SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นกับบรรษัทข้ามชาติไทย
มีนาคม 13th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นกับบรรษัทข้ามชาติไทย

A Comparative Study on Activities of Human Resource Development between Japanese and Thai Transnational Corporations.

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติไทย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลำดับความสำคัญของกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติไทย และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรในบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติไทยต่อกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทกลุ่มตัวอย่าง คือ บรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นจำนวน 76 บริษัท และบรรษัทข้ามชาติไทยจำนวน 10 บริษัท ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม 2 ชุด ชุดที่ 1 สำหรับผู้จัดการฝ่ายบุคคล ชุดที่ 2 สำหรับผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับล่าง และผู้ปฏิบัติการ แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้นจำนวน 344 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติไทย นำมาใช้จะเป็นทั้ง 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการฝึกอบรม กิจกรรมการศึกษา กิจกรรมการพัฒนา โดยบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมการฝึกอบรมและกิจกรรมพัฒนาในระดับปานกลาง แต่ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมการศึกษาในระดับน้อย ในขณะที่บรรษัทข้ามชาติไทยได้ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมทั้งสามในระดับปานกลาง แต่เมื่อทดสอบเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการให้ความสำคัญต่อกิจกรรมการพัฒนทรัพยากรมนุษย์ทั้งสามกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติไทยแล้วพบว่า กิจกรรมการฝึกอบรมและกิจกรรมการพัฒนาไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 แต่กิจกรรมการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
2. บรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นนำกิจกรรมการฝึกอบรมและกิจกรรมการศึกษามาใช้เพื่อพัฒนาผู้บริหารระดับล่างเป็นส่วนใหญ่ ส่วนกิจกรรมการพัฒนานำมาใช้พัฒนาผู้บริหารระดับกลางเป็นส่วนใหญ่ สำหรับบรรษัทข้ามชาติไทยนั้น นำกิจกรรมการฝึกอบรมมาใช้เพื่อพัฒนาผู้บริหารระดับกลางเป็นส่วนใหญ่ และนำกิจกรรมการศึกษาและกิจกรรมการพัฒนามาใช้พัฒนาผุ้บริหารระดับล่างเป็นส่วนใหญ่
3. บุคลากรในบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นมีความเห็นต่อการจัดกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทต่อการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม และต่อการจัดกิจกรรมการพัฒนาในระดับสูง สำหรับความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการศึกษาจะอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับบุคลากรในบรรษัทข้ามชาติไทยมีความเห็นต่อการจัดกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบริษัททุกิจกรรมในระดับสูง
อย่างไรก็ดี เมื่อทดสอบเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพบว่า ความคิดเห็นของบุคลากรในบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติไทยต่อกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกกิจกรรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
4. บุคลากรในบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติไทย มีความคิดเห็นต่อประโยชน์ของกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อทดสอบเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพบว่า ความคิดเห็นของบุคลากรในบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติไทยต่อประโยชน์ของกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

The Objectives of this research were to study and compare the kinds of activities in human Resource development between Japanese and Thai Transnational Corporations, to study and compare the level of importance on activities in human resource development between Japanese and Thai transnational corporations, and to study and compare the opinions of employees of Japanese and Thai transnational corporations towards human resource development activities.

Size of sample are 76 Japanese transnational corporations and 10 Thai transnational corporations. Two types of questionnaires were used. One of them was for personal manager. Another was for medium-level manager, low-level manager and operational level. The three hundred and forty-four questionnaires have been sent randomly. SPSS was used to analyze the data. The statistic used in the research were frequencies, ratios, means, and standard deviations.

The results are as follows:
1. The kinds of activities of human resource development between Japanese and Thai
transnational corporations are training, education and development. The levels of importance of training and development are medium, but the level of importance of education is low in Japanese transnational corporations. In Thai transnational corporations, the level of importance of training, education and development are medium.
2. In Japanese transnational corporations, training and education were used for developing the low-level managers more than others, but development was used for the medium-level managers more than others. But in Thai transnational corporations, training was used for developing the medium-level managers more than others, but education and development were used for the lowlevel managers more than others.
3. The employeeûs opinions towards human resource development activities of Japanese
and Thai transnational corporations had positive opinions. In Japanese transnational corporations,the employees had high-level opinions in training and development, and medium-level opinions in education. In Thai transnational corporations, the employees had high-level opinions in training,education, and development. However, T-test results indicated that the employeeûs opinions towards human resource development activities of Japanese transnational corporations were not significantly different from Thai transnational corporations.
4. The opinion level of employees of Japanese and Thai transnational corporations towards human resource development activitieûs benefits were medium. Most of them indicated that human resource development activities had the benefits to themself and organization development. T-test results indicated that the employeeûs opinions towards the benefits of human resource development activities of Japanese transnational corporations were significantly different from Thai transnational corporations

 

เพ็ญศิริ สุธรรมโน รุ่งฤดี สุขวิริยะเสถียร และ สถาพร ปิ่นเจริญ. (2547). การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นกับบรรษัทข้ามชาติไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 13-24.

อ่านบทความฉบับเต็ม


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa