SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
บทบาทของวิธี​การ​สอน​ภาษา​อังกฤษ​สำหรับ​ผูใหญใน​ยุค​หลัง​
เม.ย. 23rd, 2016 by rungtiwa

บทบาทของวิธี​การ​สอน​ภาษา​อังกฤษ​สำหรับ​ผูใหญใน​ยุค​หลัง​

The Role of Teaching Methods in Postmethod Pedagogy

 

ณัทสกลพัชร เชาว​วรศิษฐ . (2553). บทบาทของวิธี​การ​สอน​ภาษา​อังกฤษ​สำหรับ​ผูใหญใน​ยุค​หลัง​. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 5 (10), 93-99.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

มุมมองทางปรัชญากับปัญหาการทำ แท้งในสังคมไทย
เม.ย. 23rd, 2016 by rungtiwa

มุมมองทางปรัชญากับปัญหาการทำแท้งในสังคมไทย

Philosophical Viewpoints on Abortion Problems in Thai Society

 

อรรถสิทธิ์ สุนาโท. (2553). มุมมองทางปรัชญากับปัญหาการทำแท้งในสังคมไทย. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 5 (10), 79-92.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

แนวคิดด้านการเมืองที่ปรากฏในวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๑
เม.ย. 23rd, 2016 by rungtiwa

แนวคิดด้านการเมืองที่ปรากฏในวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๑

Political Concepts in the Literature Awarded “Pan Waen Fah” Prize in 2008

Hongbo Qin (โกมล). (2553). แนวคิดด้านการเมืองที่ปรากฏในวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๑. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 5 (10), 29-41.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

ตัวละครหญิงชาวจีนในนวนิยายไทย
เม.ย. 23rd, 2016 by rungtiwa

ตัวละครหญิงชาวจีนในนวนิยายไทย

Chinese Female Characters in Thai Novels

Yang Weiying (กานดา). (2553). ตัวละครหญิงชาวจีนในนวนิยายไทย. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 5 (10), 14-28.

อ่านบทความฉบับเต็ม

กลบท : ภูมิปัญญาไทยในโลกแห่งกวีนิพนธ์
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

กลบท : ภูมิปัญญาไทยในโลกแห่งกวีนิพนธ์

บทคัดย่อ

กลบทและกลอักษรเป็นรูปแบบหนึ่งของงานกวีนิพนธ์ที่มีหลักฐานทางวรรณคดีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รูปแบบของกลบทแสดงถึงปรีชาชาญอันล้ำเลิศของบรรพชนไทยในการสร้างสรรค์ตัวอักษรเป็นแม่บทอันมีลีลา ความไพเราะและความหมายที่หลากหลายและงดงามเป็นรากฐานอันวิเศษแสดงถึงความอลังการในงานกวีนิพนธ์ที่มีอิทธิพลต่อการรังสรรค์งานของกวีไทยในยุคปัจจุบัน

ศราวุธ สุทธิรัตน์. (2546). กลบท : ภูมิปัญญาไทยในโลกแห่งกวีนิพนธ์.วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 90-99.

การเตรียมความพร้อมด้านภาษาจีนในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ก.พ. 11th, 2016 by supaporn

การเตรียมความพร้อมด้านภาษาจีนในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

The Preparation of Chinese Language to be Ready for ASEAN Community

กัลปพฤกษ์โชคสิริ โชคดีมีสุข. (2558). การเตรียมความพร้อมด้านภาษาจีนในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 153-161.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การลักลอกทางวิชาการในบริบทของการวิจัย
ก.พ. 9th, 2016 by supaporn

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การลักลอกทางวิชาการในบริบทของการวิจัย (Plagirism in Academic Research) ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผอ. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเปิดงาน

ผอ. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเปิดงาน

โดย อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร

อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ขณะบรรยาย

อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ขณะบรรยาย

สรุปประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้ Read the rest of this entry »

เสียชีวิตและบาดเจ็บจากรถตู้สาธารณะสูงขึ้น แต่คนก็ชอบใช้เพิ่มมากขึ้น
ม.ค. 19th, 2016 by supaporn

จากการวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย โดยนางสาวณัชชา โอเจริญ และคณะ พบว่าแม้ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา สถิติการเสียชีวิตและบาดเจ็บจากรถตู้สาธารณะสูงขึ้นมากกว่ารถโดยสารสาธารณะประเภทอื่น แต่ผลสำรวจกลับพบว่า จำนวนผู้โดยสารรถตู้โดยสารสาธารณะกลับเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ใช้ต้องการการเดินทางที่ สะดวกสบาย รวดเร็ว และประหยัด จนละเลยความปลอดภัย ดังนั้น สาเหตุของอุบัติเหตุส่วนหนึ่งจึงมาจากพฤติกรรมของผู้โดยสารและผู้ขับ และจากผลสำรวจ ผู้โดยสารมากกว่าครึ่งไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย แม้ว่ารัฐออกกฎหมายในการติดตั้งและบังคับคาดเข็มขัดนิรภัย ที่กำหนดให้ผู้โดยสารต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่อยู่ระหว่างการโดยสาร

คณะผู้วิจัยจึงเสนอการมาตรการยกระดับความปลอดภัยรถตู้สาธารณะเพิ่มเติม โดยกำหนดให้เรื่องความปลอดภัยของรถสาธารณะเป็นวาระสำคัญ ที่เน้นเรื่องนโยบาย พร้อมกับวางกลไกติดตาม กำกับ ประเมินผล และตรวจสอบที่ใกล้เคียงกับมาตรฐานสากล พร้อมทั้งต้องให้จัดให้มีการอบรมพนักงาน กำหนดบทลงโทษพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ชัดเจน รวมถึงให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดำเนินงานที่คุ้มครองผู้โดยสารและผู้ประกอบการ เช่น มาตรการลดภาษี หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สร้างแรงจูงใจทางการเงินเพื่อให้เกิดการลงทุนด้านความปลอดภัย

รายการอ้างอิง

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2559). ทีดีอาร์ไอ เสนอวาระเริ่มปีใหม่ ‘ยกระดับคนขับ-คนใช้รถตู้สาธารณะ’ สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 จาก http://tdri.or.th/tdri-insight/tdri-roadsafty/

วช. ประกาศผล 10 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2558 พร้อมรางวัลผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์
ม.ค. 19th, 2016 by supaporn

ในปี 2558 คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ได้มีมติให้ประกาศเกียรติคุณนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติจำนวน 10 ท่าน คือ

  • รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา จารุศิริ คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร.กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ปิติสุทธิธรรม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศาสตราจารย์เภสัชกรหญิง ดร. พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์ ดร. วัชรินทร์ รุกขไชยศิริกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. อลงกร อมรศิลป์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์ ดร. นวดล เหล่าศิริพจน์ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรศักดิ์ มหัทธโนบล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดร. วิโรจน์ ณ ระนอง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

รางวัลผลงานวิจัย มีจำนวน 24 ผลงาน และรางวัลวิทยานิพนธ์ 46 เรื่อง และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2559 จำนวน 47 ผลงาน ผลงานดีเด่น คือ เรื่อง แอนติบอดี้มนุษย์สำหรับรักษาไข้เลือดออก ของรองศาสตราจารย์ ดร.น.สพ.พงศ์รามรามสูต และคณะ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ผลิตแอนติบอดี้จากมนุษย์สำหรับรักษาไข้เลือดออกที่สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเด็งกี่ได้ครบทั้ง 4 สายพันธุ์ ผ่านการทดสอบในลิงแล้วพบว่าสามารถทำลายเชื้อไวรัสไข้เลือดออกได้หมดภายใน2 วัน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเสนอการทดสอบกับองค์การอาหารและยา (อย.) ก่อนที่จะดำเนินการทดสอบในคน ซึ่งน่าจะเริ่มได้ในปีหน้าและคาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้จริงใน 4-5 ปีข้างหน้า อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.dailynews.co.th/it/373981

 

รายการอ้างอิง

เดลินิวส์. (2559). วช. ประกาศผลรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 จาก http://www.dailynews.co.th/it/373981

Beall’s List of Predatory Publishers
ม.ค. 14th, 2016 by supaporn

Jeffrey Beall ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มศึกษาวิจัยเรื่อง Predatory publishers ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เพื่อเปิดเผยรายชื่อ สำนักพิมพ์ที่น่าสงสัย ที่มีแนวโน้มว่าไม่ได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และอาจจะเป็นการหลอกลวงเพื่อหารายได้ แต่ละปีจะมีจำนวนสำนักพิมพ์และวารสารที่อยู่ในข่ายนี้ เพิ่มมากขึ้น เพราะการเผยแพร่ผลงานวิจัยเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการทำวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัยจึงมักจะอยู่ในวารสารวิชาการ บทคัดย่อ หรือ proceedings ของการประชุมวิชาการ  ด้วยปัจจัยนี้เอง ทำให้สำนักพิมพ์หลายๆ แห่ง เห็นช่องทางทำธุรกิจใหม่ภายใต้ Open Access Model ซึ่งมีทั้งถูกต้องเหมาะสมและ เพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ นักวิจัยรุ่นใหม่ไม่ควรเสี่ยงตีพิมพ์

Beall’s list predatory publishers (http://scholarlyoa.com/publishers/) จึงเป็นการรวมรายชื่อสำนักพิมพ์ รวมทั้งมีบัญชีรายชื่อวารสาร http://scholarlyoa.com/individual-journals/ไว้ด้วย และเป็นหลักการที่ว่า รายชื่อวารสารใดที่อยู่ในบัญชีนี้ไม่ควรนำผลงานไปตีพิมพ์ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa