SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
วิศิษฏศิลปิน
ม.ค. 16th, 2016 by supaporn

วิศิษฏศิลปิน

วิศิษฏศิลปิน

วิศิษฏศิลปิน เป็นชื่อเว็บไซต์ (www.WisithSilapin.org) ที่รวมผลงานศิลปกรรมฝีพระหัตถ์ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ หนังสือพระราชนิพนธ์ บทเพลงพระราชนิพนธ์ โครงการฯ  รวมทั้ง พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ปีประสูติ จนถึง ปัจจุบัน (พ.ศ. 2498-2558) จัดทำโดย มูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะ “องค์วิศิษฏศิลปิน” ผู้ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านศิลปะในหลายสาขา

รายการอ้างอิง
“วิศิษฏศิลปิน” เว็บไซต์รวบรวมพระอัจฉริยภาพด้านศิลปะของ “สมเด็จพระเทพฯ”.  (2558). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2559 จาก http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9590000004793

วันครู … To Sir with Love แด่คุณครูด้วยดวงใจ
ม.ค. 16th, 2016 by supaporn

เมื่อนึกถึงวันครู เลยนึกถึงเว็บไซต์ของคุรุสภา น่าจะเป็นเว็บไซต์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับวันครู มีข้อมูลเพียบเลยทีเดียวค่ะ ตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของวันครู คำขวัญวันครู (ในแต่ละปี) ดอกไม้วันครู (เพิ่งทราบว่า ดอกกล้วยไม้ เป็นดอกไม้วันครู) คำปฏิญาณ เพลงวันครู และสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับวันครู  กิจกรรมในวันครู จนถึงมีการจัดทำบัตรคารวะครูทางออนไลน์ เก๋ไก๋ ไม่เบาเลยทีเดียว

ขอย้อนรำลึกไปถึงภาพยนตร์ดังเรื่อง To Sir with Love (แด่คุณครูด้วยดวงใจ) เป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับครู และนักเรียนเหลือขอ นำแสดงโดย Sir Sidney Poitier ที่ทำหน้าที่ของครู ทำให้นักเรียนพร้อมจะก้าวเดินต่อไป และเพลง To Sir with Love ซึ่งร้องโดย Lulu ก็ดังไม่แพ้กันค่ะ ในวันครู เลยนึกถึงภาพยนตร์และเพลงนี้ขึ้นมาค่ะ … To Sir with Love https://www.youtube.com/watch?v=OG49glGm2Xs

งานแสดงตำราวิชาการ กับ บูธ PB@อาคารบรรณสาร
ม.ค. 16th, 2016 by supaporn

ขอเชิญอาจารย์คัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด เพื่อประกอบการเรียนการสอน จาก ร้าน พี.บี. ฟอร์บุ๊คส์ ศูนย์รวมตำราวิชาการแพทย์และวิชาการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 18 ม.ค. – 21 ม.ค. 2559 เพียง 4 วันเท่านั้นค่ะ เวลา 09.00-16.30 น. ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคารบรรณสาร

งานแสดงตำราวิชาการ กับ บูธ PB@อาคารบรรณสาร

งานแสดงตำราวิชาการ กับ บูธ PB@อาคารบรรณสาร

วัชรปิยชาติ
ม.ค. 15th, 2016 by supaporn

วัชรปิยชาติ

วัชรปิยชาติ

หนังสือ “วัชรปิยชาติ” หรือ “ผู้เป็นที่รักประดุจเพชร” จัดทำขึ้นโดยชาวเพชรบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาญ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา วันที่ 2 เมษายน 2558

เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ มีจำนวน 9 ตอน รวม 61 เรื่อง จากผู้เขียนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเพชรบุรี กล่าวถึงความซาบซึ่งในพระจริยวัตรอันงดงาม พระอัจฉริยภาพอันสูงส่ง พระบารมี พระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานให้แก่จังหวัดเพชรบุรีและชาวเมืองเพชร

ขออัญเชิญบทพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บางส่วนจากาพย์ขับไม้กล่อมช้างสำคัญสามเชือก ณ จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2521

เพชรบุรีรุ่งรัตน์เรื้อง  เรืองรมย์
เกิดเกษตรการควรชม  เชิดไว้
สกุลช่างน่านิยม  เยี่ยมยวด
ประวัติศาสตร์ว่าไว้  เด่นพร้อมแต่บูรพ์

เมืองเพชรบุรีงาม  เลื่องชื่อลือนาม  ไป่เปรียบใดปูน
ป่าดงพงเนา  ทะเลขุนเขา  ซับซ้อนเพิ่มพูน
เรือกสวนเกื้อกูล  เลี้ยงสัตว์มากพูน  เกิดพัฒนา
เขื่อนเพชรมีนาน  เพิ่มน้ำเจืดจาน  ผลิตผลพา
ทั้งการประมง  โป๊ะจับปลาดง  ได้มีราคา
สหกรณ์ลือชา  ชนหลายเหล่ามา  ก็ต่างชื่นชม
มีทั้งเรือนร้าน  สถานที่ราชการ  เลิศล้ำนิยม
ผู้คนหญิงชาย  ไปมาค้าขาย  มากมายอุดม
วัดวาน่าชม  ชาวบุรีรมย์  เก่งทางช่างศิลป์

รายการอ้างอิง
สมพร ประกอบชาติ.  (บก).  (2558). วัชรปิยชาติ. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

Beall’s List of Predatory Publishers
ม.ค. 14th, 2016 by supaporn

Jeffrey Beall ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มศึกษาวิจัยเรื่อง Predatory publishers ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เพื่อเปิดเผยรายชื่อ สำนักพิมพ์ที่น่าสงสัย ที่มีแนวโน้มว่าไม่ได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และอาจจะเป็นการหลอกลวงเพื่อหารายได้ แต่ละปีจะมีจำนวนสำนักพิมพ์และวารสารที่อยู่ในข่ายนี้ เพิ่มมากขึ้น เพราะการเผยแพร่ผลงานวิจัยเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการทำวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัยจึงมักจะอยู่ในวารสารวิชาการ บทคัดย่อ หรือ proceedings ของการประชุมวิชาการ  ด้วยปัจจัยนี้เอง ทำให้สำนักพิมพ์หลายๆ แห่ง เห็นช่องทางทำธุรกิจใหม่ภายใต้ Open Access Model ซึ่งมีทั้งถูกต้องเหมาะสมและ เพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ นักวิจัยรุ่นใหม่ไม่ควรเสี่ยงตีพิมพ์

Beall’s list predatory publishers (http://scholarlyoa.com/publishers/) จึงเป็นการรวมรายชื่อสำนักพิมพ์ รวมทั้งมีบัญชีรายชื่อวารสาร http://scholarlyoa.com/individual-journals/ไว้ด้วย และเป็นหลักการที่ว่า รายชื่อวารสารใดที่อยู่ในบัญชีนี้ไม่ควรนำผลงานไปตีพิมพ์ Read the rest of this entry »

ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง)
ม.ค. 13th, 2016 by supaporn

ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง)

ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง)

จากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของ รศ. ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ ซึ่งเขียนสื่อสารเรื่อง ปฏิมากรรมนกหงัง แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) และ จากการกล่าวของคุณสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ในพิธีส่งมอบปฏิมากรรมนกหงัง ให้แก่มหาวิทยาลัยในวันที่ 25 มีนาคม 2556 ได้กล่าวถึง ปฏิมากรรมนกหงัง สรุปความได้ว่า

“ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง) ที่เพิ่งจะยกลงจากรถขนย้าย เมื่อเวลา 02:52 น. ของวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2556 ณ. บริเวณสนามหญ้าหน้าอาคารบรรณสาร ใกล้เสาธงตรงสวนลวดลาย ด้านขวามือของรูปเหมือนของ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์นั้น เดิมปฏิมากรรมนกหงัง ตั้งอยู่ด้านหน้าธนาคารธนชาต สาขาสวนมะลิ นับว่าเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของพนักงานมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ครั้งยังเป็นธนาคารศรีนคร ซึ่งประติมากรรมนี้ได้สะท้อนปรัชญา “การเป็นผู้นำที่ดี ความมีระเบียบวินัย ความรักใคร่สามัคคี และการให้ไม่รู้จบ” ที่ ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนครยึดมั่น และใช้เป็นแนวคิดในการบริหารงานพร้อมปลูกฝังให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตสืบมาจนกระทั่งเป็นธนาคารธนชาตในวันนี้ แนวคิดนี้ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาก้าวหน้าต่อไป Read the rest of this entry »

