การวิเคราะห์เชิงปริมาณกับการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ
บทคัดย่อ:
ในยุคโลกาภิวัฒน์ (globalization) การประกอบธุรกิจต่างๆ จะไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขทางด้านพรมแดน เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ธุรกิจต่างๆ ทั้งที่เป็นธุรกิจท้องถิ่นและธุรกิจระหว่างประเทศต้องแข่งขันกันมากขึ้น การที่ธุรกิจภายในประเทศเริ่มหันมาประกอบธุรกิจระหว่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ในการขยายตลาด แสวงหาแหล่งทรัพยากร ขยายกำลังการผลิต และเพื่อแสวงหาเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น การทำธุรกิจระหว่างประเทศสามารถดำเนินการได้หลายวิธี เช่น การนำเข้าและส่งออก (importing and exporting) การร่วมทุน (joint venture) การได้รับอนุญาตให้ผลิต (licencing) การได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ (tranchising) หรือ การทำสัญญาแบบเหมาเบ็ดเสร็จ (tunkey operation) เป็นต้น การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศมีปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานมากกว่าการประกอบธุรกิจท้องถิ่น เช่น สภาพแวดล้อม ข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย ภาษาและวัฒนธรรม สังคมและการเมือง เป็นต้น ในการดำเนินธุรกิจ การวางแผน การบริหารจัดการ และการตัดสินใจของธุรกิจระหว่างประเทศควรมิให้เกิดข้อผิดพลาด มิฉะนั้นแล้วจะเกิดความเสียเปรียบต่อคู่แข่งขัน ดังนั้น ธุรกิจระหว่างประเทศจึงหันมาใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (quantitative analysis approach) เข้ามาช่วยในการวางแผน การบริหารจัดการและตัดสินใจ เพราะวิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณจะสามารถช่วยหาคำตอบที่เหมาะสมอย่างมีเหตุมีผล โดยอาศัยหลักทางคณิตศาสตร์และสถิติเข้ามาช่วย วิธีการในการวิเคราะห์เชิงปริมาณประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ ขั้นการกำหนดปัญหา ขั้นการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (model) ขั้นการกำหนดข้อมูลที่ต้องการ ขั้นการกำหนดแนวทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ขั้นทดสอบหาแนงทางเลือกในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด ขั้นการวิเคราะห์ผลลัพธ์ และขั้นตอนสุดท้าย คือ การนำผลลัพธ์ไปใช้จริง ซึ่งขั้นตอนในการวิเคราะห์เชิงปริมาณเหล่านี้ สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผลและหาคำตอบได้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงค่อนข้างทำให้นิยมใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจมากขึ้น
สมยศ อวเกียรติ. (2547). การวิเคราะห์เชิงปริมาณกับการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 51-60.
อ่านบทความฉบับเต็ม