มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีน จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่มีเอกลักษณ์ด้านจีนแห่งนี้ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้นำด้านภาษาจีน ธุรกิจจีน การแพทย์แผนจีน ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ด้านจีนศึกษาทุกมิติ Read the rest of this entry »
泰国通史 (The History of Thailand)
ศูนย์บรรณสารสนเทศฯ ขอแนะนำหนังสือจีน เรื่อง 泰国通史 โดย 段立生 หรือมีชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษว่า The History of Thailand เป็นหนังสือในชุด World History and Culture series กล่าวถึงอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทย ก่อนที่จะมีการตั้งอาณาจักรไทย คือ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์ ติดต่อหาอ่านได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 ห้องสมุดภาษาจีนค่ะ เลขหมู่ DS571 D667T 2014
การค้นหาวิทยานิพนธ์สามารถสืบค้นได้จากหลายแหล่งสารสนเทศ บางแหล่งฟรี บางแหล่งต้องเป็นสมาชิก
เริ่มต้นง่ายๆ สืบค้นจากฐานข้อมูลในห้องสมุด (Library catalogue) ของมหาวิทยาลัยก่อนขยับมาควรค้นจาก IR (Institutional repositories) ของมหาวิทยาลัย ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ดำเนินการกันอยู่ แหล่งนี้เป็นวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น
Read the rest of this entry »
จากการเข้าร่วมฟังบรรยายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง พลังของการคิดเชิงนวัตกรรม (Power of Innovation Thinking) โดย อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุม 1 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬางกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดย ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น เป็นการเน้นการฝึกทักษะของการคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวของ The Innovator’s DNA : Mastering the Five Skills of Disruptive Innovators โดย Hal B. Gregersen ซึ่งประกอบด้วย
ทักษะในการตั้งคำถามและการสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือการสร้างนวัตกรรม คนที่เป็นนวัตกร จะถามเก่ง ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จะต้องรู้จักการตั้งคำถาม โดยมีเทคนิคในการตั้งคำถาม คือ
ซื่อคู่ฉวนซู
หนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู” เป็นหนังสือสำคัญยิ่งของจีนชุดหนึ่ง ซึ่งขณะนี้มีอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นหนังสือที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกล่าวถึงหนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู” ไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง “ไอรัก คืออะไร” [1] หน้า 14 ในหัวข้อ “ดูพิพิธภัณฑ์ของห้องสมุด” ดังนี้
หนังสือ ซื่อคู่ฉวนซู เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้สี่ประเภทของจีน ได้แก่
และหน้า 18 ในหัวข้อ “ดูหนังสือโบราณ”
หนังสือนี้รวมทั้งหมดเป็นพันๆ เล่ม จักรพรรดิ์เฉียนหลงมีพระราชโองการให้รวบรวมเขียนด้วยลายมือทั้งหมด (ทั้งๆ ที่ในเวลานั้นมีการพิมพ์แล้ว) สร้างไว้ 7 ชุด ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 ชุด เก็บรักษาไว้ที่ปักกิ่ง ไต้หวัน และหลานโจว ตอนกบฏไท้เผ็ง ถูกทำลายไป 3 ชุด เมื่อตอนที่กองทัพผสม 8 ชาติเข้าเผาวังหยวนหมิงหยวน ถูกทำลายไปอีกชุดหนึ่ง เขาบอกว่าธรรมดาไม่ให้คนอื่นดูคัมภีร์นี้ตัวจริง ผู้ที่ต้องการศึกษาต้องอ่านจากไมโครฟิล์ม คนที่จับหนังสือต้องใส่ถุงมือ Read the rest of this entry »