กิจกรรมของศูนย์บรรณสารสนเทศ มฉก. ประจำเดือน มกราคม 59
ม.ค. 13th, 2016 by supaporn

เปิดเทอมใหม่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มฉก. คึกคักด้วยกิจกรรม Fortune Candy ซึ่งล้อมาจาก Fortune cookie ที่ร้านอาหารจีนในสหรัฐอเมริกา ชอบแจกให้กับลูกค้าที่เข้ามารับประทานอาหารในร้าน จะมีลักษณะกรอบ ทำจากแป้ง น้ำตาล วานิลลา และมีกระดาษที่มีข้อความ ที่อาจจะมีลักษณะทำนาย การให้กำลังใจ เป็นต้น (อ่านประวัติความเป็นมาของ Fortune cookie ได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Fortune_cookie

Fortune Cookie

Fortune Cookie  (ภาพจาก wikipedia)

แต่ศูนย์บรรณสารฯ ขอประยุกต์เอาลูกอม ลูกกวาด หลากรส มาใช้แทน Cookie นะคะ เพราะสะดวกมากกว่า พิมพ์ข้อความเหมือนกัน แต่ติด QR code ของ Fan Page ของ ศูนย์บรรณสารฯ ไว้ด้วย เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ค่ะ และให้เข้ามา Post ข้อความที่ได้รับ

Fortune Candy

Fortune Candy

อีกกิจกรรมหนึ่ง เป็นกิจกรรมทางวิชาการ คือ หลักสูตร Research Development with Elsevier Research Platforms โดยมีเนื้อหาในการอบรม  ประกอบด้วย
– Application for using as reference manager [Full – text reading, annotate, citations & bibliography] (การประยุกต์ใช้งานฐานข้อมูลเพื่อจัดการบทความฉบับเต็ม การอ้างอิง และ บรรณานุกรม)
– Brief introduction in how to write a good research paper and get published
(การแนะนำเบื้องต้น การเขียนงานวิจัยที่ดี เพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ) กิจกรรมดังกล่าว จะมีขี้นในวันที่ 18 มกราคม 2559 โดยวิทยากรจาก ScienceDirect

และการแนะนำวิธีการใช้งานฐานข้อมูล ScienceDirect เบื้องต้น ให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเทคนิคการแพทย์ ในวันที่ 22 มกราคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น.

กิจกรรมที่จะเกิดใกล้ๆ กัน ก็คือ การส่งเสริมการรู้สารสนเทศให้กับ อาจารย์ นักศึกษา เพื่อให้รู้จักศูนย์บรรณสารฯ มฉก. ที่เป็นแหล่งสารสนเทศมากขึ้น และเป็นหน่วยงานที่ช่วยสนับสนุนในการเรียน การสอน การค้นคว้า วิจัย ระหว่างวันที่ 18-20, 25-27 มกราคม 2559 ค่ะ ซึ่งตอนนี้ได้ทำจดหมายประชาสัมพันธ์ถึงแต่ละคณะเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวแล้ว หรือติดต่อ libraryhcu@gmail.com หรือหมายเลขโทรศัพท์ 1417 และ 1472

นอกจากนี้  ระหว่างวันที่ 18 ม.ค. – 21 ม.ค. 2559 เวลา 09.00-16.30 น. ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคารบรรณสาร มีกิจกรรมออกร้านหนังสือจาก จาก ร้าน พี.บี. ฟอร์บุ๊คส์ ศูนย์รวมตำราวิชาการแพทย์และวิชาการต่างประเทศ ในงานนี้ขอเชิญอาจารย์คัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด เพื่อประกอบการเรียนการสอน

ธรรมะอิเล็กทรอนิกส์
ม.ค. 12th, 2016 by supaporn

แหล่งรวมธรรมนิพนธ์ ธรรมบรรยายอิเล็กทรอนิกส์ (ของ พระพรหมคุณาภรณ์) ที่จัดทำขึ้นโดย วัดญาณเวศกวัน เพื่อเป็นธรรมทาน และเพื่อความสะดวกของผู้ศึกษาค้นคว้า ซึ่งถ้าท่านใดสนใจพิมพ์เผยแพร่ สามารถติดต่อ ได้ ระบบการสืบค้น สามารถหาหัวข้อธรรมะที่สนใจ ได้จาก ธรรมนิพนธ์ ธรรมบรรยาย และ ด้วยคำถามนำ ซึ่งจะโยงไปถึงธรรมนิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ นับว่าเป็นแหล่งหนังสือธรรมะ ที่ใช้เป็นแหล่งศึกษาธรรมะได้อีกทางหนึ่ง

ธรรมะอิเล็กทรอนิกส์

เว็บไซต์ วัดญาณเวศกวัน

งานวิจัยต่อเนื่อง 75 ปีเพื่อหาว่าคนเราจะมีความสุข มีชีวิตที่ดีเนื่องจากอะไร
ม.ค. 11th, 2016 by supaporn

คุณ Robert Waldinger พูดบนเวที TED X BeaconStreet เมื่อปีที่แล้ว เขาสรุป “ชีวิตที่ดีเกิดจากอะไร บทเรียนจากงานวิจัยเกี่ยวกับความสุขที่ยาวที่สุดในโลก” มี 3 ข้อด้วยค่ะ

1. Connection is really good for us, loneliness kills คุณจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคู่ครอง เพื่อน ครอบครัว หรือ สังคมก็ตาม

2. Quality Not Quantity มันไม่สำคัญที่ปริมาณ หรือ รูปแบบของความสัมพันธ์ เช่นต้องแต่งงานเท่านั้น แต่เป็น “คุณภาพของความสัมพันธ์” ต่างหากที่จะเป็นตัวบ่งชี้

3. Good relationships don’t just protect our bodies they protect our brains หากคุณมีความสัมพันธ์อบอุ่น และมั่นคงกับใครซักคนที่คุณสามารถไว้ใจและพึ่งพาได้ ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณมีสุขภาพกายที่ดีเท่านั้น แต่ยังดีต่อสมองของคุณด้วย

ติดตามดู ฟัง และคิดตามได้ที่ http://www.ted.com/talks/robert_waldinger_what_makes_a_good_life_lessons_from_the_longest_study_on_happiness

อ้างอิงสรุปภาษาไทยจาก คุณมนตรี ส.

ชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ม.ค. 11th, 2016 by supaporn

ถ้าเอ่ยชื่อ บางพลี บางบ่อ หนองงูเห่า คนส่วนใหญ่ก็จะคุ้นหูและรู้ว่า แต่ละชื่อ มีความเด่นหรือดังในด้านใด เช่น ปลาสลิดอร่อยๆ ก็ต้องเป็นปลาสลิดบางบ่อ หนองงูเห่า ก็เป็นชื่อเรียกแต่เดิมก่อนจะมาเป็นสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้ง 3 ชื่อนี้ล้วนอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งสิ้น

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ ใน การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

อำเภอบางพลี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ชุมชนบางพลีในอดีต ใช้คลองสำโรงซึ่งขุดขึ้นในรัชสมัยของอารยธรรมขอมโบราณ ระหว่าง พ.ศ. 978 ถึง 1700 เป็นเส้นทางหลักในการสัญจรและการค้าขายที่สำคัญ และยังมีคลองซอยต่างๆ อีกประมาณ 100 คลอง ด้วยความเจริญทางวัตถุที่แผ่ขยายเข้ามา ทำให้คลองที่เคยทำหน้าที่ระบายน้ำถูกปรับเปลี่ยนสภาพเป็นถนน หรือเป็นเพียงคูน้ำเล็กๆ ที่เหลือเพียงชื่อที่สะท้อนเรื่องราวความสำคัญของตัวตนคนบางพลี พิธีกรรม ประเพณี วัฒนธรรม ของชุมชนบางพลี

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (A Study of Folklore : A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bangplee District, Samutprakarn Province) โดย พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และ กชพร ขวัญทอง คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ศึกษา รวบรวม และเรียบเรียง ชื่อของหมู่บ้านและลำคลองของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะสัมพันธ์กับแง่มุมของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วรรณกรรม ภูมิศาสตร์ และชาติพันธุ์ ตามความเชื่อ ความรู้ ประสบการณ์ ตามคำบอกเล่าของคนในท้องถิ่นซึ่งสามารถบอกเล่าเรื่องราวในอดีตและถ่ายทอดได้อย่างตรงไปตรงมา ประสานกับข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ ที่บันทึกโดยหน่วยงานราชการ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa