SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เสียชีวิตและบาดเจ็บจากรถตู้สาธารณะสูงขึ้น แต่คนก็ชอบใช้เพิ่มมากขึ้น
ม.ค. 19th, 2016 by supaporn

จากการวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย โดยนางสาวณัชชา โอเจริญ และคณะ พบว่าแม้ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา สถิติการเสียชีวิตและบาดเจ็บจากรถตู้สาธารณะสูงขึ้นมากกว่ารถโดยสารสาธารณะประเภทอื่น แต่ผลสำรวจกลับพบว่า จำนวนผู้โดยสารรถตู้โดยสารสาธารณะกลับเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ใช้ต้องการการเดินทางที่ สะดวกสบาย รวดเร็ว และประหยัด จนละเลยความปลอดภัย ดังนั้น สาเหตุของอุบัติเหตุส่วนหนึ่งจึงมาจากพฤติกรรมของผู้โดยสารและผู้ขับ และจากผลสำรวจ ผู้โดยสารมากกว่าครึ่งไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย แม้ว่ารัฐออกกฎหมายในการติดตั้งและบังคับคาดเข็มขัดนิรภัย ที่กำหนดให้ผู้โดยสารต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่อยู่ระหว่างการโดยสาร

คณะผู้วิจัยจึงเสนอการมาตรการยกระดับความปลอดภัยรถตู้สาธารณะเพิ่มเติม โดยกำหนดให้เรื่องความปลอดภัยของรถสาธารณะเป็นวาระสำคัญ ที่เน้นเรื่องนโยบาย พร้อมกับวางกลไกติดตาม กำกับ ประเมินผล และตรวจสอบที่ใกล้เคียงกับมาตรฐานสากล พร้อมทั้งต้องให้จัดให้มีการอบรมพนักงาน กำหนดบทลงโทษพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ชัดเจน รวมถึงให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดำเนินงานที่คุ้มครองผู้โดยสารและผู้ประกอบการ เช่น มาตรการลดภาษี หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สร้างแรงจูงใจทางการเงินเพื่อให้เกิดการลงทุนด้านความปลอดภัย

รายการอ้างอิง

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2559). ทีดีอาร์ไอ เสนอวาระเริ่มปีใหม่ ‘ยกระดับคนขับ-คนใช้รถตู้สาธารณะ’ สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 จาก http://tdri.or.th/tdri-insight/tdri-roadsafty/

วช. ประกาศผล 10 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2558 พร้อมรางวัลผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์
ม.ค. 19th, 2016 by supaporn

ในปี 2558 คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ได้มีมติให้ประกาศเกียรติคุณนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติจำนวน 10 ท่าน คือ

  • รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา จารุศิริ คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร.กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ปิติสุทธิธรรม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศาสตราจารย์เภสัชกรหญิง ดร. พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์ ดร. วัชรินทร์ รุกขไชยศิริกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. อลงกร อมรศิลป์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์ ดร. นวดล เหล่าศิริพจน์ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรศักดิ์ มหัทธโนบล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดร. วิโรจน์ ณ ระนอง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

รางวัลผลงานวิจัย มีจำนวน 24 ผลงาน และรางวัลวิทยานิพนธ์ 46 เรื่อง และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2559 จำนวน 47 ผลงาน ผลงานดีเด่น คือ เรื่อง แอนติบอดี้มนุษย์สำหรับรักษาไข้เลือดออก ของรองศาสตราจารย์ ดร.น.สพ.พงศ์รามรามสูต และคณะ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ผลิตแอนติบอดี้จากมนุษย์สำหรับรักษาไข้เลือดออกที่สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเด็งกี่ได้ครบทั้ง 4 สายพันธุ์ ผ่านการทดสอบในลิงแล้วพบว่าสามารถทำลายเชื้อไวรัสไข้เลือดออกได้หมดภายใน2 วัน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเสนอการทดสอบกับองค์การอาหารและยา (อย.) ก่อนที่จะดำเนินการทดสอบในคน ซึ่งน่าจะเริ่มได้ในปีหน้าและคาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้จริงใน 4-5 ปีข้างหน้า อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.dailynews.co.th/it/373981

 

รายการอ้างอิง

เดลินิวส์. (2559). วช. ประกาศผลรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 จาก http://www.dailynews.co.th/it/373981

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ นักศึกษา คณะการแพทย์แผนจีน และสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
ม.ค. 19th, 2016 by supaporn

วันที่ 19 มกราคม 2559 จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ใน 2 ช่วงเวลา คือ เวลา 9.30-11.30 น. แก่นักศึกษาคณะการแพทย์แผนจีน ชั้นปีที่ 4 จำนวน 111 คน และ เวลา 13.30-15.30 น. แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จำนวน 19 คน ในการนี้ทีมวิทยากรได้จัดการอบรมตามความต้องการของอาจารย์ผู้สอนที่ต้องการให้เน้นในด้านใดบ้าง เช่น เน้นการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ การใช้ฐานข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำรายงาน และเน้นการให้บริการในห้องสมุด เป็นต้น ทั้งนี้ ได้มีการซักถามการให้บริการของศูนย์บรรณสารฯ ในหลายๆ ประเด็น และน้องๆ นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด การรู้จักแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ การใช้แหล่งสารสนเทศออนไลน์ การรู้จักการอ้างอิง ซึ่งศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดหาแหล่งสารสนเทศต่างๆ เหล่านี้ไว้ที่หน้าเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารฯ ซึ่งเข้าได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th เพื่อประกอบการทำรายงาน พร้อมกับมีกิจกรรมสนุกๆ ระหว่างทีมวิทยากรและน้องๆ ศึกษาอีกด้วย

กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ คณะการแพทย์แผนจีน

กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ คณะการแพทย์แผนจีน

การแนะนำฐานข้อมูล ScienceDirect
ม.ค. 18th, 2016 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดอบรมวิธีการสืบค้นฐานข้อมูล ScienceDirect ให้กับนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 100 คน ในวันที่ 18 มกราคม 2559 โดยแบ่งเป็น 2 รอบ รอบที่ 1 เวลา10.30 – 12.30 น. และ รอบที่ 2 เวลา 14.00-16.00น. ณ ห้องคอมพิวเตอร์ LAB C ชั้น 1 อาคารบรรณสาร โดยวิทยากร คุณณัฐพล สีสุรักษ์ จากบริษัท Elsevier

ในการอบรมดังกล่าว วิทยากรได้แนะนำการสืบค้นฐานข้อมูล ScienceDirect ทั้งแบบสืบค้นแบบง่าย และแบบขั้นสูง การจำกัดการสืบค้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด อธิบายรูปแบบของบทความที่สืบค้นในแต่ละส่วนหมายถึงอะไร เช่น ตั้งแต่ส่วนต้น ได้แก่ ชื่อผู้เขียน ชื่อบทความ ปีที่ ฉบับที่ของวารสารที่บทความนั้นปรากฏ ส่วนที่เป็น Hilight ซึ่งเสมือนเป็นการสรุปประโยคที่เป็นเนื้อหาหลักของบทความ สาระสังเขป เนื้อหาของบทความ การอ้างอิบทความที่สามารถดูแบบฉบับเต็มในรูปแบบ PDF หรือ HTML หรือบทความที่เป็น Open Access Read the rest of this entry »

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ นักศึกษาสาขาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ
ม.ค. 18th, 2016 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เริ่มกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้แก่นักศึกษา มฉก. โดยในวันที่ 18 มกราคม 2559 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร เป็นนักศึกษาสาขาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ จำนวน 25 คน พร้อมด้วยอาจารย์เจ้าของวิชา  โดยทีมวิทยากรของศูนย์บรรณสารฯ ได้แก่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ หัวหน้าแผนกบริการ และหัวหน้าแผนกทรัพยากรเรียนรู้ Read the rest of this entry »

วิศิษฏศิลปิน
ม.ค. 16th, 2016 by supaporn

วิศิษฏศิลปิน

วิศิษฏศิลปิน

วิศิษฏศิลปิน เป็นชื่อเว็บไซต์ (www.WisithSilapin.org) ที่รวมผลงานศิลปกรรมฝีพระหัตถ์ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ หนังสือพระราชนิพนธ์ บทเพลงพระราชนิพนธ์ โครงการฯ  รวมทั้ง พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ปีประสูติ จนถึง ปัจจุบัน (พ.ศ. 2498-2558) จัดทำโดย มูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะ “องค์วิศิษฏศิลปิน” ผู้ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านศิลปะในหลายสาขา

รายการอ้างอิง
“วิศิษฏศิลปิน” เว็บไซต์รวบรวมพระอัจฉริยภาพด้านศิลปะของ “สมเด็จพระเทพฯ”.  (2558). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2559 จาก http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9590000004793

วันครู … To Sir with Love แด่คุณครูด้วยดวงใจ
ม.ค. 16th, 2016 by supaporn

เมื่อนึกถึงวันครู เลยนึกถึงเว็บไซต์ของคุรุสภา น่าจะเป็นเว็บไซต์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับวันครู มีข้อมูลเพียบเลยทีเดียวค่ะ ตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของวันครู คำขวัญวันครู (ในแต่ละปี) ดอกไม้วันครู (เพิ่งทราบว่า ดอกกล้วยไม้ เป็นดอกไม้วันครู) คำปฏิญาณ เพลงวันครู และสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับวันครู  กิจกรรมในวันครู จนถึงมีการจัดทำบัตรคารวะครูทางออนไลน์ เก๋ไก๋ ไม่เบาเลยทีเดียว

ขอย้อนรำลึกไปถึงภาพยนตร์ดังเรื่อง To Sir with Love (แด่คุณครูด้วยดวงใจ) เป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับครู และนักเรียนเหลือขอ นำแสดงโดย Sir Sidney Poitier ที่ทำหน้าที่ของครู ทำให้นักเรียนพร้อมจะก้าวเดินต่อไป และเพลง To Sir with Love ซึ่งร้องโดย Lulu ก็ดังไม่แพ้กันค่ะ ในวันครู เลยนึกถึงภาพยนตร์และเพลงนี้ขึ้นมาค่ะ … To Sir with Love https://www.youtube.com/watch?v=OG49glGm2Xs

งานแสดงตำราวิชาการ กับ บูธ PB@อาคารบรรณสาร
ม.ค. 16th, 2016 by supaporn

ขอเชิญอาจารย์คัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด เพื่อประกอบการเรียนการสอน จาก ร้าน พี.บี. ฟอร์บุ๊คส์ ศูนย์รวมตำราวิชาการแพทย์และวิชาการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 18 ม.ค. – 21 ม.ค. 2559 เพียง 4 วันเท่านั้นค่ะ เวลา 09.00-16.30 น. ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคารบรรณสาร

งานแสดงตำราวิชาการ กับ บูธ PB@อาคารบรรณสาร

งานแสดงตำราวิชาการ กับ บูธ PB@อาคารบรรณสาร

วัชรปิยชาติ
ม.ค. 15th, 2016 by supaporn

วัชรปิยชาติ

วัชรปิยชาติ

หนังสือ “วัชรปิยชาติ” หรือ “ผู้เป็นที่รักประดุจเพชร” จัดทำขึ้นโดยชาวเพชรบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาญ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา วันที่ 2 เมษายน 2558

เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ มีจำนวน 9 ตอน รวม 61 เรื่อง จากผู้เขียนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเพชรบุรี กล่าวถึงความซาบซึ่งในพระจริยวัตรอันงดงาม พระอัจฉริยภาพอันสูงส่ง พระบารมี พระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานให้แก่จังหวัดเพชรบุรีและชาวเมืองเพชร

ขออัญเชิญบทพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บางส่วนจากาพย์ขับไม้กล่อมช้างสำคัญสามเชือก ณ จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2521

เพชรบุรีรุ่งรัตน์เรื้อง  เรืองรมย์
เกิดเกษตรการควรชม  เชิดไว้
สกุลช่างน่านิยม  เยี่ยมยวด
ประวัติศาสตร์ว่าไว้  เด่นพร้อมแต่บูรพ์

เมืองเพชรบุรีงาม  เลื่องชื่อลือนาม  ไป่เปรียบใดปูน
ป่าดงพงเนา  ทะเลขุนเขา  ซับซ้อนเพิ่มพูน
เรือกสวนเกื้อกูล  เลี้ยงสัตว์มากพูน  เกิดพัฒนา
เขื่อนเพชรมีนาน  เพิ่มน้ำเจืดจาน  ผลิตผลพา
ทั้งการประมง  โป๊ะจับปลาดง  ได้มีราคา
สหกรณ์ลือชา  ชนหลายเหล่ามา  ก็ต่างชื่นชม
มีทั้งเรือนร้าน  สถานที่ราชการ  เลิศล้ำนิยม
ผู้คนหญิงชาย  ไปมาค้าขาย  มากมายอุดม
วัดวาน่าชม  ชาวบุรีรมย์  เก่งทางช่างศิลป์

รายการอ้างอิง
สมพร ประกอบชาติ.  (บก).  (2558). วัชรปิยชาติ. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

Beall’s List of Predatory Publishers
ม.ค. 14th, 2016 by supaporn

Jeffrey Beall ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มศึกษาวิจัยเรื่อง Predatory publishers ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เพื่อเปิดเผยรายชื่อ สำนักพิมพ์ที่น่าสงสัย ที่มีแนวโน้มว่าไม่ได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และอาจจะเป็นการหลอกลวงเพื่อหารายได้ แต่ละปีจะมีจำนวนสำนักพิมพ์และวารสารที่อยู่ในข่ายนี้ เพิ่มมากขึ้น เพราะการเผยแพร่ผลงานวิจัยเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการทำวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัยจึงมักจะอยู่ในวารสารวิชาการ บทคัดย่อ หรือ proceedings ของการประชุมวิชาการ  ด้วยปัจจัยนี้เอง ทำให้สำนักพิมพ์หลายๆ แห่ง เห็นช่องทางทำธุรกิจใหม่ภายใต้ Open Access Model ซึ่งมีทั้งถูกต้องเหมาะสมและ เพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ นักวิจัยรุ่นใหม่ไม่ควรเสี่ยงตีพิมพ์

Beall’s list predatory publishers (http://scholarlyoa.com/publishers/) จึงเป็นการรวมรายชื่อสำนักพิมพ์ รวมทั้งมีบัญชีรายชื่อวารสาร http://scholarlyoa.com/individual-journals/ไว้ด้วย และเป็นหลักการที่ว่า รายชื่อวารสารใดที่อยู่ในบัญชีนี้ไม่ควรนำผลงานไปตีพิมพ์ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa