SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพวารสารสู่ประชาคมอาเซียน
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 9.00-16.00 น. บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพวารสารสู่ประชาคมอาเซียน ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ อาคาร 2 ชั้น 8 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เพื่อจะได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของการจัดทำคุณภาพวารสารวิชาการของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thailand Citation Index – TCI) เพื่อจะได้มีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพวารสารของไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดทำวารสาร เพื่อพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยต่อไป

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thailand Citation Index – TCI) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐาน TCI ขึ้น 3 รอบ ในปี พ.ศ. 2555, 2556 และ 2558 ดังนั้น วารสารวิชาการที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ประเมินของ TCI นั้น ประกอบด้วย Read the rest of this entry »

Knowledge Sharing “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.”
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing หัวข้อ “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.” โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator ในการจัดการความรู้เกี่ยวกับการรับไฟล์วิทยานิพนธ์ งานวิจัยของ มฉก. จากเดิม ซึ่งอาจจะมีกระบวนการที่ไม่เป็นระบบ นำมาหารือและจัด work flow ของการไหลของงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดย

1. ประสานงานกับบัณฑิตวิทยาลัย และสำนักพัฒนาวิชาการในการส่งไฟล์วิทยานิพนธ์และงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอ หรือกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอน

2. ตัวเล่มของวิทยานิพนธ์ งานวิจัย ส่งมายังแผนกจัดหาและวิเคราะห์ ผ่านหัวหน้าแผนกฯ เพื่อส่งต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายในการลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดและลงรายการเมทาดาทาของ THAILIS

3. ส่งไฟล์ไปยังแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของไฟล์ การลงเมทาดาทาในไฟล์ การใส่ watermark รวมทั้งการทำเป็น PDF/A

4. ส่งไฟล์เข้าระบบ THAILIS

ส่วนแผ่นซีดีที่บันทึกวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยนั้น ให้ทำลายก่อนการทิ้ง

ในส่วนของ Collection สิ่งพิมพ์พิเศษ มฉก. นั้น เนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการผลิตสิ่งพิมพ์ในวาระและโอกาสต่าง ๆ จึงเห็นสมควรที่จะมีการเก็บเป็นสิ่งพิมพ์พิเศษ เฉพาะของมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดประเภทของสิ่งพิมพ์ตามเนื้อหาและกำหนดรหัสตามเนื้อหา แบ่งตามคณะ หน่วยงานที่ออกสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือที่ระลึก มีรหัสเป็น 1 งานวิจัย กำหนดรหัสเป็น 15 เป็นต้น เพื่อให้สามารถรวบรวมสิ่งพิมพ์ มฉก. ไว้ในที่เดียวกันและได้รับการจัดประเภทและหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วในบางส่วนเป็นตัวอย่าง

Knowledge Sharing รู้จัก เข้าใจ วางแผน และประเมินผล
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกบริการสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing สำหรับบุคลากรแผนกกิจกรรม เพื่อรับฟังประสบการณ์ และแนวทางที่ควรจะเป็นสำหรับการให้บริการ โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator จากหัวข้อ รู้จัก เข้าใจ วางแผน และประเมินผล

แบ่งกลุ่มแต่ละ Generation

แบ่งกลุ่มแต่ละ Generation

ในช่วงแรก ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับคนในแต่ละ Generation เนื่องจากในแต่ละ Generation นั้น อยู่ในช่วงอายุใด มีความสนใจ มีความต้องการอะไร เพื่อจะได้เทียบเคียงกับผู้ใช้บริการที่มีหลากหลาย แต่กลุ่มผู้ใช้กลุ่มใหญ่ คือ นักศึกษา ซึ่งเป็น Gen Y และผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มอาจารย์ที่อาจจะอยู่ใน Gen อื่น ๆ จึงควรจะต้องมีความเข้าใจกลุ่มคนในแต่ละ Gen เพื่อให้สามารถจัดการ วางแผนการให้บริการให้ตรงหรือเหมาะสมกับผู้ใช้ในแต่ละ Gen ได้ ได้มีการจัดกลุ่มของบุคลากรแผนกบริการสารสนเทศ และผู้ที่ต้องหมุนมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ ในบางช่วงเวลา เพื่อให้ทราบว่า อยู่ใน generation ใด เพื่อเทียบเคียงกับกลุ่มผู้ใช้บริการ

 

เสนอบริการใหม่

เสนอบริการใหม่

ในช่วงที่สอง ได้เริ่มให้เข้าใจงานบริการมากขึ้น การออกแบบการให้บริการ ประกอบด้วย content และสื่อต่างๆ ในการเข้าถึง มีการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอ บริการใหม่ ๆ และนำมาแลกเปลี่ยนกันถึง สาเหตุของการเสนอบริการนั้น ๆ และควรจะจัดบริการนั้น ออกมาในรูปแบบใด ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง เพื่อจะได้ให้บุคลากรเรียนรู้ในการวางแผนการจัดบริการ และขั้นตอนสุดท้าย ต้องมีการประเมินผลการให้บริการ เพื่อตัดสินใจว่า งานบริการนั้น ควรให้บริการต่อหรือไม่ หรือ ต้องให้เวลาในการให้บริการต่อไปอีกระยะเวลาหนึ่ง

จากกิจกรรม Knowledge Sharing ดังกล่าว คาดว่าจะทำให้บุคลากรในแผนกบริการสารสนเทศ และบุคลากรท่านอื่น ๆ ที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ เกิดมุมมองในการให้บริการมากขึ้น และรู้จักกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น มีการวางแผน มีการประเมินผล เพื่อพัฒนาการให้บริการต่อไป

ศึกษาดูงาน ณ ห้องสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหอจดหมายเหตุ (ธ.ก.ส.)
เม.ย. 4th, 2016 by supaporn

