SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  (E-Commerce)

บทคัดย่อ:

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เริ่มใช้งานครั้งแรกปี ค.ศ. 1960 เมื่อมีบริษัทในสหรัฐอเมริกานำระบบการเแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange หรือ EDI) และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) มาใช้ในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ขณะนี้ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ธนาคารต่างๆ ได้เริ่มให้บริการในการทำธุรกรรมของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว เช่น ให้บริการรับชำระเงินผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการสร้างระบบการป้องกันการชำระเงินมารองรับหลายรูปแบบ

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการส่งข้อมูล สินค้าและบริการ หรือการชำระเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น สายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในทางธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ เทคโนโลยีที่ช่วยให้การทำธุรกรรม (business transaction) และการทำงานตามขั้นตอน (workflow) ขององค์กรเป็นไปอย่างอัตโนมัติในการให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ เครื่องมือที่ช่วยบริษัท ผู้ประกอบการ ตลอดจนผู้บริโภคลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้และการใช้บริการ ช่วยให้การบริการรวดเร็วขึ้น และช่วยให้ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของสินค้า

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถแบ่งตามลักษณะของคู่ค้าเป็น 4 ประเภท
1) Business to Consumer (B to C) เป็นการค้าระหว่างบริษัทกับผู้บริโภค
2) Business to Business (B to B) เป็นการค้าระหว่างบริษัทกับบริษท
3) Business tp Government (B to G) เป็นการค้าระหว่างองค์กรเอกชนกับองค์กรของรัฐ
4) Consumer to Consumer (C to C) เป็นการค้าระหว่างบุคคลทั่วไป
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยเปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจโดยลดช่องว่างทางการแข่งขันระหว่างองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทำให้องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวทั้งในด้านการบริหาร การจัดการองค์กร รวมไปถึงวิธีการดำเนินธุรกิจ ก่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร นอกจากนั้น ยังสร้างโอกาสให้เกิดการทำธุรกิจในรูปแบบใหม่มากมาย

เพ็ญ ชยาวิวัฒน์กุล. (2547). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  (E-Commerce). วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 61-69.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การวิเคราะห์เชิงปริมาณกับการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

การวิเคราะห์เชิงปริมาณกับการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

บทคัดย่อ:

ในยุคโลกาภิวัฒน์ (globalization) การประกอบธุรกิจต่างๆ จะไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขทางด้านพรมแดน เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ธุรกิจต่างๆ ทั้งที่เป็นธุรกิจท้องถิ่นและธุรกิจระหว่างประเทศต้องแข่งขันกันมากขึ้น การที่ธุรกิจภายในประเทศเริ่มหันมาประกอบธุรกิจระหว่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ในการขยายตลาด แสวงหาแหล่งทรัพยากร ขยายกำลังการผลิต และเพื่อแสวงหาเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น การทำธุรกิจระหว่างประเทศสามารถดำเนินการได้หลายวิธี เช่น การนำเข้าและส่งออก (importing and exporting) การร่วมทุน (joint venture) การได้รับอนุญาตให้ผลิต (licencing) การได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ (tranchising) หรือ การทำสัญญาแบบเหมาเบ็ดเสร็จ (tunkey operation) เป็นต้น การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศมีปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานมากกว่าการประกอบธุรกิจท้องถิ่น เช่น สภาพแวดล้อม ข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย ภาษาและวัฒนธรรม สังคมและการเมือง เป็นต้น  ในการดำเนินธุรกิจ การวางแผน การบริหารจัดการ และการตัดสินใจของธุรกิจระหว่างประเทศควรมิให้เกิดข้อผิดพลาด มิฉะนั้นแล้วจะเกิดความเสียเปรียบต่อคู่แข่งขัน ดังนั้น ธุรกิจระหว่างประเทศจึงหันมาใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (quantitative analysis approach) เข้ามาช่วยในการวางแผน การบริหารจัดการและตัดสินใจ เพราะวิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณจะสามารถช่วยหาคำตอบที่เหมาะสมอย่างมีเหตุมีผล โดยอาศัยหลักทางคณิตศาสตร์และสถิติเข้ามาช่วย วิธีการในการวิเคราะห์เชิงปริมาณประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ ขั้นการกำหนดปัญหา ขั้นการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (model) ขั้นการกำหนดข้อมูลที่ต้องการ ขั้นการกำหนดแนวทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ขั้นทดสอบหาแนงทางเลือกในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด ขั้นการวิเคราะห์ผลลัพธ์ และขั้นตอนสุดท้าย คือ การนำผลลัพธ์ไปใช้จริง ซึ่งขั้นตอนในการวิเคราะห์เชิงปริมาณเหล่านี้ สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผลและหาคำตอบได้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงค่อนข้างทำให้นิยมใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจมากขึ้น

