ผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่ในงานจัดหา ของแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับมอบหมายในการลงรายการเบื้องต้น (Key Basic Tag) ในการสร้าง Order ของฐานข้อมูลห้องสมุด เพื่อเป็นการลงรายการทางบรรณนุกรมเบื้องต้น และเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบรรณารักษ์แผนกวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms 2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการ การสืบค้นสามารถสืบค้นได้ทั้ง 2 โมดูล คือ ในโมดูล Acquisition เลือก Discover Items Search และโมดูล Metadata เลือก Record Manager Search โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้ 2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหา My Library Holding , All WorldCat, My LHRs 2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number 2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น ต้องการหาผู้แต่งชื่อ ปรางค์สุทิพย์ ทรงวุฒิศีล Read the rest of this entry »
ในบางครั้ง หลายท่านคงเคยประสบปัญหาการเข้าไปในพื้นที่ ที่อินเตอร์เน็ตขัดข้องหรืออับสัญญาณ wifi แต่ในขณะนั้นจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ในการใช้งาน
ปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลาย หากท่านมีสายชาร์จมือถือและสัญญาณอินเตอร์เน็ตถือมือที่แรงพอ ด้วยการแชร์อินเตอร์เน็ตจากมือถือเข้าคอมพิวเตอร์ผ่านสาย USB ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
1. เสียบสาย USB เชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับ เครื่องคอมพิวเตอร์
2. เปิดมือถือ เข้าไปที่ setting แล้วเลือกเมนูที่เกี่ยวกับ Wireless & Networks
3. เลือกเมนู Tethering & portable hotspot Read the rest of this entry »
ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ได้มีฟังก์ชั่น เพื่อส่งบิลการชำระค่าปรับให้กับสมาชิกผ่านช่องทาง E-mail ของสมาชิกได้โดยสะดวกและรวดเร็ว โดยผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงิน ซึ่งสมาชิกสามารถไปตรวจสอบใบเสร็จได้ทาง E-mail ที่สมาชิกได้แจ้งไว้ในระบบ แต่ถ้ามีการร้องขอก็ต้องออกใบเสร็จให้ตามปกติ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติงานการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail ดังต่อไปนี้ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail
บทความที่เกี่ยวข้อง
สถิติห้องสมุดกับงาน Circulation Events Detail Report ใน WMS
วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS
เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ
Notification Alert
ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่
วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม
การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS
ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording
งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS
งานสร้างระเบียนสมาชิก
No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร
การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)
ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS
วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก
คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1
ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ได้ทำฟังก์ชั่น เพื่อรายงานสถิติเกี่ยวกับการทำงานในห้องสมุดที่น่าสนใจมีมากมาย ในส่วนของงาน Circulation มีดังนี้
โดยมีวิธีการ รายละเอียด
จากตัวอย่างข้างต้น บุคลากรผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้เพื่อจัดเก็บสถิติหรือตรวจสอบการทำงานได้อย่างง่ายดายเพื่อนำมารายงานผลการปฏิบัติงานได้ ผู้บริหารหรือหัวหน้างานสามารถตรวจสอบการทำงานได้หรือนำสถิติใน Circulation Events Detail Report มาช่วยในการตัดสินใจในการบริหารต่อไป
ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เปิดใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services หรือ WMS มาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ในระบบ WMS มีฟังก์ชั่นในการให้บริการจองทรัพยากรสารสนเทศ โดยการจองทรัพยากรสารสนเทศทางออนไลน์ สามารถทำได้ 2 วิธี ดังต่อไปนี้
การจองทั้ง 2 แบบสามารถจองทรัพยากรสารสนเทศได้ทั้งที่อยู่บน Shelf และที่ถูกยืมออกไป
รายละเอียดของ การจองหนังสือ
ตามที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำรายงานการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ของศูนย์บรรณสารนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในการอนุรักษ์พลังงาน ในตารางการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
1. ตารางสรุปการใช้ไฟฟ้า น้ำประปา อาคารบรรณสาร 2. กราฟแสดงทิศทางการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา อาคารบรรณสาร 3. วิธีการคำนวณน้ำหนักกระดาษ อาคารบรรณสาร 4. ข้อมูลการใช้ทรัพยากรและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาคารบรรณสาร 5. การวิเคราะห์ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก อาคารบรรณสาร 6. ปริมาณขยะ อาคารศูนย์บรรณสารสนเทศ
มารู้จักวิธีการคำนวณรายงานการใช้ทรัพยากรสารสนเทศกันเถอะ….
ประโยชน์ที่ได้จากการทำรายงานฉบับนี้ ทำให้ทราบถึงปริมาณการใช้ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และกระดาษ ของอาคารบรรณสาร หากมีการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรดังกล่าว จะได้หาปัญหาของการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรนั้น เช่น การช่วยรณรงค์ การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟฟ้า ลดปริมาณขยะ และรวมถึงการร่วมแรงร่วมใจกันใช้กระดาษรีไซเคิลนำมาพิมพ์เอกสาร ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวมาข้างต้น ได้มีอยู่ในมาตรการการประหยัดพลังงานด้วยคุณธรรมของมหาวิทยาลัย 15 ข้อ
มาทำความรู้จัก App Digby ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับมือถือตัวช่วยในการใช้งานในห้องสมุดกันครับว่าช่วยสนับสนุนการใช้งานห้องสมุดอย่างไรบ้าง
1. เข้าถึงรายการบรรณานุกรมของหนังสือ
2. นำขึ้นชั้นหนังสือได้ตามเลขหมู่
3. ทำ Inventory ของหนังสือ
4. คืนออกจากระบบผู้ใช้บริการ
5. Capture หน้าจอของบรรณานุกรมช่วยลดในการจดทำให้ประหยัดกระดาษ
มาเรียนรู้ App Digby เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานกันนะครับ
ทำความรู้จัก App Digby
จากแอพ Digby นี้ ทาง OCLC ได้พัฒนาการใช้งานของแอพพลิเคชัน ให้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้นเพื่อความสะดวกในการทำงานในห้องสมุดหรือพกพาแอพพลิเคชัน Digby ไปใช้งานนอกห้องสมุดได้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงาน ผมหวังว่าทาง OCLC จะเพิ่มลูกเล่นเพิ่มขึ้น เช่น การยืม การชำระค่าปรับ หรือการจองหนังสือผ่านแอพพลิเคชันในอนาคต
บุคลากรจากแผนบริการสารสนเทศในแต่ละชั้น มีหน้าที่ในการรับหนังสือใหม่ที่ผ่านการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศแล้ว เพื่อนำให้บริการต่อไป แต่ก่อนที่จะนำขึ้นให้บริการนั้น แผนกบริการสารสนเทศ จะมีการถูกสอบความถูกต้องของหนังสือ เช่น เลขเรียกหนังสือที่อาจจะผิดพลาดได้ กล่าวคือ สันหนังสืออาจจะมีเลขเรียกหนังสือต่างจากที่บันทึกในระบบห้องสมุด
แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีขั้นตอนในการตรวจสอบ ดังนี้
1.หนังสือที่ผ่านการ Catalog จากแผนกวิเคราะห์ฯ เรียบร้อยแล้ว หนังสือจะถูกส่งมายังแผนกบริการสารสนเทศ เพื่อขึ้นชั้นให้บริการ พร้อมแบบฟอร์มการส่งหนังสือ ดังภาพ
2.เมื่อตรวจเช็คจำนวนหนังสือแล้ว จึงนำตัวเล่มหนังสือนั้นๆ มาตรวจสอบความถูกต้องในระบบห้องสมุด WMS หรือ WorldShare Management Services ก่อนนำขึ้นชั้นหนังสือต่อไป
วิธีการตรวจสอบความถูกต้องในระบบ WMS Read the rest of this entry »
การซ่อมหนังสือ เป็นการบำรุงรักษาหนังสือของห้องสมุด หนังสือที่ผ่านการหยิบใช้งานบ่อยๆ อาจมีชำรุด เช่น สันหนังสือ ปกหนังสือ หรือ หน้าหนังสือ หลุดออกจากตัวเล่ม ตัวอย่างหนังสือที่ชำรุด ดังภาพ
เมื่อผู้ดูแลความเรียบร้อยประจำพื้นที่ พบหนังสือชำรุด จะเก็บหนังสือเล่มนั้นๆ มาเพื่อซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพปกติ เพื่อพร้อมที่จะนำออกให้บริการต่อไปจึงต้องมีการ เปลี่ยน Status ของหนังสือ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบว่าหนังสือเล่มนั้นๆ ยังไม่พร้อมให้บริการ โดยจะปรากฏ ที่หน้าจอ การสืบค้น ดังนี้ “Repair Room”
เมื่อหนังสือได้รับการซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องเปลี่ยน Status เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่าหนังสือเล่มนั้นๆ พร้อมให้บริการแล้ว โดยจะปรากฏ ที่หน้าจอ การสืบค้น ดังนี้ “Available”
Read the rest of this entry »
ในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS มีฟังก์ชั่น ในการพิมพ์สันหนังสือได้ โดยใช้คำสั่ง Label and Export List สำหรับการพิมพ์สันหนังสือ หรือเลขเรียกหนังสือที่บรรณารักษ์กำหนดไว้สำหรับหนังสือเล่มนั้นๆ ตามขั้นตอนดังนี้