ผลของการใชโอโซนรวมกับความรอนในการกำจัดเชื้อ Salmonella Typhimurium, Escherichia coli และ Saccharomyces cerevisiae ในน้ำตาลสด น้ำลำไย และน้ำมะพราว
Combination Effect of Ozone and Heat Treatments for the Inactivation of Salmonella Typhimurium, Escherichia coli and Saccharomyces cerevisiae in Coconut Syrup, Dried Longan Drink and Coconut Juice
วรพรรณี เผาทองศุข และจำรูญศรี พุมเทียน . (2559). ผลของการใชโอโซนรวมกับความรอนในการกำจัดเชื้อ Salmonella Typhimurium, Escherichia coli และ Saccharomyces cerevisiae ในน้ำตาลสด น้ำลำไย และน้ำมะพราว. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 119-131.
อ่านบทความฉบับเต็ม
การสำรวจปญหาและพฤติกรรมการใชยาผลิตภัณฑเสริมอาหารและสมุนไพรของผูสูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเขนอย จังหวัดสมุทรปราการ
The Survey of Medicine, Food Supplement and Herbal Products Used Problems Among Elderly A Case Study at the Community of Tumbon Srisa Chorakhe Noi, Samut Prakan Province
ปิยะวัน วงษบุญหนัก ปวีณา วองตระกูล หรรษา มหามงคล และวรัญญา เนียมขำ . (2559). การสำรวจปญหาและพฤติกรรมการใชยาผลิตภัณฑเสริมอาหารและสมุนไพรของผูสูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเขนอย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 97-108.
ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความฉลาดทางอารมณของนักศึกษาในหลักสูตรสายวิทยาศาสตรสุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Factors Affecting Emotional Quotient of Students in Health Science Curriculums at Huachiew Chalermprakiet University
นิลาวรรณ งามขำ ปทุมมาศ กั้นหยั่นทอง อติญญา สุสิวงศ กนกวรรณ จิตระบูรณ พิมพณัฐชยา นุชสิริ นิตยา ชัยชนะ พรอารดา อยูรักษ อาภรณ บุญฉิม และศุภักษณา สรรพลุน. (2559). ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความฉลาดทางอารมณของนักศึกษาในหลักสูตรสายวิทยาศาสตรสุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 20(39), 45-56.
ความสัมพันธระหวางระดับไกลเคตฮีโมโกลบินและภาวะไมโครอัลบูมินในปสสาวะของผูปวยโรคเบาหวาน
The Relationship Between Glycated Hemoglobin (HbA1C) and Microalbuminuria in Diabetes Patients
นนทยา ทางเรือ เทศทัศน คำบุดดี และอรุณ สารพงษ์. (2559). ความสัมพันธระหวางระดับไกลเคตฮีโมโกลบินและภาวะไมโครอัลบูมินในปสสาวะของผูปวยโรคเบาหวาน. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 31-43.
พฤติกรรมปองกันภาวะแทรกซอนของผูปวยโรคเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลแหงหนึ่ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Behavior in Prevention of Complications of Diabetic Patients in a Health Promoting Hospital, Bang Phli District, Samutprakan Province
ตวงพร กตัญุตานนท จินตนา เทพพันธ สุพรรณี ฉ่ำเย็นอุรา เบญจมาภรณ จันทหงษ สุภาพร บุญอินทร เพ็ญพิสุทธิ์ แหนมเชย รัชฎาพร ทองประดับ และอรณิชา วังคีรี. (2559). พฤติกรรมปองกันภาวะแทรกซอนของผูปวยโรคเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลแหงหนึ่ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 15-29.
อ่านบทความฉบับจริง
ผลผลิตกรดแลคติกจากกระบวนการหมักเศษผลไม
Lactic Acid Production from Fruit Waste Fermentation
ศศิธร นนทา สมพงศ โอทอง และนุชนาถ แชมชอย. (2559). ผลผลิตกรดแลคติกจากกระบวนการหมักเศษผลไม. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 1-14.
เมื่อคราวที่ผู้เขียน มาทัศนศึกษา ดูงาน ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากเสร็จสิ้นการดูงานในทางวิชาการแล้ว ทีมงานได้เดินทางมาทัศนศึกษาสถานที่อื่นๆ อีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ แห่งหนึ่ง ก็คือ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ พวกเราเดินทางขึ้นไปถึงตอนเช้า อากาศเย็นๆ กำลังดี ทำให้สามารถเดินชมบริเวณโดยรอบพระตำหนักฯ ได้อย่างสบายๆ แต่ด้วยจิตใจที่รำลึกถึงในพระมหากรุณาธิคุณในหลวง ร.9 และด้วยความประทับใจขอนำเรื่องพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ มาเล่าสู่กันฟังนะคะ จากแผ่นพับที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ด้านหน้า (เป็นฉบับภาษาไทย-ภาษาจีน) และเว็บไซต์พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ให้ข้อมูลไว้ดังนี้ค่ะ
พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,373.198 เมตร เนื้อที่โดยรอบพระตำหนักประมาณ 400 ไร่ นั้น แบ่งเป็นบริเวณที่ เปิดให้นักท่องเที่ยว ได้ชื่นชมประมาณ 200 ไร่ คำว่า “ดอยบวกห้า” เป็นชื่อเรียก ตามคำพื้นเมือง ดอยหมายถึงภูเขา บวกหมายถึง หนองน้ำ ห้าหมายถึงต้นหว้า หมายความว่า ที่ยอดดอยแห่งนี้มี หนองน้ำอุดมไปด้วยต้นหว้าขึ้นปกคลุมทั่วบริเวณหนองน้ำนั้น เป็นพระตำหนักที่ประทับในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับแรมที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคเหนือ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะที่เสด็จฯ เยือนประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมจะประท้บรับรองแต่ในพระนครหลวงเท่านั้น โดยพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2504 และพระราชทานนาม พระตำหนักองค์นี้ว่า ภูพิงคราชนิเวศน์ โดยทรงเลือกจาก หนึ่งใน 2 ชื่อ ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งเป็นที่ พระศาสนโสภณ เป็นผู้คิดชื่อถวาย คือ “พิงคัมพร” กับ “ภูพิงคราชนิเวศน์” ในครั้งแรกได้ก่อสร้างเฉพาะองค์พระตำหนักที่ประทับ และเรือนรับรองเท่านั้น ส่วนอาคารอื่นๆ ได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมต่อมาในภายหลัง
โดยรอบพระตำหนักฯ จะได้ชื่นชมกับดอกกุหลาบ และพันธุ์ไม้ต่างๆ มากมาย จัดตกแต่งด้วยความสวยงาม นักท่องเที่ยวต้องหยุดเพื่อเก็บภาพเป็นที่ระลึกตลอดเส้นทาง พวเราเดินจนไปถึง อ่างเก็บน้ำ/น้ำพุ ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในบริเวณพระตำหนัก ริมอ่างเก็บน้ำด้านข้าง มีพลับพลาที่ประทับ สร้างด้วยไม้สักทอง รอบๆ อ่างเก็บน้ำจะเป็นสวนดอกไม้เมืองหนาว ในเว็บไซต์พระตำหนักฯ (http://www.bhubingpalace.org/index2.php) จะมีข้อมูลดอกกุหลาบและพันธุ์ไม้ต่างๆ รวมทั้งผีเสื้อพันธุ์ต่างๆ ให้ศึกษาและชมภาพอันงดงามไว้ด้วยค่ะ
ในช่วงที่ผู้เขียนไปในอยู่ในเดือนธันวาคม พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ได้เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวและประชาชนที่เดินทางเข้ามายังพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ได้ร่วมลงนามถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ เรือนรับรอง ภายในพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ทั้งนี้เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนได้ร่วมลงนามถวายความอาลัยอย่างทั่วถึงโดยแต่งกายไว้ทุกข์
รายการอ้างอิง ภูพิงคราชนิเวศน์. แผ่นพับ. พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์. http://www.bhubingpalace.org/index2.php
พูดจีนเก่งมาก! (Speaking Chinese fluently)
ในหลายๆ เดือนก่อน บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เข้ารับการพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้ภาษาจีนได้ ในระดับเบื้องต้น คือ พอจะสื่อสารได้บ้าง เนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มียุทธศาสตร์เน้นในเรื่องจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ บุคลากรสายสนับสนุนของศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงยกทีมกันเข้าคอร์สเรียน ภาษาจีนกันเป็นกลุ่มใหญ่ แบ่งได้ 2 กลุ่ม
ผู้เขียน พอจะพูดได้อยู่บ้างแต่นิดหน่อย ดีใจที่ได้เข้ารับการฝึกฝนอย่างเป็นทางการและจริงจัง จาก เหล่าซือ ที่เดินทางมาจากประเทศจีน แม้ว่าจะเป็นหลักสูตรสั้นๆ แต่ก็พอจะได้อยู่บ้าง และต้องอยู่ที่พวกเรากลับมาฝึกต่อเองอีกด้วย เลยหาหนังสือมาเพื่อฝึกฝนด้วยตนเอง ในศูนย์บรรณสารสนเทศ มีหลายเล่มค่ะ แต่ขอเลือก “พูดจีนเก่งมาก!” (Speaking Chinese fluently) มานำเสนอค่ะ ผู้เขียน อ่านแล้วชอบมาก ขอแนะนำต่อนะคะ
“พูดจีนเก่งมาก!” (Speaking Chinese fluently) เป็นหนังสือที่รวบรวมประโยคภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งสำนวนที่ใช้บ่อยในสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจองห้องพักโรงแรม การถามทาง การซื้อของ การสังสรรค์ ไปจนถึงการติดต่อธุรกิจ นำเสนอในรูปแบบการ์ตูนแสนน่ารัก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปเรียน ท่องเที่ยว หรือทำงานในประเทศจีน เช่น เข้าพักในโรงแรม ประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ถามทาง งานสังสรรค์ การยืมและคืน เช่ารถ ชาวต่างชาติในประเทศจีนและซื้อของเป็นต้น
ท่านใดสนใจ หนังสือเล่มนี้ อยู่ที่หมวดหมู่ PL1121.T5 ห353พ 2558 หนังสือทั่วไปชั้น 3
รายการอ้างอิง
หวงเหล่าซือ และอารีย์วัลย์ บุญอากาศ. (2558). “พูดจีนเก่งมาก!” (Speaking Chinese fluently). กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดทำพื้นที่สีเขียวขึ้น บริเวณชั้น 1 ใกล้กับเคานเตอร์ยืม-คืน หนังสือ เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศ และภูมิทัศน์ที่ดีในการพื้นที่ให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้นในศูนย์บรรณสารสนเทศอีกด้วย นอกเหนือจากการเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้ว ยังได้จัดให้มีเก้าอี้เพื่อสำหรับให้ผู้ใช้บริการได้นั่งในบริเวณดังกล่าว ในระยะแรกเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมทั้งเน้นในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ในระยะต่อมา ได้มีการจัดเป็นมุมบริการหนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่พื้นที่สีเขียวดังกล่าว
หนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่นำจัดให้บริการที่มุมดังกล่าว นั้น เป็นหนังสือส่วนหนึ่ง ที่มีการหมุนเวียนจากชั้นหนังสือทั่วไป มาจัดไว้ให้บริการ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและเป็นการสร้างเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ในด้านการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับผู้ใช้บริการอีกช่องทางหนึ่ง
บริเวณพื้นที่สีเขียวและมุมบริการหนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ห
อีกมุมนึ่งของพื้นที่สีเขียวและมุมหน้งสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม
นักวิจัยหลายๆ ท่านอาจจะเคยได้รับจดหมายเชิญขวนให้ส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ เราจะมีหลักการพิจารณาได้อย่างไร ว่าวารสารเหล่านั้นไม่ใช่วารสารประเภท predatory journal
1. ตรวจสอบวารสารที่จะตีพิมพ์ผลงานวิจัย อยู่ใน Master Journal List ของบริษัท Thomson Reuters หรือไม่ ได้ที่ http://ip-science.thomsonreuters.com/mjl/ โดยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฉพาะวารสารที่มีอยู่ใน Science Citations Index และ Science Citations Index Expanded เท่านั้นที่จะมีค่า impact factor และวารสารในสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ จะต้องอยู่ใน Social Science Citation Index และ Arts and Humanities Citation Index เท่านั้น โดยสามารถดาวน์โหลดรายชื่อวารสารทั้งหมดในฐาน Science Citations Index, Science Citations Index Expanded และ Arts and Humanities Citation Index ได้จากเมนูขวามือ
การตรวจสอบรายชื่อวารสาร
2. ตรวจสอบค่าดัชนีอ้างอิงวารสาร impact factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports หรือ InCites Journal Citation Reports
วสุ ปฐมอารีย์. (2559). การคัดเลือกวารสารสำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย. Re-Form. vol.4 (ก.ค.-ส.ค.)