วันที่ 4 เมษายน 2559 บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) 2 กลุ่ม ได้แก่ คณะทำงานประกันคุณภาพ และ คณะทำงานการประหยัดพลังงาน ศูนย์บรรณสารสนเทศ มฉก. ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ และดูงานการบริหารจัดการ Eco-Library เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการจัดสำนักงานสีเขียวต่อไป
ศึกษาดูงานสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บุตลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การลักลอกทางวิชาการในบริบทของการวิจัย (Plagirism in Academic Research) ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผอ. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเปิดงาน
โดย อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร
อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ขณะบรรยาย
สรุปประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้ Read the rest of this entry »
สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) จัดการบรรยายเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการบริการในห้องสมุด โดย Mr. John Hickok บรรณารักษ์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตฟูลเลอร์ตัน (CAL State Fullerton)และประธานฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ สมาคมห้องสมดแห่งชาติอเมริกัน (ALA International Relations Round Table) ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม 2558 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้อง 1-801 ชั้น 8 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลยรังสิต
ในการบรรยายดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ
หัวข้อที่ 1 New Developments and Innovations in Academic Libraries วิทยากรนำเสนอนวัตกรรมและการพัฒนาการบริการในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ทั้งในงานด้านเทคนิคห้องสมุด (Technical services) และงานด้านบริการผู้ใช้ (User services)
หัวข้อที่ 2 Innovative Practices of Libraries in Southease Asia วิทยากรนำเสนอผลการสำรวจนวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่ดีต่างๆ ในห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
อ่านรายละเอียดได้ที่ http://library.rsu.ac.th/pdf/hickock_presentation.pdf
เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) มีภารกิจในด้านการบริหารจัดการ และดำเนินการงานหอจดหมายเหตุ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย อธิการบดีในสมัยนั้น เห็นความสำคัญของการมีหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัย จึงได้เริ่มโครงการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 และทำพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 และดำเนินการรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย จัดเก็บรักษา และให้บริการอย่างต่อเนื่อง และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หอจดหมายเหตุ มฉก. จึงมีแผนการในการจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล และเพื่อให้สามารถจัดเก็บและเข้าถึงได้มากขึ้นและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงได้เริ่มศึกษาแนวทางในการปฏิบัติงานและระบบต่างๆ เพื่อจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย และมีการดำเนินการที่เป็นมาตรฐานสากล โดยการศึกษาดูงานการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นยอมรับ และมีความเชี่ยวชาญ เพื่อจะได้รับความรู้ ประสบกรณ์ และบทเรียนในการปฏิบัติงานต่างๆ ได้แก่ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เพื่อขอศึกษาดูงานในเรื่องการใช้มาตรฐานการลงรายการเอกสารจดหมายเหตุ ISAD (G) รวมทั้งประสบการณ์การใช้โปรแกรม ICA-Atom ในการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ และ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอศึกษาดูงานการใช้โปรแกรม Omeka ในการจัดการฐานข้อมูลคลังภาพ อักษรศาสตรบรมราชกุมารี คลังดิจิทัล Read the rest of this entry »
วันที่ 7 มกราคม 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดอบรมการเขียนบล็อกด้วยโปรแกรม WordPress เพื่อจัดทำเป็นคลังความรู้ในการจัดการความรู้ของศูนย์บรรณสารฯ ต่อไป โดยมีบุคลากรของศูนย์บรรณสารฯ เข้าร่วมการอบรมอย่างพร้อมเพรียง และพร้อมที่่จะแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาหรือปรับปรุงศูนย์บรรณสารฯ ต่อไป
ในการอบรมครั้งนี้ ได้เรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรม WordPress วิธีการนำบทความที่เขียนขึ้นเผยแพร่ การมีรูปภาพประกอบบทความ โดยการหาภาพประกอบอย่างไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ การจัดการขนาดของภาพ (Resize) รวมทั้งการใช้วิดีโอเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา เพื่อให้บทความหรือเนื้อหามีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการสรุปแนวทางการเขียนบทความเพื่อจัดทำเป็นคลังความรู้ ประเภทของความรู้ที่จะเขียน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดคลังความรู้ของ ศูนย์บรรณสารฯ ต่อไป
เอกสารประกอบการอบรมเอกสารประกอบการอบรม
การค้นหารูปภาพอย่างไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
Read the rest of this entry »
จากการเข้าร่วมฟังบรรยายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง พลังของการคิดเชิงนวัตกรรม (Power of Innovation Thinking) โดย อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุม 1 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬางกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดย ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น เป็นการเน้นการฝึกทักษะของการคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวของ The Innovator’s DNA : Mastering the Five Skills of Disruptive Innovators โดย Hal B. Gregersen ซึ่งประกอบด้วย
ทักษะในการตั้งคำถามและการสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือการสร้างนวัตกรรม คนที่เป็นนวัตกร จะถามเก่ง ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จะต้องรู้จักการตั้งคำถาม โดยมีเทคนิคในการตั้งคำถาม คือ