วันที่ 4 เมษายน 2559 เวลา 13.30-16.30 น. บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) ได้เข้าศึกษาดูงานห้องสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหอจดหมายเหตุ (ธ.ก.ส.) เพื่อนำความรู้ และนวัตกรรม ไปประยุกต์ใช้ต่อไป

ศึกษาดูงานธนาคารเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

ศึกษาดูงานธนาคารเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

ภาพ Timeline ของธนาคารฯ

ภาพ Timeline ของธนาคารฯ

การแสดงหนังสือ

การแสดงหนังสือ

เข้าศึกษาดูงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา และ Eco-Library สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เม.ย. 4th, 2016 by supaporn

วันที่ 4 เมษายน 2559 บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) 2 กลุ่ม ได้แก่ คณะทำงานประกันคุณภาพ และ คณะทำงานการประหยัดพลังงาน ศูนย์บรรณสารสนเทศ มฉก.  ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ และดูงานการบริหารจัดการ Eco-Library เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการจัดสำนักงานสีเขียวต่อไป

ศึกษาดูงานสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศึกษาดูงานสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บุตลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

บุตลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

จาก Cataloging librarians สู่ Metadata Librarians
มี.ค. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 29 มีนาคม 2559 เวลา 13.30-16.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรม Knowledge Sharing เรื่อง จาก Cataloging librarians สู่ Metadata Librarians โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อให้บุคลากรแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ทราบถึงบทบาทที่แตกต่างของการเป็น Cataloging Librarians และ Metadata Librarians ซึ่งมีการพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยี ผนวกเข้ากับความรู้ทางด้านการลงรายการ รวมทั้งทักษะอื่นๆ อีกหลายประการ Read the rest of this entry »

บุคลากรศูนย์บรรณสารฯ เข้ารับการอบรม Green Office
มี.ค. 30th, 2016 by supaporn

ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยศูนย์บรรณสารสนเทศ เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว และผ่านการประเมินในรอบแรก แล้ว จึงเข้ารับการอบรมเพื่อรับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโครงการสำนักงานสีเขียว และการอบรมเป็นผู้ประเมินหน่วยงานที่เข้าโครงการ ในช่วงวันที่  21, 28-29 มีนาคม   เวลา 09.00-16.00 น. ณ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

201160328-GreenOffice-1

201160328-GreenOffice-2

สามารถติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ Green Office ของศูนย์บรรณสารสนเทศได้ที่  https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/about-us/134-green-office

ศูนย์บรรณสารสนเทศให้การต้อนรับ คณะกรรมการในการประเมินกิจกรรม การประกวด Thailand Energy Awards 2016 จากกระทรวงพลังงาน
มี.ค. 29th, 2016 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) ให้การต้อนรับ คณะกรรมการในการประเมินกิจกรรม การประกวด Thailand Energy Awards 2016 จากกระทรวงพลังงาน

จากการที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับรางวัลชนะเลิศอาคารประหยัดพลังงานจากการไฟฟ้านครหลวง (MEA Energy Awards) แล้ว  มฉก. ได้มุ่งมั่นและเพื่อความยั่งยืนในการประหยัดพลังงานโดยการเข้าประกวด Thailand Energy Awards 2016 และ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ได้รับการต้อนรับคณะกรรมการจากกระทรวงพลังงานในการตรวจประเมิน โดยที่อาคารบรรณสาร ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของอาคารที่อยู่ในโครงการอาคารประหยัดพลังงาน ได้ให้การต้อนรับคณะกรรมการฯ ที่มาตรวจที่อาคารบรรณสาร ด้วย

คณะกรรมการฯ รับฟังข้อมูลในภาพรวม

คณะกรรมการฯ รับฟังข้อมูลในภาพรวม

คณะกรรมการฯ ตรวจที่อาคารบรรณสาร

คณะกรรมการฯ ตรวจที่อาคารบรรณสาร

การบริหารทรัพยากรสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ : การจัดการสมดุลระหว่างเอกสารทรงคุณค่ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่
มี.ค. 16th, 2016 by namfon

จากการที่บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมฟังการสัมมนาทางวิชาการ ในโครงการสัมมนาทางวิชาการ : เทิดพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง “การบริหารทรัพยากรสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ : การจัดการสมดุลระหว่างเอกสารทรงคุณค่ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่” ซึ่งจัดโดย สำนักหอสมุดกลาง และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร นั้น สามารถสรุปประเด็นความรู้ได้ดังนี้

เริ่มด้วยการกล่าวรายงาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช (อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ) และพิธีเปิดโดยผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กิจกรรมในภาคเช้า เวลา 09.00-12.00 น. บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร และรองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ

ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร บรรยายหัวข้อ “เอกสารทรงคุณค่า คลังแห่งปัญญาไทย” Read the rest of this entry »

อบรมหลักสูตร Research Development with Elsevier Platforms
ก.พ. 12th, 2016 by supaporn

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) ได้จัดอบรมหลักสูตร Research Development with Elsevier Platforms ณ ห้องคอมพิวเตอร์ (LAB A) อาคารบรรณสาร  โดยวิทยากร จาก Elsevier มาบรรยายให้กับอาจารย์ นักวิจัย ของ มฉก.  โดยแนะนำวิธีการสืบค้นเชิงลึกจากฐานข้อมูล ScienceDirect  การนำผลงานที่สืบค้นมาต่อยอดในการพิมพ์และใช้โปรแกรม Mendeley ในการบริหารจัดการบรรณานุกรมและแฟ้มข้อมูล PDF

วิทยากรจาก บริษัท Elsevier วิทยากรจาก บริษัท Elsevier

อาจารย์และนักวิจัยให้ความสนใจ

อาจารย์และนักวิจัยให้ความสนใจ

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa