นักวิจัยหลายๆ ท่านอาจจะเคยได้รับจดหมายเชิญขวนให้ส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ เราจะมีหลักการพิจารณาได้อย่างไร ว่าวารสารเหล่านั้นไม่ใช่วารสารประเภท predatory journal
1. ตรวจสอบวารสารที่จะตีพิมพ์ผลงานวิจัย อยู่ใน Master Journal List ของบริษัท Thomson Reuters หรือไม่ ได้ที่ http://ip-science.thomsonreuters.com/mjl/ โดยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฉพาะวารสารที่มีอยู่ใน Science Citations Index และ Science Citations Index Expanded เท่านั้นที่จะมีค่า impact factor และวารสารในสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ จะต้องอยู่ใน Social Science Citation Index และ Arts and Humanities Citation Index เท่านั้น โดยสามารถดาวน์โหลดรายชื่อวารสารทั้งหมดในฐาน Science Citations Index, Science Citations Index Expanded และ Arts and Humanities Citation Index ได้จากเมนูขวามือ
การตรวจสอบรายชื่อวารสาร
2. ตรวจสอบค่าดัชนีอ้างอิงวารสาร impact factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports หรือ InCites Journal Citation Reports
รายการอ้างอิง
วสุ ปฐมอารีย์. (2559). การคัดเลือกวารสารสำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย. Re-Form. vol.4 (ก.ค.-ส.ค.)
RefME แอปพลิเคชันที่จะทำให้การเขียนอ้างอิง เป็นเรื่อง ง่ า ย
RefME เป็น citation tool แบบ web based ที่ไว้ช่วยเก็บข้อมูลแหล่งอ้างอิง และจัดรูปแบบได้หลากหลายมาตรฐาน เช่น APA, Vancouver etc.
โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากในการติดตั้งโปรแกรม เพียงแค่ต่ออินเตอร์เน็ต เปิด Browser เข้าที่
https://www.refme.com หรือ https://app.refme.com แล้วดำเนินการ
การใช้งานในเบื้องต้น สาธิตวิธีการตามรูปภาพ ดังนี้
Read the rest of this entry »
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การลักลอกทางวิชาการในบริบทของการวิจัย (Plagirism in Academic Research) ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผอ. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเปิดงาน
โดย อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร
อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ขณะบรรยาย
สรุปประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้ Read the rest of this entry »
Jeffrey Beall ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มศึกษาวิจัยเรื่อง Predatory publishers ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เพื่อเปิดเผยรายชื่อ สำนักพิมพ์ที่น่าสงสัย ที่มีแนวโน้มว่าไม่ได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และอาจจะเป็นการหลอกลวงเพื่อหารายได้ แต่ละปีจะมีจำนวนสำนักพิมพ์และวารสารที่อยู่ในข่ายนี้ เพิ่มมากขึ้น เพราะการเผยแพร่ผลงานวิจัยเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการทำวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัยจึงมักจะอยู่ในวารสารวิชาการ บทคัดย่อ หรือ proceedings ของการประชุมวิชาการ ด้วยปัจจัยนี้เอง ทำให้สำนักพิมพ์หลายๆ แห่ง เห็นช่องทางทำธุรกิจใหม่ภายใต้ Open Access Model ซึ่งมีทั้งถูกต้องเหมาะสมและ เพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ นักวิจัยรุ่นใหม่ไม่ควรเสี่ยงตีพิมพ์
Beall’s list predatory publishers (http://scholarlyoa.com/publishers/) จึงเป็นการรวมรายชื่อสำนักพิมพ์ รวมทั้งมีบัญชีรายชื่อวารสาร http://scholarlyoa.com/individual-journals/ไว้ด้วย และเป็นหลักการที่ว่า รายชื่อวารสารใดที่อยู่ในบัญชีนี้ไม่ควรนำผลงานไปตีพิมพ์ Read the rest of this entry »
ขอแนะนำเว็บไซต์ http://www.aresearchguide.com/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่นักวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางการเขียนงานวิจัยได้ เพราะในเว็บนี้ ประกอบด้วย Writing guides ซึ่งมีหัวข้อต่างๆ มากมาย อาทิเช่น
นอกจากนี้ยังมี Literature Guides ให้อีกด้วย รวมทั้งยังมีแหล่งสารสนเทศอื่นๆ อีกเพียบ และข้อมูลการจัดหมวดหมู่แบบ Dewey Decimal Classification