SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ซีรีย์จดหมายเหตุ : “เอกสารจดหมายเหตุศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย”
ก.ค. 8th, 2021 by matupode

พิธีเปิดหอจดหมายเหตุ

 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ได้ประกอบพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉิลมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 3  หลังจากที่ท่านได้เริ่มโครงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งเป็นปีแรกของการดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ให้ความสำคัญกับงานจดหมายเหตุเป็นอย่างมากทั้งในตอนดำรงตำแหน่งและสิ้นสุดวาระตำแหน่งอธิการบดี  ท่านได้มอบเอกสารหลักฐานการบริหารงานในช่วงระยะเวลา 4 ปี ประกอบด้วย เอกสารการประชุม นโยบายและแผน รายงาน โครงการอันเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานของทุกส่วนงานในมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งสิ่งพิมพ์ทุกชนิดที่มหาวิทยาลัยจัดทำหรือได้รับเพื่อการพัฒนาทางวิชาการหรือเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ  และอีกส่วนหนึ่งเป็นแฟ้มประวัติและผลงานส่วนตัวสมัยดำรงตำแหน่งรองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย และปลัดทบวงมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2535-2539 ให้กับหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ Read the rest of this entry »

ระบบจัดเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.ค. 31st, 2017 by matupode

“เอกสาร” จัดว่าเป็นหลักฐานการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานหรือองค์กร เอกสารที่อยู่ระหว่างปฏิบัติงานจะมีคุณค่าบริหารงานในช่วงเวลานั้นๆ  แต่เมื่อสิ้นสุดการใช้งานที่เรียกว่า “เอกสารสิ้นกระแสการใช้” จะมีทั้งเอกสารที่ต้องทำลาย  และเอกสารสำคัญที่มีคุณค่าในด้านบริหารงาน คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ คุณค่าด้านการศึกษาวิจัยต้องเก็บรักษาไว้ เราเรียกเอกสารนั้นว่า “เอกสารจดหมายเหตุ”

เมื่อปี พ.ศ.2540 ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เข้ารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ท่านได้เสนอขอจัดตั้งหอจดหมายเหตุต่อสภามหาวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมเอกสารที่สิ้นกระแสการใช้งานของหน่วยงานและเป็นเอกสารที่ได้รับการประเมินแล้วว่ามีคุณค่ามาจัดเก็บในหอจดหมายเหตุ และเล็งเห็นว่า การที่จะทำให้หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ เข้มแข็ง จะต้องมีเอกสารที่มีคุณค่าส่งมาเก็บได้อย่างต่อเนื่อง ท่านจึงได้วางระบบจัดเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ ขึ้น โดยการแต่งตั้งคณะทำงานชุดต่างๆ จัดระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตั้งแต่การจัดระบบหมวดหมู่การจัดเก็บเอกสาร การกำหนดอายุเอกสาร การทำลายเอกสาร และการส่งมอบเอกสารให้กับหอจดหมายเหตุ ผ่านคณะทำงาน 3 ชุด คือ

  1. คณะกรรมการจัดระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ
  2. คณะกรรมการประเมินคุณค่าและกำหนดอายุการเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ
  3. คณะกรรมการทำลายเอกสาร

Read the rest of this entry »

การบริหารทรัพยากรสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ : การจัดการสมดุลระหว่างเอกสารทรงคุณค่ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่
มี.ค. 16th, 2016 by namfon

จากการที่บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมฟังการสัมมนาทางวิชาการ ในโครงการสัมมนาทางวิชาการ : เทิดพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง “การบริหารทรัพยากรสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ : การจัดการสมดุลระหว่างเอกสารทรงคุณค่ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่” ซึ่งจัดโดย สำนักหอสมุดกลาง และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร นั้น สามารถสรุปประเด็นความรู้ได้ดังนี้

เริ่มด้วยการกล่าวรายงาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช (อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ) และพิธีเปิดโดยผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กิจกรรมในภาคเช้า เวลา 09.00-12.00 น. บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร และรองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ

ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร บรรยายหัวข้อ “เอกสารทรงคุณค่า คลังแห่งปัญญาไทย” Read the rest of this entry »

ศึกษาดูงานศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ และภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาตร์ จฬ.
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) มีภารกิจในด้านการบริหารจัดการ และดำเนินการงานหอจดหมายเหตุ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย อธิการบดีในสมัยนั้น เห็นความสำคัญของการมีหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัย จึงได้เริ่มโครงการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 และทำพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 และดำเนินการรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย จัดเก็บรักษา และให้บริการอย่างต่อเนื่อง และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หอจดหมายเหตุ มฉก. จึงมีแผนการในการจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล และเพื่อให้สามารถจัดเก็บและเข้าถึงได้มากขึ้นและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงได้เริ่มศึกษาแนวทางในการปฏิบัติงานและระบบต่างๆ เพื่อจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย และมีการดำเนินการที่เป็นมาตรฐานสากล โดยการศึกษาดูงานการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นยอมรับ และมีความเชี่ยวชาญ เพื่อจะได้รับความรู้ ประสบกรณ์ และบทเรียนในการปฏิบัติงานต่างๆ ได้แก่ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เพื่อขอศึกษาดูงานในเรื่องการใช้มาตรฐานการลงรายการเอกสารจดหมายเหตุ ISAD (G) รวมทั้งประสบการณ์การใช้โปรแกรม ICA-Atom ในการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ และ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอศึกษาดูงานการใช้โปรแกรม Omeka ในการจัดการฐานข้อมูลคลังภาพ อักษรศาสตรบรมราชกุมารี คลังดิจิทัล Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa