalliope Stavridaki ผู้เชียวชาญด้านการตลาด เป็นวิทยากรในงาน OCLC Asia Pacific Regional Council Conference 28 – 29 November 2018 ณ โรงแรมเชอราตัน กรุงเทพฯ โดยมีการจัดภายใต้หัวข้อ APRC 2018 Change the Game (เมื่อวันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2561) มาบอกเล่าแนวคิดในประเด็น การใช้ประโยชน์จาก Social Media มาเสริมสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างผู้ใช้บริการกับห้องสมุด หรือ การทำให้ผู้ใช้บริการติดอกติดใจห้องสมุดมาใช้บริการอยู่เสมอนั่นเอง โดย คุณ Kalliope Stavridaki เป็นวิทยากรร่วมกับ Adrianna Astle ในหัวข้อ How can you and your library transform user engagement?
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้น ล้วนแล้วแต่มีการติดต่อสื่อสารข้อมูลกันบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงหนีไม่พ้นการนำ Social Media มาใช้ประโยชน์ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้ใช้บริการกับห้องสมุดเข้าหากัน ซึ่งมีเทคนิคง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่สามารถใช้ดึงดูดความสนใจจากผู้ใช้บริการได้จริง ดังต่อไปนี้
1. Get organized วางแผนกำหนดตาราง งาน / กิจกรรม / สิ่งที่จะดำเนินการ ในแต่ละช่วงเวลาให้ชัดเจน แล้วนำไปเผยแพร่ใน Social Media 2. Follow and listen ติดตามผลงานและรับฟังกระแสตอบรับที่เกิดขึ้น ซึ่งคุณ Kalliope ได้นำเสนอตัวอย่างให้เห็นว่า ในยุคสมัยนี้ บุคลากรของห้องสมุดสามารถใช้ประโยชน์จาก facebook, instagram ในการโต้ตอบหรือสื่อสารข้อมูลที่น่าสนใจออกไปเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้คนบนเครือข่าย Social Media ได้ ดังรูป Read the rest of this entry »
Transforming trend insights into innovation โดย Nathania Christy , Head of Global Insight Network เป็น member session วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2561 ของ OCLC Asia Pacific Regional Council Conference 28 – 29 November 2018 : BANGKOK THAILAND (APRC 2018 Change the Game) วิทยากรได้แนะนำ Trend Watching ว่าเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวม Trend ของอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท ซึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์
ในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การที่เราจำเป็นต้องรู้ Trend จะทำให้เราทราบความคาดหวังและความต้องการของผู้ใช้บริการ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน โดย Trend หลักๆ ที่วิทยากรนำเสนอ และตั้งคำถามให้เราคิดตามด้วยทุกข้อตามความเข้าใจของผู้เขียน สรุปได้ดังนี้
1. STATUS SANDCASTLES สถานภาพทางสังคม (Social Status)
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 1.8 พันล้านคน มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ใช้สมาร์ทโฟนในการถ่ายภาพ ทักทายผู้คนด้วยอินสตราแกรม แชร์ประสบการณ์ทุกสิ่งอย่างบนเฟสบุ๊กส์ แล้ว “เราจะใช้ทรัพยากรหรือพื้นที่ในห้องสมุดของเราให้ผู้ใช้บริการบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาได้อย่างไร??” ตัวอย่างที่วิทยากรนำเสนอ เช่น IKEA สอนการทำอาหารอย่างง่าย ฯลฯ
2. FANTASY IRL การออกจากโลกของความเป็นจริง
เขตแดนระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกจินตนาการกำลังจางหายไป และในปี 2562 ผู้บริโภคจะแสวงหาการมีส่วนร่วมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่วิทยากรนำเสนอ เช่น การนำชมพิพิธภัณฑ์ Louvre ตามมิวสิควีดีโอของ Beyonce และ Jay – Z, Man city and fantom นาฬิกาบอกตารางการแข่งขันของทีม Man city เป็นต้น “กลุ่มเป้าหมายของของคุณหนีไปสู่โลกแบบไหน? คุณจะทำให้เขตแดนนั้นพร่ามัวต่อไป หรือจะดึงดูดและกระตุ้นพวกเขาได้อย่างไร?? ”
3. MAGIC TOUCHPOINT สัมผัสมายากล / สัมผัสมหัศจรรย์
ผู้บริโภคคาดหวังว่าจะได้รับบริการจาก MAGIC TOUCHPOINT ราวกับว่าเป็นจินนี่กับตะเกียงวิเศษ ตัวอย่างเช่น พวกเขาต้องการแชทโดยไม่ต้องดาวน์โหลดโปรแกรม, จองการเดินทางได้ทุกที่ ทุกเวลา, Intime mall ที่มีบริการ magic mirror ในห้องน้ำหญิง เป็นต้น “คุณคิดจะใช้เทคโนโลยีเพื่อความสุขได้นี้ได้อย่างไร Touch point ไหนที่คุณสามารถฝังบริการของคุณลงไป?? ”
4. VILLAGE SQUARED (Connection) การเชื่อมโยงหรือเครือข่าย ไม่มีใครอยู่ได้โดยไม่ติดต่อสัมพันธ์กับใคร
ผู้บริโภคในปี 2019 นิยามการเชื่อมโยงใหม่และยอมรับวิธีการใหม่ในการสร้างชุมชน ตัวอย่างเช่น สายการบิน KLM มี Airline’s translation seats ติดต่อกับผู้โดยสารที่สนามบิน, โรงเรียนในชนบทของ Chennai ออกแบบเหมือนหมู่บ้าน โดยเน้นการเรียนการสอนที่ทำอย่างไรให้เด็กๆ มีความสุข , โฆษณาเบียร์ไฮเนเกนส์ ในประเทศอินเดีย ที่แสดงให้เห็นช่องว่างระหว่างเจนเนอเรชั่น ปัญหาที่แท้จริงก็คือพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้มีการพูดคุยหรือสื่อสารซึ่งกันและกัน เป็นต้น “คุณสามารถทำอะไรกับพื้นที่ของคุณ, นโยบาย, ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, รูปแบบประสบการณ์ที่สามารถทำให้ผู้คนสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างมีความหมาย?? ”
ท้ายที่สุดของการฟังสัมมนาในหัวดังกล่าว ผู้เขียนได้ข้อสรุปและประทับใจจากการนำเสนอของวิทยากรทั้งการบรรยายและ Presentation ว่า Trend ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง และงานห้องสมุดไม่ใช่เรื่องยาก โดยเฉพาะผู้เขียนซึ่งไม่ได้จบบรรณารักษศาสตร์ แต่เมื่อต้องมาปฏิบัติงานห้องสมุด ต้องหมั่นเรียนรู้ และพัฒนาตนเองให้พร้อมในการบริการตลอดเวลา สอดคล้องกับประโยคที่ว่า “Open your mind …… open your world”
จากการที่ได้ปฏิบัติงาน Acquisition module ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) นี้มาเป็นเวลา 1 ปี ได้เห็นถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการทำงานนี้มาโดยตลอด ดังนั้น จึงขอเขียนขั้นตอนการทำงานในโมดูลนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด เนื่องจากระบบ WMS มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องในขั้นตอนการทำงาน Acquisitions ซึ่งได้เคยเขียนขั้นตอนการทำงานนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง ดังนั้นจึงขอแสดงขั้นตอนงานตัดงบประมาณ Invoice อีกครั้ง เพื่อให้เห็นงานที่มีการเปลี่ยนแปลง ความละเอียด ชัดเจน กระชับ มากยิ่งขึ้น อีกครั้งตามขั้นตอนต่อไปนี้ รายละเอียด
ประธานคณะกรรมการดำเนินการด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม นำโดย อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม จากทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 60 คน ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ มีการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษา 2559-2561 มีโครงการที่มุ่งเน้นด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมให้แก่นักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยฯ ประกอบด้วย กิจกรรมแบบมีส่วนร่วมที่มุ่งเน้นด้านการประหยัดพลังงานและดูแลสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการศึกษาดูงานอาคาร สำนักงานประหยัดพลังงาน เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการโครงการดังกล่าว ในปีการศึกษา 2561 ได้เข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 เวลา 09.00-12.00 น.
อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง หรือ EGAT Learning Center เป็นโครงการที่กฟผ. มุ่งทำขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์การแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานของประเทศไทยและพลังงานของโลก ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 18 ไร่ มีพื้นที่ 6,000 ตารางเมตร จำนวน 4 ชั้น เจ้าหน้าที่พาชมบริเวณด้านหน้าทางขึ้นเป็นสวนแนวตั้ง ประดับด้วยพรรณไม้ประเภทไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ที่มีความทนทานต่อแสงแดดเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น ฟิโลเดนดรอนสีทอง สีเขียว (Philodendron) เฟิร์น เป็นต้น บริเวณด้านหน้าประตูทางขึ้นมีตราสัญลักษณ์ของ กฟผ. มองลงไปเบื้องหน้าริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระราม 7 และภายในบ่อบำบัด จะเห็นว่าในบ่อมีน้ำสีเขียว เรียกว่าบ่อซึม สามารถใช้น้ำที่บำบัดแล้ว นำมาหมุนเวียนใช้ต่อได้
สวนแนวตั้งและตราสัญลักษณ์ กฟผ.
แสงเงาของผู้เยี่ยมชม
Read the rest of this entry »
OA & Open Content in the user workflow เป็น member session ของวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ของ APRC18 Change the Game โดยมีวิทยากร คือ Kuang-hua Chen และ Titia van der Werf ซึ่งทั้งสองท่าน มาพูดถึงงานที่ OCLC กำลังสำรวจโดยออกแบบสอบถามในเรื่องของ Open Access (OA) และ Open Content ให้แก่ห้องสมุดเข้าไปตอบแบบสอบถามได้ที่ http://oc.lc/OAAPRC18 (หมดเขต 15 มกราคม 2562) โดยวิทยากรได้ให้คำถามประมาณ 5 คำถาม เป็น Discussion guide เพื่อให้ผู้เข้าฟังทำความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
Discussion guide
เริ่มจากคำถามแรกคือ How do you define/categories open content activities and services? ซึ่งเป็น 1 ใน 5 คำถามที่วิทยากรนำเสนอในห้อง และให้ผู้เข้าร่วมฟังนำเสนอว่าในห้องสมุดของตนเองนั้น มีการทำ OA หรือมีการให้บริการ OA ประเภทใดบ้าง ห้องสมุดแต่ละแห่งต่างก็นำเสนอ OA ที่มีในรูปแบบที่เหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง สรุปออกมาได้ตามรูปที่วิทยากรพยายามจัดกลุ่มหรือหมวดหมู่มาให้ การทำ OA ของห้องสมุดที่มาร่วมฟัง มีทั้งที่เป็นการทำด้วยห้องสมุดเอง เช่น การทำ Digitization เอง หรือการไปดึง OA จากที่อื่นมาให้บริการ บางแห่งก็มีเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไปบ้าง
สรุปหมวดของ OA
ประเด็นคำถามอื่นๆ น่าจะเป็นแนวทางในการนำความคิดได้ว่า การมี/การทำ Open content ต้องมีนโยบายอย่างไร มีแนวปฏิบัติอย่างไร แนวโน้มจะเป็นอย่างไร การลงทุนกับการทำ Open content และ OCOC จะมาช่วยในเรื่องพวกนี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าคิดกันต่อและให้เป็นระบบ
OCLC ที่เรามักจะคุ้นกับการเรียก OCLC มากกว่า จนลืมไปแล้วว่า คำเต็มๆ ของ OCLC คือ Online Computer Library Center หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร มีชื่อเสียงในการวิจัยและพัฒนาทางด้านห้องสมุดมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งรับประกันได้ถึงความน่าเชื่อถือในด้านรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด รวมทั้งการขยายงานวิจัยออกไปในหลายๆ ด้าน
ผู้เขียนคุ้นเคยกับผลงานของ OCLC มาตั้งแต่สมัยการทำสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalog พัฒนามาเป็น WorldCat และพัฒนาการจนเป็นการยืมระหว่างห้องสมุดที่สามารถยืมกันได้ทั่วโลก ผ่านระบบ WorldShareILL นับว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการบรรณารักษศาสตร์และห้องสมุดเลยทีเดียว ขณะเดียวกัน OCLC ก็มีการวิจัยในหลายๆ ส่วนที่เอื้อประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงข้อมูล (Linked data) และการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
ในแต่ละปี OCLC จะมีการจัดประชุมวิชาการในแต่ละภูมิภาคเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานวิจัย ความร่วมมือจากหลายๆ ส่วนที่ก่อให้เกิดการวิจัยร่วมกัน รวมทั้งการประชาสัมพันธ์กิจการและผลิตภัณฑ์ของ OCLC เองด้วย นอกเหนือจากหัวข้อเหล่านี้แล้ว OCLC จะมีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับหัวข้อของงานที่จัดในแต่ละปี ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้รับประโยชน์จากข้อความรู้ต่างๆ เหล่านี้ แม้ว่าบางครั้งอาจจะยังตามไม่ทัน แต่การได้ไปฟังเรื่องใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยรู้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีๆ เพราะคำขวัญที่ OCLC ใช้เสมอก็คือ “Because what is known must be shared” ไม่ว่าจะเป็นการ share ทรัพยากรสารสนเทศตาม concept ของ OCLC เองก็ตาม แต่ขอรวมการเอาองค์ความรู้ที่ทำวิจัยมาเผยแพร่หรือการเชิญวิทยากรจากหลายๆ แห่งมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ก็นับเป็นสิ่งที่ดี
สำหรับปี 2561 นี้ ในส่วนภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก OCLC ได้จัดการประชุมที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2561 ภายใต้ชื่อว่า APRC18 Change the Game มีหัวข้อในปีนี้ที่น่าสนใจหลายหลายข้อ เช่น (คงสามารถเขียนได้เฉพาะในส่วนที่ได้เข้าร่วมฟัง เพราะบางหัวข้อมีการแยกห้องตามความสนใจ)
OCLC Asia Pacific Regional Council Conference ในหัวข้อ Change the Game (APRC18 Change the Game)
How can we change the game? โดย Skip Richard สรุปเป็นภาษาไทย
Collaboration, visibility and data-driven decision making โดย Ellen Hartman
How can you and your library transform user engagement? โดย Adrianna Astle และ Kalliope Stavridaki
Evolving Scholarly Record โดย Aaron Tay และ Titia van der Werf
Transforming trend insights into innovations โดย Nathania Christy (สรุปเป็นภาษาไทย)
WMS: Game Changer for your Library โดย Supaporn Chaithammapakorn, Michael Mojica และ Chris Paroz
Reimaging your library space โดย Feiyun Huang, Dr. Amorn Petsom
Are your libraries connected to the global knowledge network? โดย Axel Kaschte
OA& Open Content in the user workflow โดย Kuang-hua Chen และ Titia van der Werf เอกสารฉบับเต็มของวิทยากร
A venue for the research library community โดย Roxanne Missingham, Titia van der Werf, Esther Woo และ Fung Ping Shan
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ได้รับเชิญเป็นผู้พูดในงาน OCLC Asia Pacific Regional Council Conference ในหัวข้อ Change the Game (APRC18 Change the Game) ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2561 โดยในปีนี้ จัดที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน กรุงเทพฯ
หัวข้อที่ผู้จัดงาน คือ OCLC เชิญให้เป็นผู้พูด คือ WMS : Game Changer for Your Library โดยจัดในลักษณะที่เป็น Panel ร่วมกับผู้พูดอีก 2 ท่าน ซึ่งมาจากห้องสมุดที่ใช้ระบบ WorldShare Management Services หรือ WMS คือ Christopher Paroz ซึ่งเป็น Curator of Digital Resources, SAE Institute (https://www.oclc.org/en/events/councils/2018-19/asia-pacific-regional-council-meetings-home/agenda.html) และ Michael Anthony A. Mojica ซึ่งเป็น Director of Learning Resource Center of De La Salle-College of Saint Benilde (https://www.oclc.org/en/events/councils/2018-19/asia-pacific-regional-council-meetings-home/agenda.html)
ระหว่างการขึ้น Panel
ถ้าหากจะพูดว่า “ทะเบียนรายชื่อเอกสารใช้งาน” หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคย แต่หากพูดว่า “รายชื่อแฟ้มเอกสาร” อย่างหลังน่าจะคุ้นเคยมากกว่า
ทุกๆ ปีการศึกษา สำนักงานเลขานุการ จะมีหน้าที่ในการสำรวจแฟ้มเอกสารของศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่มีจัดเก็บอยู่ที่สำนักงานเลขานุการ และแผนกอื่นๆ ว่ามีชื่อแฟ้มเอกสารอะไรบ้าง ระยะเวลาของเอกสารภายในแฟ้ม เพื่อจัดทำเป็น “ทะเบียนรายชื่อเอกสารใช้งาน” ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ส่งไปให้กับกองกลาง เป็นประจำทุกปี
การจัดเก็บเอกสารของศูนย์บรรณสารฯ มีลักษณะเหมือนให้สำนักงานเลขานุการเป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บ ควบคุม ดูแล และให้รหัสแฟ้มเอกสารกับทุกแผนก และให้ทุกแผนกนำแฟ้มเอกสารมาจัดเก็บไว้ที่สำนักงานเลขานุการ ยกเว้นบางกรณีที่บางแผนกอาจมีความจำเป็นในการใช้งานแฟ้มเอกสารนั้นบ่อยๆ แฟ้มเอกสารนั้น อาจจะอยู่กับทั้งสำนักงานเลขานุการและอยู่ที่แผนกอื่น Read the rest of this entry »
กิจกรรมพิธีลงนามความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวันระหว่างหอสมุดกลางแห่งชาติไต้หวัน (National Central Library, Taiwan ROC : NCL) และ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Signing and Opening Ceremony of the Taiwan Resource Center for Chinese Studies (TRCCS) @ CU Library จัดโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561
กิจกรรมนี้ ประกอบด้วย
จากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้ได้รับทราบโครงการความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวัน ระหว่าง หอสมุดกลางแห่งชาติไต้หวัน (National Central Library, Taiwan R.O.C. : NCL) และ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ชมการจัดมุมทรัพยากรสารสนเทศไต้หวัน และ ชมนิทรรศการ “ไทยวิจิตรตระการ-ตำนานไทยในรอยรำลึกไต้หวัน” (The Beauty and Grace of Thailand – An Exhibition of Thailand in Taiwan Memory) และ ได้ฟังการบรรยาย เรื่อง Taiwan Lecture on Chinese Studies ; Thai images in Taiwan (ภาษาอังกฤษ) โดย Prof. Pei-hsiu Chen ผู้อำนวยการภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติจี้หนาน
วิทยากร Prof. Pei-hsiu Chen