 

สมยศ อวเกียรติ. (2547). การวิเคราะห์เชิงปริมาณกับการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 51-60.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การบริหาร : การสร้างแรงจูงใจในที่ทำงาน
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

การบริหาร : การสร้างแรงจูงใจในที่ทำงาน

บทคัดย่อ:

ความต้องการและแรงจูงใจเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ดังนั้น ผู้บริหารจึงมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวนี้ เพื่อการบริหารที่มุ่งหวังผลจากความสามัคคีของบุคคลในองค์การ ตลอดจนการสร้างแรงเสริมและความกระตือรือร้น จากหลักการบริหารที่กล่าวว่าองค์การเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนและงาน องค์การจึงเป็นความเกี่ยวข้องระหว่างคนและงาน ทั้งนี้ เพราะคนเป็นผู้สร้างงานขึ้น นั่นคือ การที่คนได้สร้างองค์การขึ้นมานั่นเอง ในขณะที่งาน ซึ่งเป็นระบบที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในการที่คนใช้เป็นต้นแบบในการทำงาน ดังนั้น งานจึงเป็นสิ่งที่ควบคุมคนด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้คนและงานจึงเอื้อประโยชน์ต่อกัน เพราะคนเป็นผู้สร้างงาน ในขณะที่งานเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมพฤติกรรมของคนให้สอดคล้องกันในการทำงานร่วมกัน จากความสัมพันธ์ดังกล่าวทั้งหมดนี้ จึงจะเห็นได้ว่า หากบุคลากรในองค์การ ได้รับแรงจูงใจในการทำงานให้เขาเหล่านั้น ได้บรรลุถึงความต้องการของตนเองแล้ว ก็จะก่อให้เกิดประสิทธิผลในการทำงาน และประสิทธิผลโดยรวมขององค์การ

สถาพร ปิ่นเจริญ. (2547). การบริหาร : การสร้างแรงจูงใจในที่ทำงาน. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 45-50.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก

A Comparison of Learning Achievement Between Huachiew Chalermprakiet University Students Who Gained Admission Through the Ministry of University Affairs and Those Who Were Admitted by the University Directly

บทคัดย่อ:

การวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก ซึ่งใช้วิธีการจับคู่ (Matching) ของนักศึกษาทั้งสองประเภท โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรที่ศึกษาในชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2544-2545 ทั้งหมดรวม 6 คณะ คือ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะกายภาพบำบัด และคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสิ้น 558 คน จำแนกเป็นนักศึกษาชาย 20 คน และนักศึกษาหญิง 538 คน การสุ่มตัวอย่างจากประชากรดังกล่าวคำนึงถึงสถานภาพส่วนตัว คือ เพศ อายุ แผนกวิชา ที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คณะหรือสาขาวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ และสถานภาพทางครอบครัว คือ ภูมิลำเนา อาชีพบิดา (มารดา) การเลือกตัวอย่างแบบจับคู่โดยให้แต่ละคู่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อเพิ่มความเที่ยง (precision) ในการเปรียบเทียบค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนของนักศึกษาทั้งสองประเภท

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีสมมติฐานว่า ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนของนักศึกษาที่สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือกไม่แตกต่างกัน โดยใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความแปรปรวน ในกรณีข้อมูลมีการจำแนกสองทางโดยมีความเกี่ยวพัน (ANOVA- Two Ways Classification with Interaction) ผลการวิจัยพบว่า

นักศึกษาที่สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือกมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนไม่แตกต่างกัน เมื่อทดสอบอิทธิพลของคณะ ปรากฏว่า มีผลต่อค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 แต่ไม่พบว่าอิทธิพลร่วมของคณะกับประเภทการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมีผลต่อค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียน

 

ชัยรถ หมอเมือง. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 32-44.

อ่านบทความฉบับเต็ม

REHABCO and recovery signal : a retrospective analysis
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

REHABCO and recovery signal : a retrospective analysis

บทคัดย่อ:

An investigation of the REHABCOûs financial position and performance using the Altman
model as a retrospective analysis is conducted. Original Altmanûs cutoff points are set out to quantify a recovery signal of the ailing firms. Results indicate that, on average, those ailing firms in the REHABCO still have poor performance and financial position. There are only two companies with the Z-score greater than the higher cutoff point, that means they are, theoretically, in the safe area. However, at the end of the year 2003 the two healthier firms are still in the REHABCO . This can be interpreting that the result of the Altman model is only a guideline of the recovery investigation, and the companies still need special treatments in order to reach strong financial position and performance on continuous basis.

Worasith Jackmetha. (2547). REHABCO and recovery signal : a retrospective analysis. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 25-31.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นกับบรรษัทข้ามชาติไทย
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นกับบรรษัทข้ามชาติไทย

A Comparative Study on Activities of Human Resource Development between Japanese and Thai Transnational Corporations.

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติไทย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลำดับความสำคัญของกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติไทย และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรในบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติไทยต่อกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทกลุ่มตัวอย่าง คือ บรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นจำนวน 76 บริษัท และบรรษัทข้ามชาติไทยจำนวน 10 บริษัท ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม 2 ชุด ชุดที่ 1 สำหรับผู้จัดการฝ่ายบุคคล ชุดที่ 2 สำหรับผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับล่าง และผู้ปฏิบัติการ แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้นจำนวน 344 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Read the rest of this entry »

พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจ ในฐานะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในการสร้างความเจริญวัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาติ
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจ ในฐานะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในการสร้างความเจริญวัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาติ

บทคัดย่อ:

พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในการสร้างความเจริญวัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาตินั้น ประกอบด้วยประเด็นหลัก 3 ประการด้วยกัน กล่าวคือ พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจในฐานะนักปกครอง นักการศึกษา และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยในฐานะที่ทรงเป็นนักปกครอง พระองค์ได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถเป็นที่ประจักษ์ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในฐานะนักการศึกษา พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นคุณูปการแก่การศึกษาของชาติ ทั้งการส่งเสริมการศึกษา โครงการศิลปาชีพ และการให้การอบรมพระราชโอรสธิดา (จนทรงสามารถเป็นนักศึกษาศาสตร์และนักวิชาการของชาติ) และในฐานะนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการสำคัญๆ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นอเนกประการ

ประพนธ์ โอสถสัมพันธ์สุข. (2547). พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจ ในฐานะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในการสร้างความเจริญวัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 5-12.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

การเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ

Aerobic Dance for Health

บทคัดย้อ:

การเต้นแอโรบิก (aerobic dance) เพื่อสุขภาพเป็นการออกกำลังกายอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยพัฒนด้านความแข็งแรง ความอดทน ความมีพลัง นอกจากนี้ยังเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจ ปอด กล้ามเนื้อ ข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย อีกทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน ประกอบกับช่วยพัฒนาทางด้าน จิตใจ อารมณ์ และสังคม ช่วยให้มีสุขภาพที่ดี ปฏิบัติภาระหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีบุคลิกภาพที่ดี จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของการเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ คือ ก่อให้เกิดความสนุกสนานควบคู่ไปกับเสียงเพลง โดยมีจังหวะดนตรีเป็นเครื่องกำหนดการเคลื่อนไหวร่างกาย ถ้าจะให้ได้ผลด้านสุขภาพและสมรรถภาพจะต้องมีการจัดโปรแกรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้ที่จะออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก ทำให้การเต้นแอโรบิกเป็นกิจกรรมบริหารร่างกายที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาบได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นโดยเฉพาะการออกกำลังกายที่เรียกว่า การเต้นแอโรบิก (aerobic dance)

อังคะนา ศรีตะลา. (2547). การเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 88-101.

อ่านบทความฉบับเต็ม

จิตวิญญาณ : การดูแล
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

จิตวิญญาณ : การดูแล

บทคัดย่อ:

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำนิยาม คำว่า สุขภาพ หมายถึง ภาวะที่เป็นสุขทางกาย ภาวะที่เป็นสุขทางใจ ภาวะที่เป็นสุขทางสังคม และภาวะที่เป็นสุขทางจิตวิญญาณ ซึ่งทั้งสี่มิตินี้มิได้แยกจากกันหากแต่เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องในกันและกันอย่างแยกไม่ออก แต่บุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลภาวะสุขภาพของผู้มารับบริการมักจะละเลยมิติทางจิตวิญญาณของผู้รับบริการ ซึ่งอาจเนื่องจากการยึดติดกับรูปแบบการรักษาแบบแยกส่วน ทำให้ขาดการมองบุคคลในรูปแบบองค์รวม หรือจากการที่บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของมิติจิตวิญญาณของผู้รับบริการ แต่หลีกเลี่ยงไม่กล้าสัมผัส เนื่องจากขาดความรู้ที่ถูกต้อง ในที่นี้ได้อธิบายความหมายของจิตวิญญาณ เสนอแนวทางการพัฒนาตนเองของบุคลากรในการเข้าถึงซึ่งจิตวิญญาณของผู้รับบริการ เช่น การประเมินสุขภาวะด้านจิตวิญญาณของบุคคล แนวทางการพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านจิตวิญญาณ และวิธีประเมินผลว่าผู้รับบริการได้รับการตอบสนองด้านจิตวิญญาณแล้วหรือไม่

ชนิกา เจริญจิตต์กุล. (2547). จิตวิญญาณ : การดูแล. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 78-87.

อ่านบทความฉบับเต็ม

โรคอ้วน : อันตราย ผลกระทบ และแนวทางการรักษา
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

โรคอ้วน : อันตราย ผลกระทบ และแนวทางการรักษา

บทคัดย่อ:

ปัจจุบันภาวะอ้วนจัดเป็นโรคหนึ่งที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุข เนื่องจากส่งผลกระทบให้เกิดโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ โรคกระดูกและข้อ โรคมะเร็ง ความผิดปกติของแมแทบอลิซึม การเจริญเติบโตด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ เพราะเนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) จะหลั่งสารหลายชนิด ได้แก่ ฮอร์โมนเล็ปติน (leptin) ซึ่งควบคุมความหิวและการใช้พลังงาน TNF-α รบกวนการส่งสัญญาณของตัวรับอินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะดื้อต่ออินซูลินในคนอ้วน PAI-1 ยับยั้งการสลายไฟบริโนเจน ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือ PGI2 PGF2α ควบคุมการทำงานของการแข็งตัวของเลือก การอักเสบ การตกไข่ การมีระดู และการหลั่งกรด TGF-β ควบคุมการตอบสนองทางชีววิทยารวมทั้งการแบ่งเซลล์ การทำลายเซลล์ IGF-1 กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์และเป็นตัวกลางที่มีผลต่อฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโต เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคอ้วนในผู้ใหญ่ใช้การวัดเส้นรอบเอวและค่าดัชนีมวลกายควบคู่กัน ในเด็กใช้ดัชนีมวลกายตามอายุและการเทียบน้ำหนักกับส่วนสูงตามเปอร์เซ็นต์ไทล์ของกราฟการเจริญเติบโต โรคอ้วนสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบแผนการดำเนินชีวิต การเลือกรับประทานอาหารควบคู่กับการออกกำลังกาย ซึ่งควรกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอด้วยความร่วมมือกันของทุกๆ ฝ่ายให้ตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบของโรคอ้วน

สุจิตรา ชัยกิตติศิลป์. (2547). โรคอ้วน : อันตราย ผลกระทบ และแนวทางการรักษา. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 66-77.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa