SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก.พ. 27th, 2019 by ปัญญา วงศ์จันทร์

 

จากการฟังเสวนาในหัวข้อ “การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” โดย นางสาวกรวรรณ ดีวาจา ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สามารถสรุปได้ดังนี้

นางสาวกรวรรณ ดีวาจา บรรณารักษ์ห้องสมุดนงเยาว์ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึง การนำแอปพลิเคชั่นไลน์แอดมามีบทบาทในการทำงานในด้านการประชาสัมพันธ์โดยการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตพบว่า ไลน์แอดเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่คนไทยใช้มากที่สุดจึงได้นำไลน์แอด (Line@) มาใช้ในงานหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยมี

  • คุณสมบัติที่ดีของไลน์แอดมาคือ
  1. One-on-One Chat
  2. Broadcast
  3. Reply mode
  4. Scheduled
  5. Rich Message
  6. Coupon & Promotion
  7. Poll & survey
  8. Popularity
  •  ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
  1. ติดตั้งแอปพลิเคชั่น
  2. กำหนดผู้ตอบคำถาม
  3. กำหนดแนวทางการให้บริการ
  4. ประชาสัมพันธ์
  •  บริการที่ใช้สำหรับงานบริการไลน์แอด
  1. บริการช่วยหาหนังสือที่หาไม่พบ
  2. บริการตอบคำถาม เช่น ถาม วันนี้ห้องสมุดปิดกี่โมง ตอบ เปิดให้บริการ 9 โมงเช้าถึง 21.00 น.
  3. ช่องทางประชาสัมพันธ์ เช่น ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและงานบริการของห้องสมุด ได้แก่ การแนะนำหนังสือใหม่ การแจ้งเวลาเปิด-ปิดบริการ การแจ้งตารางกิจกรรมการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
  4. บริการรับ-ส่งหนังสือ ตามคณะที่แจ้งความประสงค์
  5. การนำไลน์แอดมาใช้กับกิจกรรมเชิงรุกของห้องสมุด
  • การนำไลน์แอดมาวิเคราะห์เกี่ยวกับงานห้องสมุด
  1. วิเคราะห์คำถามของไลน์แอดของผู้ใช้บริการมาปรับปรุงกับงานบริการห้องสมุด
  2. ช่วงเวลาที่ผู้ใช้บริการสอบถาม คือ เวลา 12.00 น. และ 16.00 น. ซึ่งคาดว่าผู้ใช้บริการว่างเว้นจากการเข้าชั้นเรียนจึงมีเวลาสอบถามข้อมูลและบริการกับงานห้องสมุด
  3. เวลาในการตอบกลับ ภายใน 5 นาที ซึ่งสอดคล้องกับตัวชี้วัดการบริการที่ห้องสมุดกำหนดไว้ว่าจะต้องตอบกลับภายใน 30 นาที
  • การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการไลน์แอด
  1. ความพอใจรวม อยู่ที่ 4.49
  2. ความรวดเร็ว 4.46
  3. ความรู้ความสามารถในการตอบข้อซักถาม 4.42

Read the rest of this entry »

I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea
ก.พ. 23rd, 2019 by supaporn

I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea

สำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการสัมมนา เรื่อง I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 มีผู้เข้าร่วมฟังการบรรยาย ประมาณ 120 คน ประกอบด้วยการบรรยาย 5 หัวข้อ ได้แก่

I-school and Information Science Education in South Korea โดย Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library)

Utilizing Library Data โดย Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library)

บทบาทของบรรณารักษ์กับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ประสบการณ์จากการวิจัย (Systematic review) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤตย์ นิ่มสมบุญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลเชิงพฤติกรรม (UX Design using Library Analytics) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกรินทร์ ยลระบิล ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย นางสาวกรวรรณ ดีวาจา บรรณารักษ์ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa