SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรไทย 10 ชนิด ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ATCC 25923, Bacillus cereus และ Escherichia coli ATCC 25922
ก.ย. 12th, 2016 by rungtiwa

ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรไทย 10 ชนิด ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ATCC 25923, Bacillus cereus และ Escherichia coli ATCC 25922

Antibacterial Activities of Ten Thai Herbal Extracts against Staphylococcus aureus ATCC 25923, Bacillus cereus and Escherichia coli ATCC 25922

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรไทย 10 ชนิด โดยใช้ 95% เอทานอลเป็นตัวสกัด (ขมิ้นชัน ชุมเห็ดเทศ จันทน์แดง จันทน์แปดกลีบ ฝาง พริกไทยดำ ฟ้าทะลายโจร ยี่หร่า สมอไทย และอบเชย) ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ATCC 25923, Bacillus cereus และ Escherichia coli ATCC 25922 โดยวิธี agar well diffusion พบว่า สารสกัดสมุนไพรไทยทุกชนิดยับยั้ง S. aureus ATCC 25923 ได้ สารสกัดสมุนไพรไทย 7 ชนิด ยับยั้ง B. cereus ได้ สารสกัดสมุนไพรไทย 5 ชนิดยับยั้งเชื้อได้ทุกชนิด โดยสารสกัดจากฝางแสดงฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดได้ดีที่สุด เมื่อทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญเติบโต (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อได้ (MBC) โดยวิธี broth dilution พบว่าฝางมีค่า MIC เท่ากับ MBC ต่อเชื้อ S. aureus ATCC 25923, B. cereus และ E. coli ATCC 25922 คือ 8, 2 และ 1 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพและประเมินทางเภสัชวิทยาของฝางต่อไป Read the rest of this entry »

ผลการออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนต่อความโค้ง และช่วงการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว ในนักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย
ก.ย. 12th, 2016 by rungtiwa

ผลการออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนต่อความโค้ง และช่วงการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว ในนักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย

Effects of Ruesi-Dudton Exercise on Thoracolumbar Curvature and Range of Motion in Female University Students

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลระยะสั้นและระยะยาวของการออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนต่อการเคลื่อนไหวของลำตัวและมุมโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอวในนักศึกษามหาวิทยาลัย เพศหญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ อายุ 18 – 25 ปี จำนวน 40 ราย อาสาสมัครได้รับการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย โดยการสุ่ม อาสาสมัครกลุ่มออกกำลังกายได้รับการฝึกออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนเป็นเวลา 30 นาที/วัน จำนวน 3 วัน/สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนระหว่างการเข้าร่วมการวิจัย อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มได้รับการวัดมุมโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอวและการเคลื่อนไหวของลำตัว 3 ครั้ง คือ ก่อนการวิจัย และหลังการเข้าร่วมการวิจัยในสัปดาห์ที่ 1 และ 6 ผลการศึกษา พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 อาสาสมัครกลุ่มทดลองสามารถแอ่นลำตัวได้มากกว่า และในสัปดาห์ที่ 6 อาสาสมัครมีมุมความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกน้อยกว่า และสามารถแอ่น ก้ม และเอียงลำตัวได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนต่อมุมโค้งของกระดูกสันหลังและการเคลื่อนไหวของลำตัวในนักศึกษามหาวิทยาลัยเพศหญิงซึ่งเป็นกลุ่มที่มักมีการเคลื่อนไหวน้อยและกิจกรรมส่วนใหญ่ในท่านั่งงอตัวเป็นเวลานาน Read the rest of this entry »

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งาน ข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน เทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
ก.ย. 12th, 2016 by rungtiwa

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน เทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

Relationship among pain, stiffness, function of knee joint and balance in community-dwelling elderly people with knee osteoarthritis at Bangsaothong Municipal District, Bangsaothong District Samutprakarn Province

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อ การทรงตัวและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมใน จำนวน 128 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความสามารถในการทรงตัว (Berg balance test) และแบบประเมิน Thai modified WOMAC (Western Ontario and McMaster University) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation) Read the rest of this entry »

การศึกษาเปรียบเทียบงานประพันธ์ร้อยแก้วของเมิ่งลี่และโหยวจิน
พ.ค. 24th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาเปรียบเทียบงานประพันธ์ร้อยแก้วของเมิ่งลี่และโหยวจิน

ภัทรสุดา ภาระพันธ์. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบงานประพันธ์ร้อยแก้วของเมิ่งลี่และโหยวจิน. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 10(20), 1-10.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะเด่นหัวข้อและประเด็นหัวเรื่อง ร้อยแก้วของโหยวจิน นักเขียนชาวสิงคโปร์
พ.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะเด่นหัวข้อและประเด็นหัวเรื่อง ร้อยแก้วของโหยวจิน นักเขียนชาวสิงคโปร์

论尤今散文的题材和主题特点

 

พรทิพย์ ล้ำวีระประเสริฐ. (2558). ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะเด่นหัวข้อและประเด็นหัวเรื่อง ร้อยแก้วของโหยวจิน นักเขียนชาวสิงคโปร์. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์  10 (19), 36-45.

อ่านบทความฉบับเต็ม

วิเคราะห์ภาพลักษณ์สตรีจากนิยายเรื่อง “กบ” ของม่อ เหยียน
พ.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

วิเคราะห์ภาพลักษณ์สตรีจากนิยายเรื่อง “กบ” ของม่อ เหยียน

论莫言小说《蛙》中的女性形象

อันนา อนันต์เจริญวัฒน์. (2558). วิเคราะห์ภาพลักษณ์สตรีจากนิยายเรื่อง “กบ” ของม่อ เหยียน. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์  10 (19), 25-35.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำ เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
พ.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำ เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

A Study of Folklore: A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bangplee District, Samutprakarn

 

พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และกชพร ขวัญทอง. (2558). การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำ เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์  10 (19), 14-24.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การศึกษาภาพลักษณ์ของพ่อในนวนิยายเรื่อง “จดหมายจากเมืองไทย”
พ.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาภาพลักษณ์ของพ่อในนวนิยายเรื่อง “จดหมายจากเมืองไทย”

《南风吹梦》中的父亲形象研究

 

Nong Yi. (2557). การศึกษาภาพลักษณ์ของพ่อในนวนิยายเรื่อง “จดหมายจากเมืองไทย” . วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์  9 (18), 27-38.

อ่านบทความฉบับเต็ม

วิเคราะห์บทประพันธ์ร้อยแก้วของหลิน ไท่เซิน
พ.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

วิเคราะห์บทประพันธ์ร้อยแก้วของหลิน ไท่เซิน

林太深散文创作研究

 

ลดาวัลย์ แพรสุวัฒน์ศิลป์. (2557). วิเคราะห์บทประพันธ์ร้อยแก้วของหลิน ไท่เซิน. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 9 (18), 16-26.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การจัดการแหล่งทางประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวทางมรดกวัฒนธรรม กรณีศึกษา : ชุมชนตลาดร้อยปีคลองสวน จ.สมุทรปราการ – ฉะเชิงเทรา
พ.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

การจัดการแหล่งทางประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวทางมรดกวัฒนธรรม กรณีศึกษา : ชุมชนตลาดร้อยปีคลองสวน จ.สมุทรปราการ – ฉะเชิงเทรา

Management of Historic Site for Cultural Heritage Tourism: Case Study of Klong Suan 100 Years Market Community, Chachoengsao – Samutprakan Provinces

 

พันธุ์รวี ณ ลำพูน. (2557). การจัดการแหล่งทางประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวทางมรดกวัฒนธรรม กรณีศึกษา : ชุมชนตลาดร้อยปีคลองสวน จ.สมุทรปราการ – ฉะเชิงเทรา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์  9 (18), 1-15.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa