มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มียุทธศาสตร์ในการเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและจีนศึกษา ศูนย์บรรณสารสนเศ ซึ่งเป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย จึงมีหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยมีการให้บริการหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ ชั้น 4
ดังนั้น เพื่อให้หนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่รู้จักและมีการใช้งานมากขึ้น ผู้ปฏิบัติงาน จึงได้จัดมุมหนังสือใหม่ (New Books) ขึ้น ที่บริเวณประตูทางเข้าชั้น 4 ดังปรากฏดังภาพ
โดยการจัดมุมหนังสือแนะนำนั้น จะเลือกหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มีการจัดทำบรรณนิทัศน์ประกอบหนังสือแต่ละเล่มไว้ด้วย เพื่อเป็นการนำเสนอให้ผู้ใช้บริการอ่านเนื้อหาโดยสรุปและพิจารณาที่จะอ่านต่อหรือยืมกลับไปอ่านต่อไป
หนังสือแนะนำดังกล่าว จะมีการประชาสัมพันธ์ขึ้น เฟซบุ๊ค ของศูนย์บรรณสารสนเทศและทางเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศในแต่ละเดือนด้วยเช่นกัน
หากผู้ใช้สนใจต้องการยืม สามารถหยิบไปยืมได้ที่ชั้น 1 ค่ะ
แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภาระกิจหลักในการเสาะแสวงหาทรัพยกรสารสนเทศ หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศทั้งด้วยการจัดซื้อด้วยงบประมาณของมหาวิทยาลัย และการขอรับบริจาคจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อนำทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ มาให้บริการแก่ผู้ใช้บริการของมหาวิทยาลัยฯ ให้ครอบคลุมหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยทำการเรียน การสอน การวิจัย รวมทั้งทรัพยากรสารสนเทศทั่วๆ ไป โดยสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศผ่านการสืบค้นระบบห้องสมุดอัตโนมัติ “WMS” หรือ WorldShare Management Services
สำหรับงานบริจาคของแผนกจัดหาฯ นั้นจะช่วยประหยัดงบประมาณด้านจัดซื้อได้มากทีเดียว หนังสือดีๆ มักจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาศูนย์บรรณสารสนเทศา ถ้ามีซ้ำและพิจารณาแล้วว่า มีจำนวนพอเพียง หรือทดแทนเล่มเก่าที่ชำรุดแล้ว จะบริจาคให้แก่หน่วยงานต่างๆ ต่อไป แต่คาดว่ายังมีหนังสือดีๆ ที่ยังไม่มีจึงต้องเสาะแสวงหาต่อไป
รูปแบบการรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศ Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ อีกมากมายและยังมีบริการเสริมด้านอื่น ๆ เช่น บริการยืมปลั๊กไฟ บริการถุงผ้าสำหรับใส่หนังสือ บริการหมากฮอส หมากรุก หมากล้อม ห้องสมุดได้เพิ่มการบริการอีกรูปแบบหนึ่งนั้นคือ บริการรับฝากของซึ่งเป็นหนึ่งบริการที่จะอำนวยความสะดวกกับผู้ใช้บริการโดยจัดหาตู้ล็อกเกอร์จัดเตรียมไว้ให้ ณ บริเวณห้องโถงกลาง ชั้น 1
Read the rest of this entry »
สำนักงานเลขานุการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดให้มีการอบรมโครงการกิจกรรมการสร้างสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน ในวันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์บรรจบ ปิยมาตย์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ วิทยากรในการอบรมครั้งนี้
โครงการดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 6 เรื่องการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 1.3 การสร้างสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี อันจะก่อให้เกิดความสุขในการทำงานและการทำให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์โครงการ
1.เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปฏิบัติงาน
2. เพื่อให้บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และพบปะสังสรรค์
3. เพื่อพัฒนาความสามารถและเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน
4. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและเกิดความผูกพันต่อองค์กร
ผลที่คาดว่าได้รับ
1. เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปฏิบัติงาน
2. เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคลากร
3. มีการพัฒนาความสามารถและเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน
4. สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและเกิดความผูกพันต่อองค์กร
วิทยากร ได้เริ่มต้นให้เรารู้จักการทำงานเป็นทีม ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งหลักๆ อันได้แก่
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดโครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หัวข้อ “เขยิบมาแยกขยะ” เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของขยะ การจัดการขยะ และการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์วนิดา สุวรรณพ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.30-12.00 น. นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในยุทธศาสตร์ที่ 6 มีการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 3.2 ปลูกฝังจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่วนรวม
1.เพื่อปลูกจิตสำนึกแก่ นักศึกษา อาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.เพื่อให้ความรู้ และสร้างความตระหนักในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
วิทยากรได้กล่าวถึงภาวะโลกร้อน ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และขยะก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถจัดเก็บให้ทันกับปริมาณ ทั้งนี้จึงมีการเชิญชวนให้คัดแยกขยะ โดยร่วมกับโครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้ เพื่อช่วยลดการตัดต้นไม้เพื่อผลิตกระดาษได้ถึง 17 ตัน แถมยังช่วยลดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ และลดพื้นที่หลุมฝังกลบขยะอีกด้วย
โครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้
จากภาพข้างต้น เป็นการนำกล่องนมยูเอชที กลับมาใช้ใหม่ โดยสอนวิธีการพับเก็บกล่องอย่างถูกวิธี ก่อนนำไปรีไซเคิล Read the rest of this entry »
จากการเข้าร่วมการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 33 เรื่อง พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (Reinventing the Library : Shaping the Future through EdTech and Innovative Design) ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น ขอนำเสนอข้อสรุปบางประเด็น ดังนี้
เนื่องจากการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ในการสรรค์สร้างอนาคตของห้องสมุด หัวข้อในครั้งนี้ จึงเน้นในเรื่องเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดพื้นที่เพื่อรองรับหรือสนับสนุนการเรียนรู้ จากความรู้ ประสบการณ์ มุมมองของวิทยากร ทั้งจากวงการเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา วงการห้องสมุด ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปที่น่าสนใจ ดังนี้
นวัตกรรมการเรียนรู้…สู่การศึกษาตลอดชีวิต โดย รองศาสตราจารย์ ดร.แนบบุญ หุนเจริญ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอคำว่า Learning Innovation for Life Long Education หรือ LiLLE ในบริบทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากปรัชญาการศึกษาเปลี่ยนไป กระบวนการเรียนรู้จึงเปลี่ยนไป ผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทเป็น host ที่ engage ให้ผู้เรียนเข้ามาแลกเปลี่ยน กล้าถาม กระตุ้นให้คิดเรื่องอื่นๆ นอกจากตัวเอง มหาวิทยาลัยจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงจาก Read the rest of this entry »
หนึ่งในกระบวนการสร้างสรรค์งานวิจัยนั้น ต้องมีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่บทความงานวิจัยออกสู่สาธารณชน ผ่านวารสารทางวิชาการที่มีอยู่มากมาย ดังนั้น ในการพิจารณาเลือกวารสารที่จะใช้เผยแพร่บทความของนักวิจัยนั้น จึงมีความสำคัญมาก เพราะ มีส่วนช่วยให้บทความนั้นถูกค้นพบ นำไปใช้ และอ้างถึง ช่วยส่งเสริมในการประเมินคุณค่างานวิจัยชิ้นนั้น และเพิ่มอันดับให้นักวิจัยได้ด้วยเช่นกัน
ด้วยความจำเป็นดังกล่าว ทางสำนักพิมพ์ Elsevier จึงได้พัฒนาเครื่องมือ Elsevier Journal Finder ไว้อำนวยความสะดวกให้กับนักวิจัย ในการค้นหาวารสาร เปรียบเทียบข้อมูล พร้อมทั้งประเมินความเหมาะสมในการเผยแพร่บทความ โดยใช้เทคโนโลยีการค้นหาอัจฉริยะและคำศัพท์เฉพาะเจาะจงในการวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสม เพื่อหาวารสารในเครือ Elsevier ที่ตรงกับลักษณะบทความของคุณมากที่สุด มีขั้นตอนการใช้งาน ดังนี้
โดยมีรายละเอียดการใช้งาน ดังรูป Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความตระหนักและคำนึงถึงผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก พยายามจัดบริการเชิงรุกเพื่อให้ผู้ใช้บริการรู้จักศูนย์บรรณสารสนเทศ รู้จักบริการต่างๆ และใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ที่จัดหาเข้ามาเพื่อตอบสนองการเรียน การสอน การค้นคว้า การวิจัย อย่างคุ้มค่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดบริการเชิงรุกหลายบริการ เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักและมาใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มากขึ้น เป็นกิจกรรมที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เริ่มจัดทำในปีการศึกษา 2559
บริการเชิงรุกอีกหนึ่งบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ คือ การบริการความรู้สู่ชุมชน (เล่มที่ใช่ หนังสือที่ชอบ) เพื่อต้องการนำข้อมูลบริการต่างๆ และหนังสือที่เกินความต้องการ/หนังสือที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ออกสู่สายตาชุมชนของมหาวิทยาลัย เนื่องจาก ผู้ใช้บริการอาจจะยังไม่ทราบบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ และผู้ใช้อาจจะไม่มีกำลังในการซื้อหนังสือเหล่านี้ได้ และอาจจะมีความต้องการเป็นเจ้าของ
ทีมงานบริการสารสนเทศ เมื่อได้รับนโยบายจากผู้บริหารศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมีการวางแผนกิจกรรม ดังนี้ Read the rest of this entry »
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นมา ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีนโยบายการให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นการให้บริการเชิงรุก เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยให้แนวคิดเรื่องการแนะนำหนังสือ ให้เกิดการหมุนเวียนการใช้หนังสือให้มากที่สุด และเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ใช้บริการ ซึ่งผลจากการจัดแนะนำหนังสือ พบว่าผู้ใช้มีความสนใจ พึงพอใจ และหนังสือมีการยืมมากขึ้น ผู้เขียนในฐานะผู้รับผิดชอบการแนะนำหนังสือคนหนึ่ง จึงขอสรุปขั้นตอนการจัดทำหนังสือแนะนำ ของแผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังนี้
หนังสือแนะนำ
การทำกิจกรรมแนะนำหนังสือนี้ ทำให้บุคลากรในงานบริการสารสนเทศ ได้ประโยชน์ ดังนี้
ศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นหน่วยงานสนับสนุนของมหาวิทยาลัยในด้านการเรียน การสอน การค้นคว้า วิจัย โดยเฉพาะทางด้านจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และเมื่อวันที่ 19 – 20 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมาสภาเทคนิคการแพทย์ได้มาทำการตรวจประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรวิทยาศาตร์บัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และรับรองสถาบันการศึกษา รวมทั้งได้ตรวจเยี่ยมชมศูนย์บรรณสารสนเทศ เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน 2560 เวลา 14.00 น. เนื่องจากเกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับศูนย์บรรณสารสนเทศ ในฐานะเป็นห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการเรียน การสอนในหลักสูตรต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน ก็คือ
ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดเตรียมหนังสือของคณะเทคนิคการแพทย์ไว้เพื่อตรวจประเมิน 8 สาขาวิชา ส่วนหนึ่ง ไว้ที่ชั้น 4 ซึ่งเป็นชั้นหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย
ชั้นจัดแสดงหนังสือสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่วนหนึ่ง
พร้อมจัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์บริการต่างๆ ที่สนับสนุนเกณฑ์ในข้อ 1 และ ข้อ 2
บอร์ดข้อมูล นโยบายของศูนย์บรรณสารสนเทศ การเปิดให้บริการ
บอร์ดข้อมูลบริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการสืบค้นข้อมูล การให้บริการสนับสนุนการเรียน การสอน การค้นคว้า การวิจัย